15-116 ผู้รักษาตน



พระไตรปิฎก


๕. อัตตรักขิตสูตร
ว่าด้วยผู้รักษาตน
[๓๓๗] พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี
พระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดความ
คิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘ชนเหล่าไหนหนอชื่อว่ารักษาตน ชนเหล่าไหนชื่อว่าไม่รักษาตน’
ข้าพระองค์ได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘ก็ชนบางพวกประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่รักษาตน’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษาภายใน ฉะนั้น
ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักษาตน ส่วนชนบางพวกประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักษาตน แม้ว่าพลช้าง พลม้า พลรถหรือพลเดินเท้า
ไม่รักษาเขาก็ตาม ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักษาตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายใน มิใช่เป็นการรักษาภายนอก ฉะนั้น
ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักษาตน”
[๓๓๘] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร ข้อนี้เป็นอย่างนั้น มหาบพิตร ข้อนี้
เป็นอย่างนั้น ก็ชนบางพวกประพฤติกายทุจริต ฯลฯ ชนเหล่านั้นชื่อว่าไม่รักษาตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายนอก มิใช่เป็นการรักษาภายใน ฉะนั้น
ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่รักษาตน ส่วนชนบางพวกประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต
มโนสุจริต ชนเหล่านั้นชื่อว่ารักษาตน แม้ว่าพลช้าง พลม้า พลรถ หรือพลเดินเท้า
ไม่รักษาเขาก็ตาม ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่ารักษาตน
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะการรักษาเช่นนั้นเป็นการรักษาภายใน มิใช่เป็นการรักษาภายนอก ฉะนั้น
ชนเหล่านั้นจึงชื่อว่ารักษาตน”
[๓๓๙] พระผู้มีพระภาค ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
การสำรวมกายเป็นการดี
การสำรวมวาจาเป็นการดี
การสำรวมใจเป็นการดี
การสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นการดี
บุคคลสำรวมในที่ทั้งปวงแล้วมีความละอายต่อบาป
เรากล่าวว่ารักษาตน
อัตตรักขิตสูตรที่ ๕ จบ

บาลี



อตฺตรกฺขิตสุตฺต
[๓๓๗] เอกมนฺต นิสินฺโน โข ราชา ปเสนทิโกสโล ภควนฺต
เอตทโวจ อิธ มยฺห ภนฺเต รโหคตสฺส ปฏิสลฺลีนสฺส เอว เจตโส
ปริวิตกฺโก อุทปาทิ เกส นุ โข รกฺขิโต อตฺตา เกส นุ โข ๑
อรกฺขิโต อตฺตาติ ตสฺส มยฺห ภนฺเต เอตทโหสิ เย จ โข
เกจิ กาเยน ทุจฺจริต จรนฺติ วาจาย ทุจฺจริต จรนฺติ มนสา
ทุจฺจริต จรนฺติ เตส อรกฺขิโต อตฺตา กิฺจาปิ เต หตฺถิกาโย
วา รกฺเขยฺย อสฺสกาโย วา รกฺเขยฺย รถกาโย วา รกฺเขยฺย
ปตฺติกาโย วา รกฺเขยฺย อถ โข เตส อรกฺขิโต อตฺตา ต
กิสฺส เหตุ พาหิรา เหสา รกฺขา เนสา รกฺขา อชฺฌตฺติกา ตสฺมา
เตส อรกฺขิโต อตฺตาติ เย จ โข เกจิ กาเยน สุจริต จรนฺติ
วาจาย สุจริต จรนฺติ มนสา สุจริต จรนฺติ เตส รกฺขิโต อตฺตา
กิฺจาปิ เต เนว หตฺถิกาโย รกฺเขยฺย น อสฺสกาโย รกฺเขยฺย
น รถกาโย รกฺเขยฺย น ปตฺติกาโย รกฺเขยฺย อถ โข เตส
รกฺขิโต อตฺตา ต กิสฺส เหตุ อชฺฌตฺติกา เหสา รกฺขา เนสา
รกฺขา พาหิรา ตสฺมา เตส รกฺขิโต อตฺตาติ ฯ
[๓๓๘] เอวเมต มหาราช เอวเมต มหาราช เย หิ เกจิ
มหาราช กาเยน ทุจฺจริต จรนฺติ ฯเปฯ เตส อรกฺขิโต อตฺตาติ
ต กิสฺส เหตุ พาหิรา เหสา มหาราช รกฺขา เนสา รกฺขา
อชฺฌตฺติกา ตสฺมา เตส อรกฺขิโต อตฺตาติ เย หิ เกจิ มหาราช
กาเยน สุจริต จรนฺติ วาจาย สุจริต จรนฺติ มนสา สุจริต จรนฺติ
เตส รกฺขิโต อตฺตา กิฺจาปิ เต เนว หตฺถิกาโย รกฺเขยฺย น
อสฺสกาโย รกฺเขยฺย น รถกาโย รกฺเขยฺย น ปตฺติกาโย รกฺเขยฺย
อถ โข เตส รกฺขิโต อตฺตา ต กิสฺส เหตุ อชฺฌตฺติกา เหสา
มหาราช รกฺขา เนสา รกฺขา พาหิรา ตสฺมา เตส รกฺขิโต อตฺตาติ ฯ
[๓๓๙] อิทมโวจ ฯเปฯ
กาเยน สวโร สาธุ สาธุ วาจาย สวโร
มนสา สวโร สาธุ สาธุ สพฺพตฺถ สวโร
สพฺพตฺถ สวุโต ลชฺชี รกฺขิโตติ ปวุจฺจตีติ ฯ

******************

๑ สี. ยุ. อย สทฺโท น ทิสฺสติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาอัตตรักขิตสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอัตตรักขิตสูตรที่ ๕ ต่อไป :-
บทว่า หตฺถิกาโย ได้แก่ หมู่พลช้าง. แม้ในหมู่พลที่เหลือก็นัยนี้
เหมือนกัน. บทว่า สํวโร ได้แก่ ปิด. ด้วยบทว่า สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความสำรวมแห่งกรรมที่ยังไม่ถึงความแตก
แห่งกรรมบถ. บทว่า ลชฺชี แปลว่า ผู้มีหิริละอาย แม้โอตตัปปะ ก็เป็น
อันทรงถือเอาแล้วด้วย ลัชชี ศัพท์ในบทนี้.
จบอรรถกถาอัตตรักขิตสูตรที่ ๕

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!