15-092 จันทิมสเทพบุตร
พระไตรปิฎก
๑. จันทิมสสูตร
ว่าด้วยจันทิมสเทพบุตร
[๒๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป จันทิมสเทพบุตรมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้
สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร
[๒๕๒] ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ชนเหล่าใดบรรลุฌาน
มีจิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น มีปัญญา มีสติ
ชนเหล่านั้นจักถึงความสวัสดี
ดุจเนื้อทรายในซอกเขาที่ปราศจากริ้นและยุง ฉะนั้น
[๒๕๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนเหล่าใดบรรลุฌาน
ไม่ประมาท ละกิเลสได้
ชนเหล่านั้นจักถึงฝั่ง
ดุจปลาทำลายข่ายได้แล้วว่ายไป ฉะนั้น
จันทิมสสูตรที่ ๑ จบ
บาลี
จนฺทิมสสุตฺต
[๒๕๑] สาวตฺถิย อาราเม … อถ โข จนฺทิมโส เทวปุตฺโต
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺโณ เกวลกปฺป เชตวน
โอภาเสตฺวา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต
อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ
[๒๕๒] เอกมนฺต ิโต โข จนฺทิมโส เทวปุตฺโต ภควโต
สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
เต หิ โสตฺถึ คมิสฺสนฺติ กจฺเฉวามกเส มคา
ฌานานิ อุปสมฺปชฺช เอโกทินิปกา สตาติ ฯ
[๒๕๓] เต หิ ปาร คมิสฺสนฺติ เฉตฺวา ชาลฺจ ๑ อมฺพุโช
ฌานานิ อุปสมฺปชฺช อปฺปมตฺตา รณฺชหาติ ฯ
******************
๑ โป. ม. ยุ. ชาลว ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาจันทิมสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในจันทิมสสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๒ ต่อไป :-
บทว่า กจฺเฉว แปลว่า ประดุจชะวาก ชะวากเขาก็ดี ชะวากไม้และน้ำ
ก็ดี ชื่อว่า ชะวาก. บทว่า เอโกพินิปทา ได้แก่ประกอบด้วยจิตต์มีอารมณ์
เดียว และปัญหาเครื่องรักษาตัว. บทว่า สตา แปลว่า มีสติ. ท่านอธิบาย
ว่า ชนเหล่าใดได้ฌาน มีจิตมีอารมณ์อันเดียวผุดขึ้น มีปัญญาเครื่องรักษาตัว
มีสติอยู่ ชนเหล่านั้น จักถึงความสวัสดี เหมือนเหล่ามฤค ในชะวากเขา หรือ
ชะวากแม่น้ำ ที่ไม่มียุง. บทว่า ปารํ ได้แก่พระนิพพาน บทว่า อมฺพุโช
แปลว่า ปลา. บทว่า รณํ ชหา แปลว่า ละกิเลส. ท่านอธิบายว่า ชน
เหล่าใดได้ฌานไม่ประมาท ย่อมละกิเลสได้ ชนเหล่านั้น ก็จักถึงพระนิพพาน
เหมือนปลาทำลายข่ายที่ทำด้วยด้ายฉะนั้น.
จบอรรถกถาจันทิมสสูตรที่ ๑