15-132 บุคคล 4 ประเภท



พระไตรปิฎก


๑. ปุคคลสูตร
ว่าด้วยบุคคล ๔ ประเภท
[๓๙๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับพระเจ้า
ประเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “มหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวก A นี้
มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลผู้มืดมาและมืดไป
๒. บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป
๓. บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป
๔. บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป
[๓๙๔] บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูล
ช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูล
ยากจน มีข้าว น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หา
ของกินและเครื่องนุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย
มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต
มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่อง
ประทีป และเขายังประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไป
เกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
อุปมาเหมือนบุรุษไปจากความมืดสู่ความมืดมิด หรือไปจากความมืดมัว
สู่ความมืดมัว หรือไปจากสายเลือดชั่วสู่สายเลือดชั่ว แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคต
กล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลผู้มืดมาและมืดไป เป็นอย่างนี้แล
[๓๙๕] บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล ตระกูล
ช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างรถ หรือตระกูลคนเทขยะ เป็นตระกูล
ยากจน มีข้าว น้ำและสิ่งของเครื่องใช้น้อย เป็นไปอย่างฝืดเคือง เป็นแหล่งที่หา
ของกินและเครื่องนุ่งห่มได้ยาก และเขามีผิวพรรณหม่นหมอง ไม่น่าดู ต่ำเตี้ย
มีความเจ็บป่วยมาก ตาบอด เป็นง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต
มักไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และ
เครื่องประทีป แต่เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้ว
จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
อุปมาเหมือนบุรุษขึ้นจากแผ่นดินสู่บัลลังก์ หรือขึ้นจากบัลลังก์สู่หลังม้า หรือ
ขึ้นจากหลังม้าสู่คอช้าง หรือขึ้นจากคอช้างสู่ปราสาท แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคต
กล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลผู้มืดมาแต่สว่างไป เป็นอย่างนี้แล
[๓๙๖] บุคคลผู้สว่างมาแต่มืดไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล
พราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติ
มากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ
ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แต่เขา
ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก
อุปมาเหมือนบุรุษลงจากปราสาทสู่คอช้าง หรือลงจากคอช้างสู่หลังม้า หรือลง
จากหลังม้าสู่บัลลังก์ หรือลงจากบัลลังก์สู่พื้นดิน หรือลงจากพื้นดินเข้าสู่ที่มืด
แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคลผู้สว่างมา
แต่มืดไป เป็นอย่างนี้แล
[๓๙๗] บุคคลผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูล
พราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติ
มากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ
ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป และเขาก็
ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรค์
อุปมาเหมือนบุรุษก้าวไปด้วยดีจากบัลลังก์สู่บัลลังก์ หรือก้าวไปด้วยดีจากหลัง
ม้าสู่หลังม้า หรือก้าวไปด้วยดีจากคอช้างสู่คอช้าง หรือก้าวไปด้วยดีจากปราสาทสู่
ปราสาท แม้ฉันใด มหาบพิตร ตถาคตกล่าวว่า บุคคลนี้มีอุปไมยฉันนั้น บุคคล
ผู้สว่างมาและสว่างไป เป็นอย่างนี้แล
มหาบพิตร บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก”
[๓๙๘] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
มหาบพิตร บุรุษเข็ญใจไม่มีศรัทธา
เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
ด่าบริภาษสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ
เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์ เป็นคนมักโกรธ
ย่อมห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงนรกอันโหดร้าย
บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้มืดมาและมืดไป
มหาบพิตร บุรุษเข็ญใจ แต่มีศรัทธา
ไม่มีความตระหนี่ มีความดำริประเสริฐ
มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน
ย่อมลุกรับสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ
ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย
ไม่ห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้ว ย่อมเข้าถึงไตรทิพยสถาน
บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้มืดมาแต่สว่างไป
มหาบพิตร บุรุษมั่งมี แต่ไม่มีศรัทธา
เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น มีความดำริชั่ว
เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ
ด่าบริภาษสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ
เขาเป็นคนไม่มีประโยชน์ เป็นคนมักโกรธ
ย่อมห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงนรกอันโหดร้าย
บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้สว่างมาและมืดไป
มหาบพิตร บุรุษมั่งมี ทั้งมีศรัทธา
ไม่มีความตระหนี่ มีความดำริประเสริฐ
มีใจไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมให้ทาน
ย่อมลุกรับสมณะ หรือพราหมณ์ หรือวณิพกอื่น ๆ
ย่อมสำเหนียกในจรรยาอันเรียบร้อย
ไม่ห้ามคนที่กำลังจะให้สิ่งของเครื่องใช้แก่คนที่กำลังขอ
มหาบพิตรผู้เป็นใหญ่กว่าปวงชน
คนเช่นนั้นเมื่อตายแล้ว ย่อมเข้าถึงไตรทิพยสถาน
บุคคลประเภทนี้ ชื่อว่าผู้สว่างมาและสว่างไป
ปุคคลสูตรที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๘๕/๙๖

บาลี



ปุคฺคลสุตฺต
[๓๙๓] สาวตฺถิย … อถ โข ราชา ปเสนทิโกสโล เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ
เอกมนฺต นิสินฺน โข ราชาน ปเสนทิโกสล ภควา เอตทโวจ
จตฺตาโรเม มหาราช ปุคฺคลา สนฺโต สวิชฺชมานา โลกสฺมึ กตเม
จตฺตาโร ตโม ตมปรายโน ตโม โชติปรายโน โชติ ตมปรายโน
โชติ โชติปรายโน ฯ
[๓๙๔] กถฺจ มหาราช ปุคฺคโล ตโม ตมปรายโน โหติ ฯ
อิธ มหาราช เอกจฺโจ ปุคฺคโล นีเจ กุเล ปจฺฉาชาโต โหติ
จณฺฑาลกุเล วา เวณกุเล วา เนสาทกุเล วา รถการกุเล วา
ปุกฺกุสกุเล วา ทฬิทฺเท อปฺปนฺนปานโภชเน กสิรวุตฺติเก ยตฺถ
กสิเรน ฆาสจฺฉาโท ลพฺภติ ฯ โส จ โหติ ทุพฺพณฺโณ ทุทฺทสฺสิโก
โอโกฏิมโก พหฺวาพาโธ กาโณ วา กุณี วา ขฺโช วา ปกฺขหโต
วา น ลาภี อนฺนสฺส วตฺถสฺส ยานสฺส มาลาคนฺธวิเลปนสฺส
เสยฺยาวสถปทีเปยฺยสฺส ฯ โส กาเยน ทุจฺจริต จรติ วาจาย ทุจฺจริต
จรติ มนสา ทุจฺจริต จรติ ฯ โส กาเยน ทุจฺจริต จริตฺวา
วาจาย ทุจฺจริต จริตฺวา มนสา ทุจฺจริต จริตฺวา กายสฺส เภทา
ปรมฺมรณา อปาย ทุคฺคตึ วินิปาต นิรย อุปปชฺชติ ฯ เสยฺยถาปิ
มหาราช ปุริโส อนฺธการา วา อนฺธการ คจฺเฉยฺย ตมา วา
ตม คจฺเฉยฺย โลหิตมลา วา โลหิตมล คจฺเฉยฺย ตถูปมาห
มหาราช อิม ปุคฺคล วทามิ ฯ เอว โข มหาราช ปุคฺคโล
ตโม ตมปรายโน โหติ ฯ
[๓๙๕] กถฺจ มหาราช ปุคฺคโล ตโม โชติปรายโน โหติ ฯ
อิธ มหาราช เอกจฺโจ ปุคฺคโล นีเจ กุเล ปจฺฉาชาโต โหติ
จณฺฑาลกุเล วา เวณกุเล วา เนสาทกุเล วา รถการกุเล วา
ปุกฺกุสกุเล วา ทฬิทฺเท อปฺปนฺนปานโภชเน กสิรวุตฺติเก ยตฺถ
กสิเรน ฆาสจฺฉาโท ลพฺภติ ฯ โส จ ๑ โหติ ทุพฺพณฺโณ ทุทฺทสฺสิโก
โอโกฏิมโก พหฺวาพาโธ กาโณ วา กุณี วา ขฺโช วา ปกฺขหโต
วา น ลาภี อนฺนสฺส ปานสฺส วตฺถสฺส ยานสฺส มาลาคนฺธวิเลปนสฺส
เสยฺยาวสถปทีเปยฺยสฺส ฯ โส กาเยน สุจริต จรติ วาจาย
สุจริต จรติ มนสา สุจริต จรติ ฯ โส กาเยน สุจริต จริตฺวา
วาจาย สุจริต จริตฺวา มนสา สุจริต จริตฺวา กายสฺส เภทา
ปรมฺมรณา สุคตึ สคฺค โลก อุปปชฺชติ ฯ เสยฺยถาปิ มหาราช
ปุริโส ปวิยา วา ปลฺลงฺก อาโรเหยฺย ปลฺลงฺกา วา อสฺสปิฏฺึ
อาโรเหยฺย อสฺสปิฏฺิยา วา หตฺถิกฺขนฺธ อาโรเหยฺย หตฺถิกฺขนฺธา
วา ปาสาท อาโรเหยฺย ตถูปมาห มหาราช อิม ปุคฺคล วทามิ ฯ
เอว โข มหาราช ปุคฺคโล ตโม โชติปรายโน โหติ ฯ
[๓๙๖] กถฺจ มหาราช ปุคฺคโล โชติ ตมปรายโน โหติ ฯ
อิธ มหาราช เอกจฺโจ ปุคฺคโล อุจฺเจ กุเล ปจฺฉาชาโต โหติ
ขตฺติยมหาสาลกุเล วา พฺราหฺมณมหาสาลกุเล วา คหปติมหาสาลกุเล
วา อฑฺเฒ มหทฺธเน มหาโภเค ปหูตชาตรูปรชเต ปหูตวิตฺตูปกรเณ
ปหูตธนธฺเ ฯ โส จ โหติ อภิรูโป ทสฺสนีโย
ปาสาทิโก ปรมาย วณฺณโปกฺขรตาย สมนฺนาคโต ลาภี อนฺนสฺส
ปานสฺส วตฺถสฺส ยานสฺส มาลาคนฺธวิเลปนสฺส เสยฺยาวสถปทีเปยฺยสฺส ฯ
โส กาเยน ทุจฺจริต จรติ วาจาย ทุจฺจริต จรติ
มนสา ทุจฺจริต จรติ ฯ โส กาเยน ทุจฺจริต จริตฺวา วาจาย
ทุจฺจริต จริตฺวา มนสา ทุจฺจริต จริตฺวา กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา
อปาย ทุคฺคตึ วินิปาต นิรย อุปปชฺชติ ฯ เสยฺยถาปิ มหาราช ปุริโส
ปาสาทา วา หตฺถิกฺขนฺธ โอโรเหยฺย หตฺถิกฺขนฺธา วา อสฺสปิฏฺึ
โอโรเหยฺย อสฺสปิฏฺิยา วา ปลฺลงฺก โอโรเหยฺย ปลฺลงฺกา วา
ปวึ โอโรเหยฺย ปวิยา วา อนฺธการ ปวิเสยฺย ๒ ตถูปมาห
มหาราช อิม ปุคฺคล วทามิ ฯ เอว โข มหาราช ปุคฺคโล โชติ
ตมปรายโน โหติ ฯ
[๓๙๗] กถฺจ มหาราช ปุคฺคโล โชติ โชติปรายโน โหติ ฯ
อิธ มหาราช เอกจฺโจ ปุคฺคโล อุจฺเจ กุเล ปจฺฉาชาโต โหติ
ขตฺติยมหาสาลกุเล วา พฺราหฺมณมหาสาลกุเล วา คหปติมหาสาลกุเล
วา อฑฺเฒ มหทฺธเน มหาโภเค ปหูตชาตรูปรชเต ปหูตวิตฺตูปกรเณ
ปหูตธนธฺเ ฯ โส จ โหติ อภิรูโป ทสฺสนีโย ปาสาทิโก
ปรมาย วณฺณโปกฺขรตาย สมนฺนาคโต ลาภี อนฺนสฺส ปานสฺส
วตฺถสฺส ยานสฺส มาลาคนฺธวิเลปนสฺส เสยฺยาวสถปทีเปยฺยสฺส ฯ โส
กาเยน สุจริต จรติ วาจาย สุจริต จรติ มนสา สุจริต จรติ ฯ โส
กาเยน สุจริต จริตฺวา วาจาย สุจริต จริตฺวา มนสา สุจริต จริตฺวา
กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา สุคตึ สคฺค โลก อุปปชฺชติ ฯ เสยฺยถาปิ
มหาราช ปุริโส ปลฺลงฺกา วา ปลฺลงฺก สงฺกเมยฺย อสฺสปิฏฺิยา วา
อสฺสปิฏฺึ สงฺกเมยฺย หตฺถิกฺขนฺธา วา หตฺถิกฺขนฺธ สงฺกเมยฺย ปาสาทา
วา ปาสาท สงฺกเมยฺย ตถูปมาห มหาราช อิม ปุคฺคล วทามิ ฯ
เอว โข มหาราช ปุคฺคโล โชติ โชติปรายโน โหติ ฯ อิเม โข
มหาราช จตฺตาโร ปุคฺคลา สนฺโต สวิชฺชมานา โลกสฺมินฺติ ฯ
[๓๙๘] อิทมโวจ ฯเปฯ
ทฬิทฺโท ปุริโส ราช อสฺสทฺโธ โหติ มจฺฉรี
กทริโย ปาปสงฺกปฺโป มิจฺฉาทิฏฺิ อนาทโร
สมเณ พฺราหฺมเณ วาปิ อฺเ วาปิ วณิพฺพเก
อกฺโกสติ ปริภาสติ นตฺถิโก โหติ โรสโก
ททมาน นิวาเรติ ยาจมานาน โภชน
ตาทิโส ปุริโส ราช มิยฺยมาโน ชนาธิป
อุเปติ นิรย โฆร ตโม ตมปรายโน
ทฬิทฺโท ปุริโส ราช สทฺโธ โหติ อมจฺฉรี
ททาติ เสฏฺสงฺกปฺโป อพฺยคฺคมนโส นโร
สมเณ พฺราหฺมเณ วาปิ อฺเ วาปิ วณิพฺพเก
อุฏฺาย อภิวาเทติ สมจริยาย สิกฺขติ
ททมาน น วาเรติ ยาจมานาน โภชน
ตาทิโส ปุริโส ราช มิยฺยมาโน ชนาธิป
อุเปติ ติทิว าน ตโม โชติปรายโน
อฑฺโฒ เจ ปุริโส ราช อสฺสทฺโธ โหติ มจฺฉรี
กทริโย ปาปสงฺกปฺโป มิจฺฉาทิฏฺิ อนาทโร
สมเณ พฺราหฺมเณ วาปิ อฺเ วาปิ วณิพฺพเก
อกฺโกสติ ปริภาสติ นตฺถิโก โหติ โรสโก
ททมาน นิวาเรติ ยาจมานาน โภชน
ตาทิโส ปุริโส ราช มิยฺยมาโน ชนาธิป
อุเปติ นิรย โฆร โชติ ตมปรายโน
อฑฺโฒ เจ ปุริโส ราช สทฺโธ โหติ อมจฺฉรี
ททาติ เสฏฺสงฺกปฺโป อพฺยคฺคมนโส นโร
สมเณ พฺราหฺมเณ วาปิ อฺเ วาปิ วณิพฺพเก
อุฏฺาย อภิวาเทติ สมจริยาย สิกฺขติ
ททมาน น วาเรติ ยาจมานาน โภชน
ตาทิโส ปุริโส ราช มิยฺยมาโน ชนาธิป
อุเปติ ติทิว าน โชติ โชติปรายโนติ ฯ

******************

๑ เอตฺถนฺตเร โขสทฺโท ทิสฺสติ ฯ ๒ สี. ยุ. โอโรเหยฺย ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาปุคคลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปุคคลสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๓ ต่อไป :-
บุคคลชื่อว่า ตมะ มืดมา เพราะประกอบด้วยความมืดมีชาติเป็นต้น
ในภายหลัง ในตระกูลที่ต่ำ ที่ชื่อว่า ตมปรายนะ มืดไป เพราะเข้าถึง
ความมืดคือนรกซ้ำอีก ด้วยกายทุจริตเป็นต้น. ดังนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าว
ถึงความมืดคือขันธ์ แม้ด้วยบททั้งสอง ที่ชื่อว่า โชติ สว่างมาก็เพราะ
ประกอบด้วยความสว่างมีชาติเป็นต้นในภายหลังในตระกูลมั่งมี. ท่านอธิบายว่า
เป็นผู้สว่าง. ที่ชื่อว่า โชติปรายนะ สว่างไป เพราะเข้าถึงความสว่างคือการ
เข้าถึงสวรรค์อีกต่อ ด้วยกายสุจริตเป็นต้น. พึงทราบบุคคลทั้งสอง แม้
นอกนี้โดยนัยนี้.
บทว่า เวณกุเล ได้แก่ตระกูลช่างสาน. บทว่า เนสาทกุเล ได้แก่
ตระกูลของพวกพรานล่าเนื้อเป็นต้น. บทว่า รถการกุเล ได้แก่ตระกูลช่าง
หนัง. บทว่า ปุกฺกุสกุเล ได้แก่ตระกูลคนทิ้งดอกไม้เป็นต้น. บทว่า
กสิรวุตฺติเก ได้แก่ดำรงชีพลำเข็ญ. บทว่า ทุพฺพณฺโณ ได้แก่ มีผิวดัง
ตอไฟไหม้ เหมือนปีศาจุคลุกฝุ่น.
บทว่า ทุทฺทสฺสิโก ได้เเก่ ผู้พบเห็นไม่ชอบใจ แม้แต่แม่บังเกิดเกล้า.
บทว่า โอโกฏิมาโก ได้แก่ เป็นคนเตี้ย. บทว่า กาโณ ได้แก่ เป็น
คนตาบอดข้างเดียวหรือตาบอดสองข้าง. บทว่า กุณี ได้แก่ มือง่อยข้างเดียว
หรือมือง่อยสองข้าง. บทว่า ขญฺโช ได้แก่ มีเท้าง่อยข้างเดียวหรือเท้าง่อย
สองข้าง. บทว่า ปกฺขหโต ได้แก่ คนมีสีข้าง ถูกลมขจัดเสียแล้ว คือคน
เปลี้ย [อัมพาต]. บทว่า ปทีเปยฺยสฺส ได้แก่เครื่องอุปกรณ์แห่งประทีป
มีน้ำและภาชนะน้ำมันเป็นต้น. ในคำว่า เอวํ โข มหาราช นี้ท่านกล่าวว่า
บุคคลคนหนึ่ง ไม่ทันเห็นแสงสว่างภายนอกก็มาตายเสียในท้องแม่นั่นเอง
บังเกิดในอบาย ท่องเที่ยวอยู่ตลอดกัปแม้ทั้งสิ้น บุคคลแม้นั้น ชื่อว่ามืดมา
มืดไปแท้. ก็บุคคลผู้มืดมามืดไปนั้น พึงเป็นบุคคลหลอกลวง ด้วยว่าบุคคล
หลอกลวง ย่อมได้รับผลิตผลเห็นปานนี้.
ก็ในคำนี้ ท่านแสดงถึงความวิบัติแห่งการมา และความวิบัติแห่ง
ปัจจัยที่เกิดขึ้นในอดีต ด้วยคำว่า นีจกุเล ปจฺฉา ชาโต โหติ จณฺฑาล-
กุเลวา เป็นต้น. แสดงถึงความวิบัติแห่งปัจจัยในปัจจุบัน ด้วยคำว่า ทลิทฺเท
เป็นต้น. แสดงถึงความวิบัติแห่งอัตภาพ ด้วยคำว่า กสิรวุตฺติเก เป็นต้น.
แสดงถึงการประจวบเหตุแห่งทุกข์ ด้วยคำว่า พหฺวาพาโธ เป็นต้น. แสดง
ถึงความวิบัติเหตุแห่งสุข และความวิบัติแห่งเครื่องอุปโภค ด้วยคำว่า น ลาภี
เป็นต้น. แสดงถึงการประจวบเหตุแห่งความเป็นผู้มืดไป ด้วยคำว่า กาเยน
ทุจฺจริตํ เป็นต้น. แสดงถึงความเข้าถึงความมืดที่เป็นไปภายภาคหน้า ด้วยคำ
ว่า กายสฺส เภทา เป็นต้น. พึงทราบฝ่ายขาวโดยนัยตรงข้ามกับฝ่ายดำที่กล่าว
มาแล้ว.
บทว่า อกฺโกสติ ได้แก่ ด่าด้วยเรื่องที่ใช้ด่า ๑๐ เรื่อง. บทว่า
ปริภาสติ ได้แก่ บริภาษด่ากระทบกระเทียบ ด้วยคำตะคอกว่า เหตุไร
พวกเจ้าจึงหยุดงานกสิกรรมเป็นต้นของข้า พวกเจ้าทำกันแล้วหรือดังนี้เป็นต้นต้น.
บทว่า อพฺยคฺคมนโส ได้แก่ มีจิตมีอารมณ์อันเดียว.
จบอรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๑

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!