15-173 พระพุทธเจ้าทรงสักการะเคารพธรรม
พระไตรปิฎก
๒. คารวสูตร
ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงสักการะเคารพธรรม
[๕๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคแรกตรัสรู้ประทับอยู่ที่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่ง
แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด
เกิดความรำพึงอย่างนี้ว่า “บุคคลผู้ไม่เคารพ ไม่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราพึง
สักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์คนไหนหนอแลอยู่”
[๕๖๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า “เราพึงสักการะ เคารพ
อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์
แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ที่มีศีลสมบูรณ์กว่าเรา ที่เรา
จะพึงสักการะ เคารพ อาศัยอยู่
เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ที่มีสมาธิสมบูรณ์กว่าเรา ที่เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยอยู่
เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ที่มีปัญญาสมบูรณ์กว่าเรา ที่เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยอยู่
เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นในโลก พร้อมทั้ง
เทวโลก ฯลฯ ที่มีวิมุตติสมบูรณ์กว่าเรา ที่เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยอยู่
เราพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์อื่นอยู่ เพื่อความบริบูรณ์
แห่งวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น
ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ที่มีวิมุตติญาณทัสสนะสมบูรณ์กว่าเรา ที่เราพึงสักการะ เคารพ
อาศัยอยู่ ทางที่ดีเราพึงสักการะ เคารพธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนั่นแลอยู่
[๕๖๑] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความรำพึงของพระผู้มีพระภาคด้วยใจแล้ว
หายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏ ณ เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษ
ผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ฉะนั้น
ครั้งนั้นแล ท้าวสหัมบดีพรหมห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมมือไปทางที่
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มี
พระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีต ทรงสักการะ เคารพ อาศัยธรรมอยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตทรงสักการะ เคารพ
อาศัยธรรมอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในปัจจุบัน ก็ขอจงสักการะ เคารพ อาศัยธรรมอยู่เถิด”
[๕๖๒] ท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาอื่นต่อไปอีกว่า
พระสัมพุทธเจ้าในอดีต
พระสัมพุทธเจ้าในอนาคต
และพระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดในปัจจุบัน
ผู้ขจัดความเศร้าโศกของสัตว์เป็นจำนวนมากให้พินาศไป
ทุกพระองค์นั้น ล้วนเคารพพระสัทธรรมอยู่
นี้เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้นแล กุลบุตรผู้ใฝ่ประโยชน์
มุ่งหวังความเป็นใหญ่ ระลึกถึงคำสอน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพพระสัทธรรม A
คารวสูตรที่ ๒ จบ
บาลี
คาวรสุตฺต
[๕๕๙] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา อุรุเวลาย วิหรติ
นชฺชา เนรฺชราย ตีเร อชปาลนิโคฺรเธ ปมาภิสมฺพุทฺโธ ฯ อถ โข
ภควโต รโหคตสฺส ปฏิสลฺลีนสฺส เอว เจตโส ปริวิตกฺโก อุทปาทิ
ทุกฺข โข อคารโว วิหรติ อปฺปติสฺโส ก นุ ขฺวาห สมณ วา
พฺราหฺมณ วา สกฺกตฺวา ครุกตฺวา ๑ อุปนิสฺสาย วิหเรยฺยนฺติ ฯ
[๕๖๐] อถ โข ภควโต เอตทโหสิ อปริปุณฺณสฺส โข
สีลกฺขนฺธสฺส ปาริปูริยา อฺ สมณ วา พฺราหฺมณ วา สกฺกตฺวา
ครุกตฺวา อุปนิสฺสาย วิหเรยฺย น โข ปนาห ปสฺสามิ สเทวเก โลเก
สมารเก สพฺรหฺมเก สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสาย
อตฺตนา สีลสมฺปนฺนตร อฺ สมณ วา พฺราหฺมณ วา ยมห
สกฺกตฺวา ครุกตฺวา อุปนิสฺสาย วิหเรยฺย อปริปุณฺณสฺส โข
สมาธิกฺขนฺธสฺส ปาริปูริยา อฺ สมณ วา พฺราหฺมณ วา
สกฺกตฺวา ครุกตฺวา อุปนิสฺสาย วิหเรยฺย น โข ปนาห ปสฺสามิ
สเทวเก โลเก ฯเปฯ อตฺตนา สมาธิสมฺปนฺนตร อฺ สมณ วา
พฺราหฺมณ วา ยมห สกฺกตฺวา ครุกตฺวา อุปนิสฺสาย วิหเรยฺย
อปริปุณฺณสฺส โข ปฺากฺขนฺธสฺส ปาริปูริยา อฺ สมณ วา
พฺราหฺมณ วา สกฺกตฺวา ครุกตฺวา อุปนิสฺสาย วิหเรยฺย น โข
ปนาห ปสฺสามิ สเทวเก โลเก สมารเก สพฺรหฺมเก สสฺสมณพฺราหฺมณิยา
ปชาย สเทวมนุสฺสาย อตฺตนา ปฺาสมฺปนฺนตร
อฺ สมณ วา พฺราหฺมณ วา ยมห สกฺกตฺวา ครุกตฺวา
อุปนิสฺสาย วิหเรยฺย อปริปุณฺณสฺส โข วิมุตฺติกฺขนฺธสฺส ปาริปูริยา
อฺ สมณ วา พฺราหฺมณ วา สกฺกตฺวา ครุกตฺวา อุปนิสฺสาย
วิหเรยฺย น โข ปนาห ปสฺสามิ สเทวเก โลเก ฯเปฯ อตฺตนา
วิมุตฺติสมฺปนฺนตร อฺ สมณ วา พฺราหฺมณ วา ยมห
สกฺกตฺวา ครุกตฺวา อุปนิสฺสาย วิหเรยฺย อปริปุณฺณสฺส โข
วิมุตฺติาณทสฺสนกฺขนฺธสฺส ปาริปูริยา อฺ สมณ วา พฺราหฺมณ
วา สกฺกตฺวา ครุกตฺวา อุปนิสฺสาย วิหเรยฺย น โข ปนาห
ปสฺสามิ สเทวเก โลเก สมารเก สพฺรหฺมเก สสฺสมณพฺราหฺมณิยา
ปชาย สเทวมนุสฺสาย อตฺตนา วิมุตฺติาณทสฺสนสมฺปนฺนตร อฺ
สมณ วา พฺราหฺมณ วา ยมห สกฺกตฺวา ครุกตฺวา อุปนิสฺสาย
วิหเรยฺย ยนฺนูนาห ยฺวาย ธมฺโม มยา อภิสมฺพุทฺโธ ตเมว ธมฺม
สกฺกตฺวา ครุกตฺวา อุปนิสฺสาย วิหเรยฺยนฺติ ฯ
[๕๖๑] อถ โข พฺรหฺมา สหมฺปติ ภควโต เจตสา
เจโตปริวิตกฺกมฺาย เสยฺยถาปิ นาม พลวา ปุริโส สมฺมิฺชิต วา
พาห ปสาเรยฺย ปสาริต วา พาห สมฺมิฺเชยฺย เอวเมว
พฺรหฺมโลเก อนฺตรหิโต ภควโต ปุรโต ปาตุรโหสิ ฯ อถ โข
พฺรหฺมา สหมฺปติ เอกส อุตฺตราสงฺค กริตฺวา เยน ภควา เตนฺชลึ
ปณาเมตฺวา ภควนฺต เอตทโวจ เอวเมต ภควา เอวเมต สุคต
เยปิ เต ภนฺเต อเหสุ อตีตมทฺธาน อรหนฺโต สมฺมาสมฺพุทฺธา
เตปิ ภควนฺโต ธมฺมฺเว สกฺกตฺวา ครุกตฺวา อุปนิสฺสาย วิหรึสุ
เยปิ เต ภนฺเต ภวิสฺสนฺติ อนาคตมทฺธาน อรหนฺโต สมฺมาสมฺพุทฺธา
เตปิ ภควนฺโต ธมฺมฺเว สกฺกตฺวา ครุกตฺวา อุปนิสฺสาย วิหริสฺสนฺติ
ภควาปิ ภนฺเต เอตรหิ อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ ธมฺมฺเว สกฺกตฺวา
ครุกตฺวา อุปนิสฺสาย วิหรตูติ ฯ
[๕๖๒] อิทมโวจ พฺรหฺมา สหมฺปติ อิท วตฺวา อถาปร
เอตทโวจ
เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา เย จ พุทฺธา อนาคตา
โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ พหุนฺน ๒ โสกนาสโน
สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน วิหรึสุ ๓ วิหรนฺติ จ
อถาปิ วิหริสฺสนฺติ เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา
ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน มหตฺตมภิกงฺขตา
สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ สร พุทฺธาน สาสนนฺติ ฯ
******************
๑ โป. ม. ครรกตฺวา ฯ ๒ ม. พหูน ฯ ๓ ม. วิหสุ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาคารวสูตร
ในคารวสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุทปาทิ ความว่า ความตรึกนี้เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ ๕. บทว่า
อคารโว ความว่า เว้นคารวะในบุคคลใดบุคคลหนึ่ง คือไม่ทรงตั้งใคร ๆ
ไว้ในฐานะเป็นที่เคารพ. บทว่า อปฺปติสฺโส ความว่า เว้นจากความยำเกรง
คือไม่ทรงตั้งใคร ๆ ไว้ในฐานะเป็นผู้เจริญที่สุด.
ในบทว่า สเทวเก เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า พร้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย
ชื่อ สเทวกะ. เมื่อถือเอาพวกมารและพรหมด้วยเทวศัพท์ ก็ในคำนี้ ท้าว
วสวัตดีมารย่อมมีอำนาจเหนือมารและพรหมทั้งหมด ธรรมดาว่าพรหมมี
อานุภาพมาก ใช้นิ้วมือนิ้วหนึ่งแผ่รัศมีไปในหนึ่งจักรวาล ใช้ ๒ นิ้วแผ่
รัศมีไป ๒ จักรวาล ฯลฯ ใช้ ๑๐ นิ้วแผ่รัศมีไปหมื่นจักรวาล. พรหมผู้มี
อานุภาพมากนั้น อย่าได้กล่าวกันว่ามีศีลดีกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ฉะนั้นจึง
แยกตรัสว่า สมารเก สพฺรหฺมเก ดังนี้. อนึ่ง ธรรมดาสมณะทั้งหลาย
เป็นพหูสูตโดยรู้นิกายหนึ่งเป็นต้น มีศีลเป็นบัณฑิต แม้พราหมณ์ทั้งหลาย
เป็นพหูสูตโดยรู้วิชาดูพื้นที่เป็นต้น สมณพราหนณ์บัณฑิตเหล่านั้น
อย่าได้กล่าวกันว่าดีกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ฉะนั้น จึงตรัสว่า สสฺสมณพฺ-
ราหฺมณิยา ปชาย ดังนี้. ก็คำว่า สเทวมนุสฺสาย นี้ ตรัสรวบเพื่อแสดง
โดยสิ้นเชิง. อีกอย่างหนึ่ง ในคำนี้ ๓ บทข้างต้น ตรัสโดยมุ่งโลก. ๒ บทหลัง
ตรัสโดยมุ่งหมู่สัตว์. บทว่า สีลสมฺปนฺนตรํ ความว่า สมบูรณ์กว่าคือยิ่งกว่า
โดยศีล. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในที่นี้ธรรม ๔ ประการมีศีล
เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ทั้งโลกิยะทั้งโลกุตระ. วิมุตติญาณทัสสนะเป็นโลกิยะ
เท่านั้น และวิมุตติญาณทัสสนะนั้นเป็นปัจจเวกขณญาณ.
บทว่า ปาตุรโหสิ ความว่า ท้าวสหัมบดีพรหมคิดว่า พระศาสดานี้
ไม่ทรงเห็นผู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าพระองค์โดยศีลเป็นต้น ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคคพรหม
ทรงดำริว่า เราจักเคารพโลกุตรธรรม ๙ ที่เราบรรลุแล้วนี่แหละอาศัยอยู่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคิดถึงเหตุ ทรงคิดถึงประโยชน์พิเศษ จำเราจักไปทำ
อุตสาหะให้เกิดแก่พระองค์ ดังนี้แล้วได้ปรากฏองค์ต่อหน้า คือยืนในที่เฉพาะ
พระพักตร์. ในบทว่า วิหรึสุ วิหรนฺติ จ นี้มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ผู้ใดพึง
กล่าวว่า แม้ในปัจจุบันก็มีพระพุทธเจ้ามาก โดยพระบาลีว่า วิหรนฺติ ดังนี้
ผู้นั้น พึงถูกคัดค้านด้วยคำนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในบัดนี้แม้พระผู้มี
พระภาคเจ้าก็เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พึงแสดงแก่ผู้นั้นว่าพระ-
พุทธเจ้าอื่น ๆ ไม่มี โดยพระบาลีเป็นต้นว่า
เราไม่มีอาจารย์ คนเสมือนเราไม่มี
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่มีคนทัดเทียม
เรา ดังนี้.
บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์เป็นผู้
เคารพพระสัทธรรม. บทว่า มหตฺตมภิกงฺขตา ได้แก่ปรารถนาความเป็น
ใหญ่. บทว่า สรํ พุทฺธานสาสนํ ได้แก่ ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย.
จบอรรถกถาคารวสูตรที่ ๒