15-037 พวกเทวดาประชุมกัน
พระไตรปิฎก
๗. สมยสูตร
ว่าด้วยพวกเทวดาประชุมกัน
[๑๑๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์
แคว้นสักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์
อนึ่ง พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้งสิบประชุมกันเป็นอันมากเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาค
และภิกษุสงฆ์
[๑๑๖] ครั้งนั้น เทวดา ๔ องค์ที่เกิดในหมู่พรหมชั้นสุทธาวาสได้มีความดำริอย่างนี้ว่า
“พระผู้มีพระภาคพระองค์นี้ ประทับอยู่ ณ ป่ามหาวัน เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้น
สักกะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ อนึ่ง
พวกเทวดาจากโลกธาตุทั้งสิบประชุมกันเป็นอันมากเพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคและ
ภิกษุสงฆ์ ทางที่ดีแม้เราทั้งหลายควรเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ” แล้วกล่าว
คาถาเฉพาะตนในสำนักของพระผู้มีพระภาค
[๑๑๗] ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นหายตัวไปจากหมู่พรหมชั้นสุทธาวาสมาปรากฏอยู่
เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาค เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า
ฉะนั้น ครั้งนั้น เทวดาเหล่านั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
[๑๑๘] เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี
พระภาคว่า
การประชุมใหญ่ได้มีแล้วในป่าใหญ่
พวกเทวดามาประชุมพร้อมกันแล้ว
พวกข้าพระองค์พากันมาสู่ที่ประชุมอันเป็นธรรมนี้
เพื่อจะเยี่ยมเยียนหมู่ภิกษุผู้ที่ใคร ๆ ให้พ่ายแพ้ไม่ได้
[๑๑๙] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ในที่ประชุมนั้น ภิกษุทั้งหลายตั้งจิตไว้มั่น
ทำจิตตนเองให้ตรง ภิกษุเหล่านั้นเป็นบัณฑิต
ย่อมรักษาอินทรีย์ทั้งหลาย
เหมือนนายสารถีถือบังเหียนม้า บังคับให้วิ่งไปตามทาง ฉะนั้น
[๑๒๐] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
ภิกษุเหล่านั้นตัดกิเลสดุจตะปูตรึงจิต A ได้แล้ว
ตัดกิเลสดุจลิ่มสลัก B ได้แล้ว
และถอนกิเลสดุจเสาเขื่อน C ได้แล้ว
จึงไม่หวั่นไหว เป็นผู้หมดจด ปราศจากมลทิน
มีจักษุ D ฝึกตนดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ ประพฤติธรรมอยู่
[๑๒๑] ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า
บุคคลทั้งหลายผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
จักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละร่างกายอันเป็นของมนุษย์แล้ว
จักบังเกิดเป็นเทวดาโดยสมบูรณ์
สมยสูตรที่ ๗ จบ
เชิงอรรถ
A กิเลสดุจตะปูตรึงจิต หมายถึงกิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ (สํ.ส.อ. ๑/๓๗/๗๔)
B กิเลสดุจลิ่มสลัก หมายถึงกิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ (สํ.ส.อ. ๑/๓๗/๗๔)
C กิเลสดุจเสาเขื่อน หมายถึงกิเลสคือราคะ โทสะ โมหะ (สํ.ส.อ. ๑/๓๗/๗๔)
D มีจักษุ หมายถึงมีจักษุ ๕ คือ (๑) มังสจักขุ ตาเนื้อ คือมีพระเนตรงาม มีอำนาจ เห็นแจ่มใส
ไวและเห็นไกล (๒) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ คือทรงมีพระญาณเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นต่าง ๆ กันด้วยอำนาจกรรม
(๓) ปัญญาจักขุ ตาปัญญา คือทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณอันยิ่งใหญ่ เป็นเหตุให้สามารถตรัสรู้
อริยสัจธรรมเป็นต้น (๔) พุทธจักขุ ตาพระพุทธเจ้า คือทรงประกอบด้วยอินทรียปโรปริยัตตญาณ และ
อาสยานุสยญาณ เป็นเหตุให้ทรงทราบอัธยาศัยและอุปนิสัยแห่งเวไนยสัตว์แล้วทรงสั่งสอนแนะนำ
ให้บรรลุคุณวิเศษต่าง ๆ ยังพุทธกิจให้บริบูรณ์ (๕) สมันตจักขุ ตาเห็นรอบ คือทรงประกอบด้วย
พระสัพพัญญุตญาณ อันหยั่งรู้ธรรมทุกประการ (สํ.ส.อ. ๑/๓๗/๗๔-๗๕, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๒๔-
๔๓๐, ๑๙๑/๕๔๑-๕๔๖)
บาลี
สมยสุตฺต
[๑๑๕] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สกฺเกสุ วิหรติ
กปิลวตฺถุสฺมึ มหาวเน มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ ปฺจมตฺเตหิ
ภิกฺขุสเตหิ สพฺเพเหว อรหนฺเตหิ ฯ ทสหิ จ โลกธาตูหิ เทวตา
เยภุยฺเยน สนฺนิปติตา โหนฺติ ภควนฺต ทสฺสนาย ภิกฺขุสงฺฆฺจ ฯ
[๑๑๖] อถ โข จตุนฺน สุทฺธาวาสกายิกาน เทวาน เอตทโหสิ
อย โข ภควา สกฺเกสุ วิหรติ กปิลวตฺถุสฺมึ มหาวเน มหตา
ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ ปฺจมตฺเตหิ ภิกฺขุสเตหิ สพฺเพเหว อรหนฺเตหิ
ทสหิ จ โลกธาตูหิ เทวตา เยภุยฺเยน สนฺนิปติตา โหนฺติ ภควนฺต
ทสฺสนาย ภิกฺขุสงฺฆฺจ ยนฺนูน มยมฺปิ เยน ภควา เตนุปสงฺกเมยฺยาม
อุปสงฺกมิตฺวา ภควโต สนฺติเก ปจฺเจกคาถา ภาเสยฺยามาติ ฯ
[๑๑๗] อถ โข ตา เทวตา เสยฺยถาปิ นาม พลวา ปุริโส
สมฺมิฺชิต วา พาห ปสาเรยฺย ปสาริต วา พาห สมฺมิฺเชยฺย
เอวเมว สุทฺธาวาเสสุ เทเวสุ อนฺตรหิตา ภควโต ปุรโต ปาตุรหสุ ฯ
อถ โข ตา เทวตา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺสุ ฯ
[๑๑๘] เอกมนฺต ิตา โข เอกา เทวตา ภควโต สนฺติเก
อิม คาถ อภาสิ
มหาสมโย ปวนสฺมึ เทวกายา สมาคตา
อาคตมฺห อิม ธมฺมสมย ทกฺขิตาเยว อปราชิตสงฺฆนฺติ ฯ
[๑๑๙] อถ โข อปรา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
ตตฺร ภิกฺขโว สมาทหสุ
จิตฺต อตฺตโน อุชุกมกสุ
สารถีว เนตฺตานิ คเหตฺวา
อินฺทฺริยานิ รกฺขนฺติ ปณฺฑิตาติ ฯ
[๑๒๐] อถ โข อปรา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
เฉตฺวา ขีล เฉตฺวา ปลีฆ
อินฺทขีล โอหจฺจมเนชา ๑
เต จรนฺติ สุทฺธา วิมลา
จกฺขุมตา สุทนฺตา สุสู นาคาติ ฯ
[๑๒๑] อถ โข อปรา เทวตา ภควโต สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
เยเกจิ พุทฺธ สรณ คตาเส
น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ
ปหาย มานุส เทห เทวกาย ปริปูเรสฺสนฺตีติ ฯ
******************
#๑ สี. อูหจฺจ อูปจฺจาติปิ เทฺว ปาา ฯ ม. อุหจฺจ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาสมยสูตร อ่านได้ที่ ebook หรือ โปรแกรม e-tipitaka
พระไตรปิฎก มมร เล่ม 24 หน้า 202 – 219