25-339 พระมหาโมคคัลลานเถระ



พระไตรปิฎก


๕. มหาโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานเถระ

{๗๗} [๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง
มีกายคตาสติ A ที่ตั้งมั่นภายในตนอยู่ในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้กำลังนั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง มีกายคตาสติที่ตั้งมั่นภายในตนอยู่
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้
ในเวลานั้นว่า
พุทธอุทาน
ภิกษุที่เจริญกายคตาสติแน่วแน่
สำรวมในผัสสายตนะทั้ง ๖ มีจิตตั้งมั่นเสมอ
ก็จะพึงรู้การดับกิเลสของตนได้
มหาโมคคัลลานสูตรที่ ๕ จบ
เชิงอรรถ
A กายคตาสติ มีความหมายหลายนัย คือ นัยที่ ๑ หมายถึงสติที่ตั้งมั่นในกาย
ด้วยอุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ โดยวิธีมนสิการความปฏิกูลในอาการ ๓๒
มีผม ขน เล็บ เป็นต้น นัยที่ ๒ หมายถึงสติที่ตั้ง มั่นในกายด้วยอุปจารสมาธิ
และให้มนสิการเป็นไปด้วยสติสัมปชัญญะที่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
กำหนดรู้อิริยาบถทั้ง ๔ และการพิจารณาอสุภะ นัยที่ ๓
หมายถึงสติที่สัมปยุตด้วยวิปัสสนาตั้งขึ้นด้วยพิจารณา เห็นกฎไตรลักษณ์ในธาตุ ๔
แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอานัยที่ ๓ (ขุ.อุ.อ. ๒๕/๒๐๐)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!