15-184 อันธกวินทคาม



พระไตรปิฎก


๓. อันธกวินทสูตร
ว่าด้วยเรื่องอันธกวินทคาม
[๖๑๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อันธกวินทคาม แคว้นมคธ
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ในที่แจ้ง ในราตรีอันมืดมิดและฝนกำลังตก
ประปรายอยู่ ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมี
ให้สว่างทั่วอันธกวินทคาม
[๖๑๒] เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ภิกษุพึงอาศัยที่นอนและที่นั่งอันสงัด
พึงประพฤติเพื่อความหลุดพ้นจากสังโยชน์
ถ้าภิกษุไม่ประสบความยินดีในที่นั้น
พึงมีสติ มีปัญญาเครื่องบริหาร อยู่ในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุเมื่อเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตระกูล
พึงมีปัญญาเครื่องบริหาร คุ้มครองอินทรีย์
พึงอาศัยที่นอนที่นั่งอันสงัด
พ้นจากภัย A น้อมไปในอภัย B
ภิกษุถึงนั่งอยู่ในที่ที่มีสัตว์เลื้อยคลานอันน่ากลัว
สายฟ้าแลบแปลบปลาบ ฉวัดเฉวียน
ฝนตกในราตรีอันมืดมิด
ก็ปราศจากความขนพองสยองเกล้า
ข้าพระองค์กลัวมุสาวาท จึงไม่อาจคำนวณด้วยใจ
ของข้าพระองค์ได้ว่า ‘เรื่องนี้ข้าพระองค์ได้เห็นแล้วแน่’
ข้าพระองค์ไม่กล่าวว่า ‘ในเรื่องนี้เป็นอย่างนี้ ในเรื่องนี้เป็นอย่างนี้’
ในพรหมจรรย์หนึ่ง C มีพระขีณาสพผู้ละความตายได้ ๑,๐๐๐ รูป
พระเสขะมากกว่า ๕๐๐ รูปไป
๑๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง
และผู้ถึงกระแสนิพพานทั้งหมดไม่ไปสู่ดิรัจฉานภูมิ
ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้ล้วนเป็นผู้มีส่วนได้รับผลบุญ
อันธกวินทสูตรที่ ๓ จบ
เชิงอรรถ
A ภัย ในที่นี้หมายถึงภัยในวัฏฏะ (สํ.ส.อ. ๑/๑๘๔/๒๐๙)
B อภัย ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (สํ.ส.อ. ๑/๑๘๔/๒๐๙)
C พรหมจรรย์หนึ่ง ในที่นี้หมายถึงธรรมเทศนาหนึ่ง (สํ.ส.อ. ๑/๑๘๔/๒๑๐)

บาลี



อนฺธกวินฺทสุตฺต
[๖๑๑] เอก สมย ภควา มคเธสุ วิหรติ อนฺธกวินฺเท ฯ เตน
โข ปน สมเยน ภควา รตฺตนฺธการติมิสาย อชฺโฌกาเส นิสินฺโน
โหติ ฯ เทโว จ เอกเมก ผุสายติ ฯ อถ โข พฺรหฺมา สหมฺปติ
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺโณ เกวลกปฺป อนฺธกวินฺท
โอภาเสตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต
อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ
[๖๑๒] เอกมนฺต ิโต โข พฺรหฺมา สหมฺปติ ภควโต สนฺติเกฏ
อิมา คาถาโย อภาสิ
เสเวถ ปนฺตานิ สยนาสนานิ
จเรยฺย สฺโชนวิปฺปโมกฺขา
ส เจ รตึ นาธิคจฺเฉยฺย ตตฺถ
สงฺเฆ วเส รกฺขิตตฺโต สติมา
กุลา กุล ปิณฺฑิกาย จรนฺโต
อินฺทฺริยคุตฺโต นิปโก สติมา
เสเวถ ปนฺตานิ สยนาสนานิ
ภยา ปมุตฺโต อภเย วิมุตฺโต
ยตฺถ เภรวา สิรึสปา ๑
วิชฺชุ สฺจรติ ถเนติ ๒ เทโว
อนฺธการติมิสาย รตฺติยา
นิสีทิ ตตฺถ ภิกฺขุ วิคตโลมหโส
อิทฺจ ๓ ชาตุ เม ทิฏฺ นยิท อิติหีติห
เอกสฺมึ พฺรหฺมจริยสฺมึ สหสฺส มจฺจุหายิน
ภีโย ปฺจสตา เสกฺขา ทสา จ ทสธา ทส
สพฺเพ โสต สมาปนฺนา อติรจฺฉานคามิโน
อถาย อิตรา ปชา ปุฺภาคาติ เม มโน
สงฺขาตุ โนปิ สกฺโกมิ มุสาวาทสฺส โอตฺตปนฺติ ๔ ฯ

******************

๑ ม. สรึสปา ฯ ๒ ถนยติ ฯ ๓ ม. ยุ. อิท หิ ๔ ยุ. โอตฺตเป ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาอันธกวินทสูตร
ในอันธกวินทสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า อนฺธกวินฺทํ ความว่า บ้านมีชื่ออย่างนั้น . บทว่า อุปสงฺกมิ
ความว่า ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า พระศาสดาทรงกระทำความเพียรอยู่แม้ใน
บัดนี้ ชนทั้งหลายประกอบความเพียรกันเนือง ๆ เราจะไปยืนอยู่ในสำนักแล้ว
จักกล่าวคาถาว่าด้วยเรื่องความเพียรที่เหมาะแก่คำสอน ดังนี้จึงเข้าไปเฝ้า.
บทว่า ปนฺตานิ ความว่า เสนาสนะที่อยู่นอกถิ่นมนุษย์เลยชุมชน
ออกไป. บทว่า สญฺโชนวิปฺปโมกฺขา ความว่า เมื่อเสพเสนาสนะเหล่า
นั้น จะพึงเสพเพื่อต้องการจีวรเป็นต้นก็หามิได้ ที่แท้พึงประพฤติเพื่อต้อง
การหลุดพ้นจากสังโยชน์ ๑๐. บทว่า สงฺเฆ วเส ความว่า เมื่อไม่ได้ความ
ยินดีในเสนาสนะเหล่านั้น ก็ไม่อยู่ในป่าซึ่งเกิดขึ้นเหมือนขี้ผงบนหลังลา พึง
อยู่ในท่ามกลางสงฆ์ เพื่อรักษาน้ำใจญาติโยมเป็นต้น. บทว่า รกฺขิตตฺโต
สติมา ความว่า ก็ภิกษุเมื่ออยู่ในที่นั้นไม่เสียดสีไม่กระทบกระทั่งเพื่อนพรหม-
จรรย์ รักษาตนมีสติปัฏฐานเป็นเบื้องหน้าอยู่เหมือนโคผู้ตัวดุในถิ่นของตน.
บัดนี้สหัมบดีพรหมนั้นบอกภิกขาจารวัตรแก่ภิกษุผู้อยู่ในสงฆ์ จึงกล่าว
คำว่า กุลา กุลํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิณฺฑิกาย จรนฺโต
ได้แก่ เที่ยวไปเพื่อต้องการอาหาร. บทว่า เสเวถ ปนฺตานิ สยนาสนานิ
ความว่า แม้หยั่งลงสู่ท่ามกลางสงฆ์อยู่ ปลูกต้นตาลและมะพร้าวเป็นต้นใน
บริเวณใกล้ ไม่พึงเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยอุปัฏฐากเป็นต้น ทำความคู่ควรแห่ง
จิตให้เกิด ให้จิตร่าเริงยินดี จึงอยู่ในเสนาสนะอันสงัดอีกเท่านั้น เพราะฉะนั้น
จึงกล่าวสรรเสริญป่าอย่างเดียว. บทว่า ภยา ได้แก่ จากภัยในวัฏฏะ. บทว่า
อภเย ได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า วิมุตฺโต ได้แก่ พึงเป็นผู้น้อมไปอยู่.
บทว่า ยตฺถ เภรวา ความว่า สัตว์ที่มีวิญญาณครองมีสีหะและเสือ
โคร่งเป็นต้นที่ก่อให้เกิดภัยในที่ใด สิ่งที่ไม่มีวิญญาณมีคอไม้และเถาวัลย์เป็นต้น
มีมากในกลางคืน. บทว่า สิรึสปา ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลานมีงูเป็นต้น. บทว่า
นิสีทิ ตตฺถ ภิกขุ ความว่า ภิกษุนั่งในที่เช่นนั้น. ด้วยคำว่า นิสีทิ ตตฺถ
ภิกฺขุ นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความไว้ดังนี้ว่า บัดนี้พวกเธอนั่งไม่ใส่
ใจถึงอารมณ์ที่น่าสะพึงกลัวที่อยู่ในที่นั้น สัตว์เลื้อยคลานและสายฟ้าแลบเป็น
ต้น โดยประการใด ภิกษุทั้งหลายย่อมนั่งประกอบความเพียรโดยประการนั้น
เหมือนกัน.
บทว่า ชาตุ เม ทิฏฺฐํ แปลว่าที่เราเห็นแล้วโดยส่วนเดียว. คำว่า
อิทํ อิติห ในคำว่า นยิทํ อิติหีติหํ นี้ความว่า เรากล่าวเพราะเหตุแห่ง
ความตรึกเอา เพราะเหตุแห่งการคาดเอาหรือเพราะเหตุอ้างปิฎก คือตำราก็หา
ไม่. บทว่า เอกสฺมึ พฺรหฺมจริยสฺมึ ได้แก่ ในพระธรรมเทศนาอย่างหนึ่ง.
จริงอยู่ พระธรรมเทศนา ท่านประสงค์ว่า พรหมจรรย์ในที่นี้. บทว่า
มจฺจุหายินํ ได้แก่ พระขีณาสพผู้ละความตาย.
ในคำว่า ทสา จ ทสธา ทสา นี้ บทว่า ทสา ได้แก่จำนวน ๑๐
เท่านั้น. ชื่อว่า สตํ เพราะเอา ๑๐ คูณด้วย ๑๐ อนึ่ง ท่านกล่าวว่า เราเห็น
ภิกษุเหล่าอื่นเป็นพระเสขะ ๑๑๐ รูป. บทว่า โสตํ สมาปนฺนา ได้แก่บรรลุ
กระแสแห่งมรรค. บทว่า อติรจฺฉานคามิโน นี้ เป็นหัวข้อแห่งเทศนา.
อธิบายว่า ผู้ไม่มีความตกต่ำเป็นธรรมดา. บทว่า สงฺขาตุํ โนปิ สกฺโกมิ
ความว่า เราไม่อาจนับว่าเหล่าสัตว์ที่เป็นภาคีแห่งบุญมีเท่านี้ เพราะกลัวมุสาวาท
เพราะเหตุนั้น ท่านหมายเอาพรหมเทศนาเป็นอันมาก จึงกล่าวอย่างนี้.
จบอรรถกถาอันธกวินทสูตรที่ ๓

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!