15-145 อายุสูตรที่ 1
พระไตรปิฎก
๙. ปฐมอายุสูตร
ว่าด้วยอายุ สูตรที่ ๑
[๔๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัส
เรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อายุของมนุษย์ทั้งหลายนี้น้อยนัก จำต้องไปสู่สัมปรายภพ
ควรทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ สัตว์ผู้เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ภิกษุ
ทั้งหลาย คนที่มีชีวิตอยู่ได้นานก็อยู่ได้เพียง ๑๐๐ ปี หรือจะอยู่เกินไปบ้างก็มีน้อย”
[๔๔๑] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืนยาว
คนดีไม่ควรดูหมิ่นอายุนั้นเลย
ควรทำตัวเหมือนเด็กอ่อนที่คอยแต่จะดื่มนม ฉะนั้น
ความตายยังมาไม่ถึงหรอก
[๔๔๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “นี้คือมารผู้มีบาป” จึงตรัสกับมาร
ผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า
มนุษย์ทั้งหลายมีอายุน้อย
คนดีควรดูหมิ่นอายุนั้น
ควรทำตัวเหมือนคนที่ถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น
ความตายที่จะมาไม่ถึงไม่มี
ครั้งนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
ปฐมอายุสูตรที่ ๙ จบ
บาลี
ปมอายุสุตฺต
[๔๔๐] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ
เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป ฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ
ภิกฺขโวติ ฯ ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ฯ ภควา
เอตทโวจ อปฺปมิท ภิกฺขเว มนุสฺสาน อายุ คมนีโย สมฺปราโย
กตฺตพฺพ กุสล จริตพฺพ พฺรหฺมจริย นตฺถิ ชาตสฺส อมรณ โย
ภิกฺขเว จิร ชีวติ โส วสฺสสต อปฺป วา ภิยฺโยติ ฯ
[๔๔๑] อถ โข มาโร ปาปิมา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
ทีฆมายุ มนุสฺสาน น น หิเฬ สุโปริโส
จเรยฺย ขีรมตฺโตว นตฺถิ มจฺจุสฺส อาคโมติ ฯ
[๔๔๒] อปฺปมายุ มนุสฺสาน หิเฬยฺย น สุโปริโส
จเรยฺยาทิตฺตสีโสว นตฺถิ มจฺจุสฺส นาคโมติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ฯเปฯ ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาปฐมอายุสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอายุสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
บทว่า อปฺปํ วา ภิยฺโรย ความว่า คนเมื่อเป็นอยู่เกินก็ไม่อาจเป็น
อยู่เกิน ๑๐๐ ปี คือเป็นอยู่ ๕๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง. บทว่า อชฺฌภาสิ ความ
ว่า มารคิดว่า พระสมณโคดมกล่าวว่า อายุของเหล่ามนุษย์น้อย จำเราจัก
กล่าวว่า อายุนั้นยืนยาวจึงพูดข่มเพราะเป็นผู้ชอบขัดคอ.
บทว่า น นํ หิเฬ ได้แก่ ไม่พึงดูหมิ่นอายุนั้นว่าอายุนี้น้อย. บทว่า
ขีรมตฺโตว ความว่า เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงายดื่มนม นอนบนเบาะ
กลับไปเหมือนไม่รู้สึกตัว บุคคลย่อมไม่คิดว่า อายุของใครน้อย หรือยืนยาว.
คนดีก็คิดอย่างนั้น. บทว่า จเรยฺยาทิตฺตสีโสว ได้แก่ รู้ว่าอายุน้อย พึง
ประพฤติตัวเหมือนคนมีศีรษะถูกไฟไหม้.
จบอรรถกถาปฐมอายุสูตรที่ ๙