15-110 สุสิมเทพบุตร
พระไตรปิฎก
๙. สุสิมสูตร
ว่าด้วยสุสิมเทพบุตร
[๓๐๓] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์
เธอชอบสารีบุตรหรือไม่”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล
ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตร เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญา
หนาแน่น มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรก
กิเลส มักน้อย สันโดษ เป็นผู้สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เข้าใจพูด
อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้ทักท้วง ตำหนิคนทำชั่ว ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คน
มุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร”
[๓๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ข้อนี้เป็น
อย่างนั้น ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส
จะไม่ชอบสารีบุตร อานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น
มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรกกิเลส มักน้อย
สันโดษ เป็นผู้สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เข้าใจพูด อดทนต่อถ้อยคำ
เป็นผู้ทักท้วง ตำหนิคนทำชั่ว ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย
ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบสารีบุตร”
[๓๐๕] ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคและท่านพระอานนท์ กำลังกล่าวสรรเสริญคุณ
ของท่านพระสารีบุตรอยู่ สุสิมเทพบุตรผู้มีเทพบุตรบริษัทจำนวนมากแวดล้อมแล้ว
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว
ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตเจ้า
ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คน
มีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร ท่านพระสารีบุตรเป็นบัณฑิต ฯลฯ ตำหนิ
คนทำชั่ว ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส
จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร
เพราะว่าข้าพระองค์เข้าไปหาเทพบุตรบริษัทใดๆ ก็ได้ยินเสียง(พูด)อย่างหนาหู
ว่า “ท่านพระสารีบุตรเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญาหนาแน่น มีปัญญาร่าเริง
มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรกกิเลส มักน้อย สันโดษ เป็นผู้
สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เข้าใจพูด อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้ทักท้วง
ตำหนิคนทำชั่ว ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมี
จิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร”
[๓๐๖] ครั้งนั้น เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร เมื่อสุสิมเทพบุตรกำลังกล่าว
สรรเสริญคุณของท่านพระสารีบุตรอยู่ ต่างปลื้มปีติเบิกบานใจ เกิดปีติโสมนัส
มีรัศมีวรรณะเปล่งปลั่งปรากฏอยู่
[๓๐๗] ดุจแก้วมณีและแก้วไพฑูรย์อันงดงามตามธรรมชาติ
ถูกนายช่างเจียระไนดีแล้ว แปดเหลี่ยม วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง ส่องแสง
แพรวพราวสุกสกาวอยู่ ฉะนั้น
[๓๐๘] เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร เมื่อสุสิมเทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญคุณ
ของท่านพระสารีบุตรอยู่ ต่างปลื้มปีติเบิกบานใจ เกิดปีติโสมนัส มีรัศมีวรรณะ
เปล่งปลั่งปรากฏอยู่ ดุจทองแท่งชมพูนุท A เป็นของที่บุตรนายช่างทองผู้ขยันใส่เบ้า
หลอมไล่มลทิน จนสิ้นราคีแล้ว วางไว้บนผ้ากัมพลสีเหลือง ส่องแสงแพรวพราว
สุกสกาวอยู่ ฉะนั้น
[๓๐๙] เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร ฯลฯ มีรัศมีวรรณะเปล่งปลั่งปรากฏอยู่
ดุจดาวศุกร์ เมื่ออากาศปลอดโปร่งปราศจากหมู่เมฆในฤดูสารทกาล ส่องแสง
แพรวพราวสุกสกาวอยู่ในเวลาใกล้รุ่ง ฉะนั้น
[๓๑๐] เทพบุตรบริษัทของสุสิมเทพบุตร เมื่อสุสิมเทพบุตรกำลังกล่าวสรรเสริญคุณ
ของท่านพระสารีบุตรอยู่ ต่างปลื้มปีติเบิกบานใจ เกิดปีติโสมนัส มีรัศมีวรรณะ
เปล่งปลั่งปรากฏอยู่ ดุจดวงอาทิตย์ เมื่ออากาศปลอดโปร่งปราศจากหมู่เมฆในฤดู
สารทกาล พวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ขจัดความมืดที่มีอยู่ในอากาศทั้งปวง ส่องแสง
แพรวพราวสุกสกาวอยู่ ฉะนั้น
[๓๑๑] ครั้งนั้น สุสิมเทพบุตรได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาค ปรารภ
ท่านพระสารีบุตรว่า
ท่านพระสารีบุตร ใคร ๆ ก็รู้จักดีว่าเป็นบัณฑิต
ไม่ใช่คนมักโกรธ มีความมักน้อย สงบเสงี่ยม
ฝึกแล้ว มีคุณงามความดี อันพระศาสดาทรงสรรเสริญ
เป็นผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง
[๓๑๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถาตอบสุสิมเทพบุตร ปรารภท่านพระสารีบุตรว่า
สารีบุตร ใคร ๆ ก็รู้จักดีว่าเป็นบัณฑิต
ไม่ใช่คนมักโกรธ มีความมักน้อย สงบเสงี่ยม
ฝึกฝนอบรมดีแล้ว รอเวลาอยู่ B
สุสิมสูตรที่ ๙ จบ
เชิงอรรถ
A ทองแท่งชมพูนุท หมายถึงทองคำเนื้อบริสุทธิ์ (องฺ.ติก.อ. ๒/๖๔/๑๙๑) ที่เรียกว่า ชมพูนุท เพราะเป็น
ทองที่เกิดขึ้นในแควของแม่น้ำมหาชมพู (องฺ.ติก.ฏีกา ๒/๖๔/๑๙๙)
B รอเวลาอยู่ ในที่นี้หมายถึงรอเวลาที่จะปรินิพพาน (สํ.ส.อ. ๑/๑๑๐/๑๑๙)
บาลี
สุสิมสุตฺต
[๓๐๓] สาวตฺถีนิทาน ฯ อถ โข อายสฺมา อานนฺโท เยน
ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา
เอกมนฺต นิสีทิ ฯ เอกมนฺต นิสินฺน โข อายสฺมนฺต อานนฺท ภควา
เอตทโวจ ตุยฺหปิ โน อานนฺท สารีปุตฺโต รุจฺจตีติ ฯ กสฺส หิ
นาม ภนฺเต อพาลสฺส อทุฏฺสฺส อมูฬฺหสฺส อวิปลฺลตฺถจิตฺตสฺส
อายสฺมา สารีปุตฺโต น รุจฺเจยฺย ปณฺฑิโต ภนฺเต อายสฺมา
สารีปุตฺโต มหาปฺโ ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต ปุถุปฺโ
ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต หาสปฺโ ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต
ชวนปฺโ ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต ติกฺขปฺโ ภนฺเต อายสฺมา
สารีปุตฺโต นิพฺเพธิกปฺโ ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต อปฺปิจฺโฉ
ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต สนฺตุฏฺโ ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต
ปวิวิตฺโต ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต อสสฏฺโ ภนฺเต อายสฺมา
สารีปุตฺโต อารทฺธวิริโย ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต วตฺตา
ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต วจนกฺขโม ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโตฤ
โจทโก ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต ปาปครหี ภนฺเต อายสฺมา
สารีปุตฺโต กสฺส หิ นาม ภนฺเต อพาลสฺส อทุฏฺสฺส อมูฬฺหสฺส
อวิปลฺลตฺถจิตฺตสฺส อายสฺมา สารีปุตฺโต น รุจฺเจยฺยาติ ฯ
[๓๐๔] เอวเมต อานนฺท เอวเมต อานนฺท กสฺส หิ นาม
อานนฺท อพาลสฺส อทุฏฺสฺส อมูฬฺหสฺส อวิปลฺลตฺถจิตฺตสฺส
สารีปุตฺโต น รุจฺเจยฺย ปณฺฑิโต อานนฺท สารีปุตฺโต มหาปฺโ
อานนฺท สารีปุตฺโต ปุถุปฺโ อานนฺท สารีปุตฺโต หาสปฺโ
อานนฺท สารีปุตฺโต ชวนปฺโ อานนฺท สารีปุตฺโต ติกฺขปฺโ
อานนฺท สารีปุตฺโต นิพฺเพธิกปฺโ อานนฺท สารีปุตฺโต อปฺปิจฺโฉ
อานนฺท สารีปุตฺโต สนฺตุฏฺโ อานนฺท สารีปุตฺโต ปวิวิตฺโต อานนฺท
สารีปุตฺโต อสสฏฺโ อานนฺท สารีปุตฺโต อารทฺธวิริโย อานนฺท
สารีปุตฺโต วตฺตา อานนฺท สารีปุตฺโต วจนกฺขโม อานนฺท
สารีปุตฺโต โจทโก อานนฺท สารีปุตฺโต ปาปครหี อานนฺท
สารีปุตฺโต กสฺส หิ นาม อานนฺท อพาลสฺส อทุฏฺสฺส อมูฬฺหสฺส
อวิปลฺลตฺถจิตฺตสฺส สารีปุตฺโต น รุจฺเจยฺยาติ ฯ
[๓๐๕] อถ โข สุสิโม เทวปุตฺโต อายสฺมโต สารีปุตฺตสฺส
วณฺเณ ภฺมาเน มหติยา เทวปุตฺตปริสาย ปริวุโต เยน
ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต
อฏฺาสิ ฯ เอกมนฺต ิโต โข สุสิโม เทวปุตฺโต ภควนฺต
เอตทโวจ เอวเมต ภควา เอวเมต สุคต กสฺส หิ นาม
ภนฺเต อพาลสฺส อทุฏฺสฺส อมูฬฺหสฺส อวิปลฺลตฺถจิตฺตสฺส อายสฺมา๔
สารีปุตฺโต น รุจฺเจยฺย ปณฺฑิโต ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต
ฯเปฯ ปาปครหี ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต กสฺส หิ นาม
ภนฺเต อพาลสฺส อทุฏฺสฺส อมูฬฺหสฺส อวิปลฺลตฺถจิตฺตสฺส อายสฺมา
สารีปุตฺโต น รุจฺเจยฺย อหมฺปิ หิ ภนฺเต ยฺจ ๑ เทวปุตฺตปริส
อุปสงฺกมึ เอตเทว พหุล สทฺท สุณามิ ปณฺฑิโต อายสฺมา
สารีปุตฺโต มหาปฺโ อายสฺมา ปุถุปฺโ อายสฺมา หาสปฺโ
อายสฺมา ชวนปฺโ อายสฺมา ติกฺขปฺโ อายสฺมา นิพฺเพธิกปฺโ
อายสฺมา อปฺปิจฺโฉ อายสฺมา สนฺตุฏฺโ อายสฺมา ปวิวิตฺโต
อายสฺมา อสสฏฺโ อายสฺมา อารทฺธวิริโย อายสฺมา วตฺตา
อายสฺมา วจนกฺขโม อายสฺมา โจทโก อายสฺมา ปาปครหี อายสฺมา
สารีปุตฺโต ๒ กสฺส หิ นาม ภนฺเต อพาลสฺส อทุฏฺสฺส อมูฬฺหสฺส
อวิปลฺลตฺถจิตฺตสฺส อายสฺมา สารีปุตฺโต น รุจฺเจยฺยาติ ฯ
[๓๐๖] อถ โข สุสิมสฺส เทวปุตฺตสฺส เทวปุตฺตปริสา อายสฺมโต
สารีปุตฺตสฺส วณฺเณ ภฺมาเน อตฺตมนา ปมุทิตา ปีติโสมนสฺสชาตา
อุจฺจาวจา วณฺณนิภา อุปทเสติ ฯ
[๓๐๗] เสยฺยถาปิ นาม มณิเวฬุริโย สุโภ โชติมา ๓ อฏฺโส
สุปริกมฺมกโต ปณฺฑุกมฺพเล นิกฺขิตฺโต ภาสเต จ ตปเต จ วิโรจติ
จ เอวเมว สุสิมสฺส เทวปุตฺตสฺส เทวปุตฺตปริสา อายสฺมโต
สารีปุตฺตสฺส วณฺเณ ภฺมาเน อตฺตมนา ปมุทิตา ปีติโสมนสฺสชาตา
อุจฺจาวจา วณฺณนิภา อุปทเสติ ฯ
[๓๐๘] เสยฺยถาปิ นาม เนกฺข ๔ ชมฺโพนท ทกฺเขน กมฺมารปุตฺต
อุกฺกามุเขสุ กุสล สมฺปหฏฺ ๕ ปณฺฑุกมฺพเล นิกฺขิตฺต ภาสเต จ
ตปเต จ วิโรจติ จ เอวเมว สุสิมสฺส เทวปุตฺตสฺส เทวปุตฺตปริสา
ฯเปฯ อุปทเสติ ฯ
[๓๐๙] เสยฺยถาปิ นาม สรทสมเย วิทฺเธ วิคตวลาหเก เทเว ๖
โอสธิตารกา ภาสเต จ ตปเต จ วิโรจติ จ เอวเมว สุสิมสฺส
เทวปุตฺตสฺส เทวปุตฺตปริสา อายสฺมโต สารีปุตฺตสฺส วณฺเณ
ภฺมาเน อตฺตมนา ปมุทิตา ปีติโสมนสฺสชาตา อุจฺจาวจา
วณฺณนิภา อุปทเสติ ฯ
[๓๑๐] เสยฺยถาปิ นาม สรทสมเย วิทฺเธ วิคตวลาหเก เทเว
อาทิจฺโจ นภ อพฺภุสฺสุกฺกมาโน ๗ สพฺพ อากาสคต ตมคต ๘ อภิวิหจฺจ
ภาสเต จ ตปเต จ วิโรจติ จ เอวเมว สุสิมสฺส เทวปุตฺตสฺส
เทวปุตฺตปริสา อายสฺมโต สารีปุตฺตสฺส วณฺเณ ภฺมาเน อตฺตมนา
ปมุทิตา ปีติโสมนสฺสชาตา อุจฺจาวจา วณฺณนิภา อุปทเสติ ฯ
[๓๑๑] อถ โข สุสิโม เทวปุตฺโต อายสฺมนฺต สารีปุตฺต อารพฺภ
ภควโต สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
ปณฺฑิโตติ สมฺาโต สารีปุตฺโต อโกธโน
อปฺปิจฺโฉ โสรโต ทนฺโต สตฺถุวณฺณภโต อิสีติ ฯ
[๓๑๒] อถ โข ภควา อายสฺมนฺต สารีปุตฺต อารพฺภ สุสิม
เทวปุตฺต คาถาย อชฺฌภาสิ ๙
ปณฺฑิโตติ สมฺาโต สารีปุตฺโต อโกธโน
อปฺปิจฺโฉ โสรโต ทนฺโต กาล กงฺขติ ภาวิโต ๑๐ สุทนฺโตติ ฯ
******************
๑ สี. ม. ยุ. ยฺเทว ฯ
๒ ม. ยุ. อิติสทฺโท. ทิสฺสติ ฯ ๓ โป. ม. ยุ. ชาติมา ฯ ๔ โป. ม. นิกฺข ฯ
๕ สี. ยุ. ทกฺขกมฺมารปุตฺเตน สุกุสลสมฺปหฏฺ ฯ ม. ทกฺขกมฺมารปุตฺตอุกฺกามุเขสุ
กุสลสมฺปหฏฺ ฯ ๖ สี. เสยฺยถาปิ รตฺติยา ปจฺจูสสมย ฯ ยุ.
เสยฺยถาปิ นาม รตฺติยา ปจฺจูสสมย ฯ
๗ ม. อพฺภุสฺสกฺกมาโน ฯ ๘ สี. ยุ. ตม ฯ ๙ โป. อภาสิ ฯ ม. ยุ. ปจฺจภาสิ ฯ
๑๐ ม. ภาวิโตติ น ทิสฺสติ ฯ ยุ. ภติโก ฯ อ. ภตฺติโก ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาสุสิมสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสุสิมสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
บทว่า ตุยฺหํปิ โน อานนฺท สารีปุตฺโต รุจฺจติ ความว่า
พระศาสดามีพระประสงค์จะตรัสคุณของพระเถระ ก็ธรรมดาว่าคุณนี้ ไม่
สมควรกล่าวในสำนักของบุคคลที่ไม่ชอบกัน เพราะว่า คุณที่กล่าวในสำนัก
ของบุคคลที่ไม่ชอบกันนั้น จะกล่าวไม่ทันจบ. จริงอยู่ บุคคลผู้ไม่ชอบกันนั้น
เมื่อเขากล่าวคุณว่า ภิกษุชื่อโน้นมีศีล ก็จะกล่าวคำว่า ศีลของภิกษุนั้นเป็น
อย่างไร ภิกษุนั้นมีศีลอย่างใดหรือ ภิกษุอื่นที่มีศีลท่านไม่เคยเห็นหรือ เมื่อ
เขากล่าวคุณว่า ภิกษุชื่อโน้นมีปัญญา ก็จะกล่าวคำเป็นต้นว่า ปัญญาเป็น
อย่างไร ภิกษุอื่นที่มีปัญญานั้น ท่านไม่เคยเห็นหรือ ดังนี้ ก็จะทำอันตราย
แก่คาถาพรรณนาคุณ. ส่วนพระอานนทเถระ เป็นผู้ชอบพอของพระสารีบุตร
เถระ ได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้นอันประณีต ก็ถวายแก่พระเถระ ให้เด็กของ
อุปัฏฐากตนบรรพชา ให้ถืออุปัชฌาย์ในสำนักพระเถระ. แม้พระสารีบุตร
ก็กระทำเท่าพระอานนทเถระอย่างนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุไร เพราะเลื่อมใส
ในคุณทั้งหลายของกันและกัน. จริงอยู่ พระอานนทเถระ ดำริว่า พี่ชายของ
พวกเราบำเพ็ญบารมีมาถึงหนึ่งอสงไขยแสนกัป แทงตลอดปัญญา ๑๖ อย่าง
ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระธรรมเสนาบดี แม่ทัพธรรม เลื่อมใสในคุณทั้งหลาย
ของพระเถระ จึงชอบใจรักใคร่พระเถระ. ฝ่ายพระสารีบุตรเถระก็ดำริว่า
พระอานนท์ทำกิจทุกอย่าง มีถวายน้ำบ้วนพระโอษฐ์เป็นต้น ที่เราพึงทำแด่
พระสัมมาสัมพุทธะ อาศัยอานนท์ เราจึงได้เข้าสมาบัติตามที่ปรารถนา ๆ แล้ว
เลื่อมใสในคุณทั้งหลายของท่าน จึงชอบใจรักใคร่พระอานนทเถระ
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะตรัสคุณของพระสารีบุตร-
เถระ จึงทรงเริ่มในสำนักของพระอานนทเถระ. บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า
ตุยฺหํปิ ปิอักษรลงในอรรถว่าประมวลความ. ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ดูก่อน
อานนท์ สารีบุตรมีอาจาระ โคจร วิหารธรรม การก้าวไป การถอยกลับ
การแลเหลียว การคู้ การเหยียด ชอบใจเรา ชอบใจพระอสีติมหาสาวก
ชอบใจมนุษยโลกทั้งเทวโลก ชอบใจแม้แก่เธอ. แต่นั้น พระเถระก็มีใจยินดี
ประหนึ่งนักมวยปล้ำที่มีกำลัง ได้ช่องในช่องผ้า ดำริว่า พระศาสดามีพระ-
ประสงค์จะให้กล่าวคุณของสหายเรา เราจักได้กล่าวคุณของพระสารีบุตรเถระ
ของพวกเรา เหมือนถอนต้นหว้าใหญ่ อันเป็นธงแห่งชมพูทวีปเสียในวันนี้
เหมือนนำดวงจันทร์ออกจากช่องพลาหก [เมฆฝน] แสดงอยู่ฉะนั้น เมื่อจะนำ
คำสนทนาของบุคคลทั้งหลาย ด้วยบททั้ง ๔ ก่อนคำอื่นมา จึงทูลว่า กสฺส หิ
นาม ภนฺเต อพาลสฺส ดังนี้เป็นต้น จริงอยู่ คนเขลา ชื่อว่า คนโกรธ
เพราะเขลา ชื่อว่า คนหลง เพราะเป็นคนมีโทสะ. ชื่อว่า มีจิตวิปลาส คือ บ้า
เพราะโมหะ ย่อมไม่รู้คุณว่าคุณ โทษว่าโทษ หรือว่า ผู้นี้เป็นพระพุทธเจ้า
ผู้นี้เป็นสาวก. ธรรมดาว่า คนที่ไม่เขลาเป็นต้น ย่อมรู้. เพราะฉะนั้น พระ-
อานนท์เถระจึงทูลว่า อพาลสฺส เป็นต้น. บทว่า น รุเจยฺย ความว่า
ก็พระเถระนั้น ไม่พึงชอบใจแก่เหล่าคนเขลาเป็นต้นเท่านั้น พระเถระไม่พึง
ชอบใจแก่ใครอื่น พระอานนทเถระ ครั้นนำถ้อยคำสนทนาของบุคคลมาฉะนี้
แล้ว เมื่อจะกล่าวคุณตามเป็นจริง ด้วยบท ๑๖ บท จึงทูลว่า ปณฺฑิโต ภนฺเต
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความ
เป็นบัณฑิต คำนี้เป็นชื่อของท่านผู้ตั้งอยู่ในความฉลาด ๔ อย่าง. สมจริงดังที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ โดยเหตุใดแล ภิกษุย่อม
เป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑ เป็นผู้ฉลาดในอายตนะ ๑ เป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท ๑
เป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ ๑ ดูก่อนอานนท์ ด้วยเหตุเพียงนั้นแล
ภิกษุนั้น ควรเรียกว่า ภิกษุบัณฑิต ดังนี้. ในบทว่า มหาปญฺโญ เป็นต้น
ความว่า ประกอบด้วยมหาปัญญาเป็นต้น. ความมีปัญญามากเป็นต้น ในบทว่า
มหาปญฺโ เป็นต้นนั้น ต่างกันดังนี้. มหาปัญญาเป็นไฉน ชื่อว่า มหาปัญญา
เพราะกำหนดถือศีลขันธ์อย่างใหญ่ ชื่อว่า มหาปัญญา เพราะกำหนดถือ
สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์อย่างใหญ่ ชื่อว่า
มหาปัญญา เพราะกำหนดถือฐานะและอฐานะอย่างใหญ่ วิหารสมาบัติอย่าง
ใหญ่ อริยสัจอย่างใหญ่ สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาทอย่างใหญ่
อินทรีย์และโพชฌงค์อย่างใหญ่ อริยมรรคอย่างใหญ่ สามัญญผลอย่างใหญ่
อภิญญาอย่างใหญ่ ปรมัตถนิพพานอย่างใหญ่ ก็มหาปัญญานั้นปรากฏแก่
พระเถระ เมื่อพระศาสดา เสด็จลงจากเทวโลก ประทับยืน ณ ประตู
สังกัสสนคร ตรัสถามปัญหา ชื่อว่า ปุถุชนปัญจกะ แล้วทูลถวายวิสัชนา
ปัญหานั้น. ปุถุปัญญาเป็นไฉน. ชื่อว่า ปุถุปัญญา เพราะญาณเป็นไปในขันธ์
ต่าง ๆ แน่นหนา. . . เป็นไปในธาตุต่าง ๆ แน่นหนา . . . ในอรรถต่าง ๆ
แน่นหนา. . . ในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ แน่นหนา. . . ในความหน่วงสุญญตา
ต่าง ๆ แน่นหนา. . . ในอรรถธรรมนิรุกติปฏิภาณแน่นหนา. . . ในสีลขันธ์
ต่าง ๆ แน่นหนา. . . ในสมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ
ทัสสนขันธ์ต่าง ๆ แน่นหนา. . . ในฐานะและอฐานะต่าง ๆ แน่นหนา. . . ใน
วิหารสมาบัติต่าง ๆ แน่นหนา. . . ในอริยสัจต่าง ๆ แน่นหนา. . . ในสติ-
ปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ต่าง ๆ แน่นหนา. . .
ในอริยมรรค สามัญญผล อภิญญาต่าง ๆ แน่นหนา. . . ญาณเป็นไปใน
ปรมัตถนิพพาน ล่วงธรรมที่ทั่วไปแก่ชนต่าง ๆ แน่นหนา. ชื่อว่า หาสปัญญา
เป็นไฉน ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะบางคนในโลกนี้ มีความร่าเริง แช่มชื่น
ยินดี ปราโมทย์ บำเพ็ญศีล บำเพ็ญอินทรียสังวร บำเพ็ญโภชเนมัตตัญญุตา
ชาคริยานุโยค สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ
ทัสสนขันธ์. ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง ปราโมทย์
แทงตลอดฐานะและอฐานะ. ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง
บำเพ็ญวิหารสมาบัติ. ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง
แทงตลอดอริยสัจ. ชื่อว่า หาสปัญญา เพราะอบรมสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน
อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรค. ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะเป็น
ผู้มากด้วยความร่าเริง กระทำให้แจ้งสามัญญผล แทงตลอดอภิญญา. ชื่อว่า
หาสปัญญา เพราะเป็นผู้มากด้วยความร่าเริง มากด้วยความแช่มชื่น ยินดี
ปราโมทย์ กระทำให้แจ้งปรมัตถนิพพาน. ชื่อว่า หาสปัญญา ก็เพราะพระเถระ
ครั้งเป็นดาบส ชื่อนารท กระทำความปรารถนาเป็นพระอัครสาวกแทบเบื้อง
พระบาท ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี นับตั้งแต่ครั้งนั้นมา
ก็เป็นผู้มากด้วยความร่าเริง กระทำการบำเพ็ญศีลเป็นต้น. ชวนปัญญาเป็นไฉน
ก็เพราะปัญญาพิจารณาเห็นรูป อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
ปัจจุบัน ทั้งไกล ทั้งใกล้ รูปทั้งหมดโดยเป็นของไม่เที่ยง แล่นไปเร็ว. ชื่อว่า
ชวนปัญญา ก็เพราะปัญญาพิจารณาเห็นรูป โดยความเป็นทุกข์ แล่นไปเร็ว
โดยความเป็นอนัตตา แล่นไปเร็ว. ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาเห็น
เวทนา ฯลฯ วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน
วิญญาณทั้งหมด โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล่นไปเร็ว.
ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาจักษุ ฯลฯ ชรามรณะ ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต ปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล่น
ไปเร็ว. ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาใคร่ครวญแจ่มชัดจะแจ้งว่า รูป
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะอรรถสิ้นไป ชื่อว่า
ทุกข์ เพราะอรรถว่าน่ากลัว ชื่อว่า อนัตตา เพราะหาแก่นสารมิได้ แล่นไปเร็วใน
พระนิพพานเป็นส่วนดับแห่งรูป. ชื่อว่า ชวนปัญญา ก็เพราะพิจารณาใคร่ครวญ
แจ่มชัดจะแจ้งว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรามรณะ
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ชื่อว่าไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป ฯลฯ แล่น
ไปเร็วในพระนิพพาน เป็นส่วนดับแห่งชรามรณะ. ชื่อว่าชวนปัญญาก็เพราะ
พิจารณาใคร่ควรญแจ่มชัดจะแจ้งว่า รูป ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตปัจจุบัน ฯลฯ
วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชรามรณะ ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิด
ขึ้น มีอันสิ้นไป เสื่อมไป ดับไปเป็นธรรมดา แล่นไปเร็วในพระนิพพานเป็น
ส่วนดับแห่งชรามรณะ. ติกขปัญญาเป็นไฉน. ชื่อว่า ติกขปัญญา เพราะตัดกิเลส
ทั้งหลายได้เร็ว. ชื่อว่า ติกขปัญญา เพราะไม่พักไว้ซึ่งกามวิตก พยาบาทวิตก
วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ไม่พักอกุศลบาปธรรมที่เกิดขึ้นอีก ไม่พัก ละ บรรเทา
ทำให้สิ้น ทำให้ไม่มี ซึ่งราคะโทสะโมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ
อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ
ที่เกิดขึ้นแล้ว กิเลสทุจริตทั้งหมด อภิสังขารทั้งหมด กรรมที่ให้ถึงสังสารภพ
ทั้งหมด. ชื่อว่า ติกขปัญญาเพราะปัญญาที่บรรลุ กระทำให้แจ้งสัมผัสมรรค ๔
สามัญญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ณ ที่นั่งแห่งเดียว. เมื่อพระผู้มีพระ.
ภาคเจ้ากำลังทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตรแก่ทีฆนขปริพาชก หลานชาย พระ-
เถระยืนถวายงานพัด ก็ตัดกิเลสได้ทั้งหมด ชื่อว่ามีปัญญาแหลม ตั้งแต่แทง
ตลอดสาวกบารมีญาณ. ด้วยเหตุนั้น พระอานนท์เถระจึงทูลว่า ติกฺขปญฺโ
ภนฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรมีปัญญาแหลม
ดังนี้. นิพเพธิกปัญญา เป็นไฉน ชื่อว่านิพเพธิกปัญญา เพราะบางคนใน
โลกนี้ มากด้วยความหวาดสะดุ้งเอือมระอาไม่ยินดีนัก เบือนหน้าหนีไม่ไยดี
ในสังขารทั้งปวง เจาะทำลายกองโลภะ ที่ไม่เคยเจาะไม่เคยทำลาย ในสังขาร
ทั้งปวง. ชื่อว่า นิพเพธิกปัญญา เพราะเจาะทำลายกองโทสะกองโมหะ โกธะ
อุปนาหะ ฯลฯ ที่ไม่เคยเจาะไม่เคยทำลายกรรมที่ให้ถึงภพทั้งหมด. บทว่า
อปฺปิจฺโฉ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยลักษณะอย่างนี้ว่า ปกปิดคุณที่มีอยู่ รู้จัก
ประมาณในการรับ นี่เป็นลักษณะของผู้มีความมักน้อย. บทว่า สนฺตุฏฺโ ได้แก่
เป็นผู้ประกอบด้วยสันโดษ ๓ ในปัจจัย ๔ คือ ยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ
ยถาสารุปปสันโดษ. บทว่า ปวิวิตฺโต ได้แก่ผู้ได้วิเวก ๓ เหล่านี้ คือ กายวิเวก
ของผู้มีกายตั้งอยู่ในความสงัด ผู้ยินดีในเนกขัมมะ จิตตวิเวก ของผู้มีจิตบริสุทธิ์
ผู้ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง และอุปธิวิเวก ของเหล่าบุคคลผู้ไร้อุปธิผู้ถึงวิสังขาร.
บทว่า อสํสฏฺโฐ ได้แก่ผู้เว้นจากการคลุกคลี ๕ อย่างเหล่านี้ คือ คลุกคลีด้วย
การฟัง คลุกคลีด้วยการเห็น คลุกคลีด้วยการสนทนา คลุกคลีด้วยการบริโภค
คลุกคลีด้วยกาย. การคลุกคลี ๕ อย่างนี้ ย่อมเกิดกับบุคคล ๘ จำพวก คือ พระ-
ราชา อมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ
ภิกษุณี ความคลุกคลีแม้ทั้งหมดนั้นไม่มีแก่พระเถระ เหตุนั้น พระเถระจึงว่าผู้ไม่
คลุกคลี. บทว่า อารทฺธวิริโย ได้แก่ เป็นผู้ประคองความเพียร มีความเพียร
บริบูรณ์ในข้อนั้น ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดขณะเดิน
ติดมาถึงขณะยืน ไม่ยอมให้กิเลสที่เกิดขณะยืน ติดมาถึงขณะนั่ง ไม่ยอมให้กิเลส
ที่เกิดขณะนั่ง ติดมาถึงขณะนอน. กิเลสเกิดในที่นั้น ๆ ก็ข่มไว้ได้ในที่นั้น ๆ นั่น
แหละ. ก็พระเถระมิได้เหยียดหลังบนเตียงมาถึง ๔๘ ปี. พระอานนทเถระ
หมายถึงข้อนั้นจึงทูลว่า อารทฺธวิริโย ผู้ปรารภความเพียร. บทว่า วตฺตา
ได้แก่เป็นผู้กล่าวกำจัดโทษ. พระเถระเห็นความประพฤติทรามของเหล่าภิกษุ
ก็ไม่ผัดเพี้ยนว่า ค่อยพูดกันวันนี้ พูดกันวันพรุ่งนี้ อธิบายว่า ท่านสั่งสอน
พร่ำสอนในที่นั้น ๆ เลย. บทว่า วจนกฺขโม ได้แก่ ย่อมทนฟังคำของผู้
อื่น จริงอยู่ ภิกษุรูปหนึ่งชอบสอนผู้อื่น แต่ตัวเองถูกผู้อื่นสอนเข้า ก็โกรธ.
ส่วนพระเถระให้โอวาทแก่ผู้อื่นด้วย ตัวเองแม้ถูกโอวาท ก็ยอมรับด้วยเศียร
เกล้า เล่ากันมาว่า วันหนึ่ง สามเณรอายุ ๗ ขวบ เรียนพระสารีบุตรเถระว่า
ท่านสารีบุตรขอรับ ชายผ้านุ่งของท่านห้อยลงมาแน่ะ. พระเถระไม่พูดอะไรเลย
ไป ณ ที่เหมาะแห่งหนึ่ง นุ่งเรียบร้อยแล้วก็มา ยืนประณมมือพูดว่า เท่านี้
เหมาะไหม อาจารย์ พระเถระกล่าวว่า ผู้บวชในวันนั้น เป็นคนดี อายุ ๗ ขวบ
โดยกำเนิด ถึงผู้นั้นพึงสั่งสอนเรา เราก็ยอมรับด้วยกระหม่อมดังนี้. บทว่า
โจทโก ได้แก่สั่งสอนตามแบบธรรมเนียมว่า ธรรมดาว่าภิกษุ เห็นวิติกกมโทษ
ในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม พึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่มอย่างนี้
เดินอย่างนี้ ยืนอย่างนี้ นั่งอย่างนี้ เคี้ยวอย่างนี้ ฉันอย่างนี้. บทว่า ปาปครหี
ได้แก่ไม่เห็นแก่คนชั่ว ไม่ฟังคำคนชั่วเหล่านั้น ไม่ยอมอยู่ในจักรวาลเดียวกับ
คนชั่วเหล่านั้น. พระอานนทเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรตำหนิ
บาป ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ตำหนิคนชั่วอย่างนี้บ้างว่า
มา เม กทาจิ ปาปิจฺโฉ กุสีโต หีนวีริโย
อปฺปสฺสุโต อนาทาโน สมนฺตา กตฺถจิ อหุ
ในกาลไหน ๆ ขอเพื่อนสพรหมจารี
ของเราอย่าเป็นผู้มีความปรารถนาลามก
เกียจคร้าน หย่อนความเพียร มีสุตะน้อย
ไม่ยึดถือรอบด้านไม่มีในที่ไหน ๆ เลย.
ตำหนิธรรมฝ่ายชั่วอย่างนี้บ้างว่า ธรรมดาว่าสมณะไม่พึงตกอยู่ใน
อำนาจราคะ ในอำนาจโทสะและโมหะ ราคะโทสะโมหะ ที่เกิดขึ้นแล้ว พึง
ละเสีย ดังนี้. เมื่อท่านพระอานนท์กระทำการประกาศคุณตามความเป็นจริง
ของพระเถระด้วยบท ๑๖ บท อย่างนี้แล้ว บุคคลชั่วไร ๆ ก็อย่าได้กล่าวว่า
ทำไมพระอานนท์ไม่ได้กล่าวคุณสหายที่รักของตน คำอะไรที่พระอานนท์นั้น
กล่าวแล้ว ก็เป็นอย่างนั้นนั่นแล. พระอานนท์นั้นเป็นสัพพัญญู หรือพระ-
ศาสดา เมื่อทรงกระทำการกล่าวคุณนั้น ที่ไม่กำเริบเป็นคำตรัสของพระ
สัพพัญญูพุทธะ ก็เท่ากับประทับแหวนตราชินลัญจกร [ตราพระชินเจ้า] จึง
ตรัสว่า เอวเมตํ ดังนี้เป็นต้น. เมื่อพระตถาคตและพระอานนท์เถระกำลัง
กล่าวคุณของพระมหาสาวกอยู่ เหล่าภุมมเทวดา เทวดาผู้อยู่ภาคพื้นดินก็ลุกขึ้น
กล่าวคุณด้วยบท ๑๖ บทเหล่านั้นเหมือนกัน. แต่นั้นเหล่าอากาสัฏฐกเทวดา
คือ เทวดาผู้อยู่ในอากาศ เทวดาฝนเย็น เทวดาฝนร้อน เทวดาชั้นจาตุม-
มหาราชตลอดถึงอกนิฏฐพรหมโลก ก็ลุกขึ้นกล่าวคุณด้วยบท ๑๖ บทเหล่า
นั้นเหมือนกัน. เทวดาในหมื่นจักรวาลตั้งต้นแต่จักรวาลหนึ่ง ก็ลุกขึ้นกล่าว
โดยอุบายนั้น. ครั้งนั้น สุสิมเทพบุตร สัทธิวิหาริกของท่านพระสารีบุตร
ดำริว่า เทพบุตรเหล่านี้ ละกิฬาในงานนักษัตรของตน ๆ เสียแล้วดำรงอยู่ใน
ที่นั้น กล่าวคุณอุปัชฌาย์ของเราเท่านั้น จำเราจะไปสำนักพระตถาคต กระทำ
การกล่าวคุณนั้นนั่นแหละ ซึ่งเป็นคำของเทวดา. เทพบุตรนั้น ก็ได้กระทำ
อย่างนั้น เพื่อจะแสดงความข้อนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข สุสิโม เทวปุตฺโต
ดังนี้เป็นต้น. ในบทว่า อุจฺจาวจา ในที่อื่น ๆ ประณีต ท่านเรียกว่าอุจจะ
(สูง) เลวท่านเรียกว่า อวจะ (ต่ำ) แต่ในสูตรนี้ บทว่า อุจฺจาวจา ได้แก่วรรณะ
และรัศมีของวรรณะ ต่าง ๆ อย่าง. เขาว่า รัศมีแห่งวรรณะของเทวบริษัทนั้น
ปรากฏชัดมี ๔ อย่าง คือที่เขียวก็เขียวจัด ที่เหลืองก็เหลืองจัด ที่แดงก็แดง
จัด ที่ขาวก็ขาวจัด ด้วยเหตุนั้นนั่นแล อุปมา ๔ ข้อจึงมาว่า เสยฺยถาปินาม
เป็นต้น. ในอุปมา ๔ ข้อนั้น บทว่า สุโภ แปลว่าดี. บทว่า ชาติมา
แปลว่า ถึงพร้อมด้วยชาติ. บทว่า สุปริกมฺมกโต ได้แก่เจียระนัยดีแล้ว
ด้วยบริกรรมมีล้างเป็นต้นวางไว้บนผ้ากัมพลเหลือง. บทว่า เอวเมวํ ความว่า
มณีทั้งหมดเริ่มส่องประกายพร้อมกัน ดังมณีที่วางบนผ้ากัมพลแดง. บทว่า
เนกฺขํ ได้แก่เครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำเกินเนื้อห้า. จริงอยู่ เครื่องประดับ
นั้น ย่อมเหมาะแก่การย้ำและชัด. บทว่า ชมฺโพนทํ ได้แก่ทองที่เกิดในแม่
น้ำที่ไหลไปทางกึ่งชมพู่ใหญ่ หรือเมื่อรสผลชมพู่ใหญ่จมดิน หน่อทองคำผุดขึ้น
อธิบายว่า เครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำนั้น. บทว่า กมฺมารปุตฺตํ อุกฺกามุ-
เขสุ กุสลํ สมฺปหฏฺฐํ ได้แก่ ที่บุตรช่างทองผู้ฉลาด หลอมทางปากเบ้า
สุกคว้างแล้ว. ในคัมภีร์ธาตุวิภังค์ ท่านถือเอาทองชมพูนุท ที่ยังไม่ทำรูปพรรณ.
แต่ในพระสูตรนี้ ท่านถือเอาทองที่ทำรูปพรรณแล้ว. บทว่า วิทฺเธ แปลว่า
อยู่ไกล. บทว่า เทเว ได้แก่ อากาศ. บทว่า นภํ อพฺภุสฺสุกฺกมาโน
ได้แก่ โลดขึ้นสู่อากาศ. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงภาพดวงอาทิตย์อ่อน ๆ. บทว่า
โสรโต ได้แก่ ประกอบด้วยความสงบเสงี่ยม. บทว่า ทนฺโต ได้แก่
หมดพยศ. บทว่า สตฺถุวณฺณภโต แปลว่า มีคุณที่พระศาสดาทรงนำมาแล้ว.
จริงอยู่ พระศาสดาประทับนั่งท่ามกลางบริษัท ๘ ทรงนำคุณของพระเถระมา
โดยนัยว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงคบสารีบุตรและโมคคัลลานะ ดังนี้
เป็นต้น. พระเถระก็ชื่อว่า เป็นผู้มีคุณที่พระศาสดาทรงนำมาแล้ว. บทว่า
กาลํ กงฺขติ ได้แก่ ปรารถนากาลเป็นที่ปรินิพพาน. จริงอยู่ พระขีณาสพ
ย่อมไม่กระหยิ่มยินดีความตาย ไม่มุ่งหมายความเป็น แต่ปรารถนา อธิบายว่า
ยืนคอยดูกาลเวลา เหมือนบุรุษยืนคอยค่าจ้างไปวันหนึ่ง ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่าน
พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า
นาภินนฺทามิ มรณํ นาภินนฺทามิ ชีวิตํ
กาลํ จ ปาฏิกงฺขามิ นิพฺพิสํ กติโก ยถา
เราไม่ยินดีความตาย เราไม่ยินดี
ความเป็นอยู่ แต่เรารอเวลา [ปรินิพพาน]
เหมือนลูกจ้าง รอค่าจ้างฉะนั้น.
จบอรรถกถาสุสิมสูตรที่ ๙