15-133 พระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศล
พระไตรปิฎก
๒. อัยยิกาสูตร
ว่าด้วยพระอัยยิกาของพระเจ้าปเสนทิโกศล
[๓๙๙] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
แต่ยังวัน ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับ
พระเจ้าปเสนทิโกศลผู้ประทับนั่ง ณ ที่สมควรดังนี้ว่า “เชิญเถิดมหาบพิตร พระองค์
เสด็จมาจากไหนแต่ยังวัน”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระอัยยิกาของ
ข้าพระองค์ ทรงพระชรา แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัย มีพระชนม์ ๑๒๐ ชันษา
ได้ทิวงคตเสียแล้ว พระองค์เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของข้าพระองค์มาก พระพุทธเจ้าข้า
หากข้าพระองค์ใช้ช้างแก้วแลกแล้วจะพึงได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกาของเรา
อย่าได้ทิวงคตเลย’ ข้าพระองค์ก็พึงให้แม้ซึ่งช้างแก้วเพื่อให้ได้สมหวังว่า ‘ขอพระ
อัยยิกาของเราอย่าได้ทิวงคตเลย’
หากข้าพระองค์ใช้ม้าแก้วแลกแล้วจะพึงได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกาของเรา
อย่าได้ทิวงคตเลย’ ข้าพระองค์ก็พึงให้แม้ซึ่งม้าแก้วเพื่อให้ได้สมหวังว่า ‘ขอพระ
อัยยิกาของเราอย่าได้ทิวงคตเลย’
หากข้าพระองค์ใช้บ้านส่วยแลกแล้วจะพึงได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกาของเรา
อย่าได้ทิวงคตเลย’ ข้าพระองค์ก็พึงให้แม้ซึ่งบ้านส่วยเพื่อให้ได้สมหวังว่า ‘ขอพระ
อัยยิกาของเราอย่าได้ทิวงคตเลย’
หากข้าพระองค์ใช้ชนบทแลกแล้วจะพึงได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกาของเรา
อย่าได้ทิวงคตเลย’ ข้าพระองค์ก็พึงให้แม้ซึ่งชนบทเพื่อให้ได้สมหวังว่า ‘ขอพระอัยยิกา
ของเราอย่าได้ทิวงคตเลย’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ พระผู้มีพระภาคตรัส
เรื่องนี้ไว้ดียิ่งนักว่า ‘สัตว์ทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา มีความตายเป็นที่สุด
ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้”
[๔๐๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น สัตว์ทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา มีความตายเป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้น
ความตายไปได้ มหาบพิตร ภาชนะดินชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งดิบและสุก ภาชนะดิน
เหล่านั้นทั้งหมด มีความแตกเป็นธรรมดา มีความแตกเป็นที่สุด ไม่พ้นความแตก
ไปได้ แม้ฉันใด มหาบพิตร สัตว์ทั้งปวงก็มีความตายเป็นธรรมดา มีความตาย
เป็นที่สุด ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ฉันนั้นเหมือนกัน”
[๔๐๑] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
สัตว์ทั้งปวงจักตาย เพราะชีวิตมีความตายเป็นที่สุด
สัตว์ทั้งหลายจักไปตามกรรม เข้าถึงผลบุญและบาป
คือ ผู้ทำบาปจักไปนรก ส่วนผู้ทำบุญจักไปสวรรค์
เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี
สะสมไว้เป็นสมบัติในโลกหน้า
เพราะบุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
อัยยิกาสูตรที่ ๒ จบ
บาลี
อยฺยิกาสุตฺต
[๓๙๙] สาวตฺถีนิทาน ฯ อถ โข ราชา ปเสนทิโกสโล ทิวาทิวสฺส
เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา
เอกมนฺต นิสีทิ ฯ เอกมนฺต นิสินฺน โข ราชาน ปเสนทิโกสล
ภควา เอตทโวจ หนฺท กุโต นุ ตฺว มหาราช อาคจฺฉสิ ทิวาทิวสฺสาติ ฯ
อยฺยิกา ๑ เม ภนฺเต กาลกตา ชิณฺณา วุฑฺฒา ๒ มหลฺลิกา
อทฺธคตา วโย อนุปฺปตฺตา วีสวสฺสสติกา ชาติยา อยฺยิกา โข
ปน [๓]- ภนฺเต ปิยา อโหสิ มนาปา หตฺถิรตเนน เจปห ๔ ภนฺเต
ลเภยฺย มา เม อยฺยิกา กาลมกาสีติ หตฺถิรตนปห ทเทยฺย
มา เม อยฺยิกา กาลมกาสีติ อสฺสรตเนน เจปห ภนฺเต ลเภยฺย
มา เม อยฺยิกา กาลมกาสีติ อสฺสรตนปห ทเทยฺย มา เม
อยฺยิกา กาลมกาสีติ คามวเรน เจปห ภนฺเต ลเภยฺย มา เม
อยฺยิกา กาลมกาสีติ คามวรปห ทเทยฺย มา เม อยฺยิกา
กาลมกาสีติ ชนปเทน ๕ เจปห ภนฺเต ลเภยฺย มา เม อยฺยิกา
กาลมกาสีติ ชนปทปห ๖ ทเทยฺย มา เม อยฺยิกา กาลมกาสีติ [๗]-
อจฺฉริย ภนฺเต อพฺภูต ภนฺเต ยาว สุภาสิตฺจิท ภนฺเต ภควตา
สพฺเพ สตฺตา มรณธมฺมา มรณปริโยสานา มรณ อนตีตาติ ฯ
[๔๐๐] เอวเมต มหาราช เอวเมต มหาราช สพฺเพ สตฺตา
มรณธมฺมา มรณปริโยสานา มรณ อนตีตา ฯ เสยฺยถาปิ มหาราช
ยานิกานิจิ กุมฺภการกภาชนานิ อามกานิ เจว ปกฺกานิ จ สพฺพานิ
ตานิ เภทนธมฺมานิ เภทนปริโยสานานิ เภทน อนตีตานิ เอวเมว
โข มหาราช สพฺเพ สตฺตา มรณธมฺมา มรณปริโยสานา มรณ
อนตีตาติ ฯ
[๔๐๑] อิทมโวจ ฯเปฯ
สพฺเพ สตฺตา มริสฺสนฺติ มรณนฺต หิ ชีวิต
ยถากมฺม คมิสฺสนฺติ ปฺุปาปผลูปคา
นิรย ปาปกมฺมนฺตา ปฺุกมฺมา จ สุคตึ
ตสฺมา กเรยฺย กลฺยาณ นิจย สมฺปรายิก
ปฺุานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺา โหนฺติ ปาณินนฺติ ฯ
******************
#๑ สี. ยุ. อยฺยกา ฯ ๒ สี. วุทฺธา ฯ ๓ ม. ยุ. เอตฺถนฺตเร เมสทฺโท ทิสฺสติ ฯ
#๔ ม. ยุ. ปาห ฯ ๕ สี. ชนปทปเทเสน ฯ ๖ สี. ม. ชนปทปเทส ฯ ๗ ม. ยุ.
#สพฺเพ สตฺตา ฯเปฯ มรณ อนตีตาตีติ ฯ อิเม ปาา ทิสฺสนฺติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาอัยยิกาสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอัยยิกาสูตรที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า ชิณฺณา ได้แก่ แก่เพราะชรา. บทว่า วุฑฺฒา ได้แก่
เจริญโดยวัย. บทว่า มหลฺลิกา ได้แก่ แก่เฒ่าโดยชาติ. บทว่า อทฺธคตา
ได้แก่ ล่วงกาลไกล คือกาลนาน. บทว่า วโยอนุปฺปตฺตา ได้แก่ถึงปัจฉิมวัย.
บทว่า ปิย มนาปา ความว่า ได้ยินว่า เมื่อพระชนนีของพระราชาทิวงคต
แล้ว พระราชาก็ทรงสถาปนาพระอัยยิกาไว้ในตำแหน่งพระชนนีแล้วทรงทนุ-
บำรุง ด้วยเหตุนั้น ท้าวเธอจึงทรงมีความรักแรงกล้าในพระอัยยิกา เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า หตฺถิรตเนน ความว่า ช้างมีค่าแสนหนึ่ง
ประดับด้วยเครื่องประดับมีค่าแสนหนึ่ง ชื่อว่า หัตถิรัตนะ. แม้ในอัสสรัตนะ
ก็นัยนี้เหมือนกัน. แม้บ้านส่วย ก็คือหมู่บ้านที่มีรายได้เกิดขึ้นแสนหนึ่งนั่นเอง.
บทว่า สพฺพานิ ตานิ เภทนธมฺมานิ ความว่า บรรดาภาชนะของช่างหม้อ
เหล่านั้น ภาชนะบางอันที่ช่างหม้อกำลังทำอยู่นั่นแหละ ย่อมแตกได้ บางอัน
ทำเสร็จแล้ว เอาออกจากแป้นหมุนก็แตก บางอันเอาออกแล้วพอวางลงที่พื้น
ก็แตก บางอันอยู่ได้เกินไปกว่านั้นก็แตก แม้ในสัตว์ทั้งหลาย ก็อย่างนั้นเหมือน
กัน บางคนเมื่อมารดาตายทั้งกลม ไม่ทันออกจากท้องมารดาก็ตาย บางคนพอ
ตลอดก็ตาย บางคนอยู่ได้เกินไปกว่านั้นก็ตาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้.
จบอรรถกถาอัยยิกาสูตรที่ ๒