12-271 มิใช่สมณะด้วยเครื่องแบบและวัตร



พระไตรปิฎก


มิใช่สมณะด้วยเครื่องแบบและวัตร
{๔๘๑} [๔๓๗] ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้นุ่งห่มผ้าซ้อน A มีความเป็นสมณะ B
ด้วยอาการเพียงการนุ่งห่มผ้าซ้อน
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ถือเพศเปลือยกายมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการ
เปลือยกาย
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้หมักหมมด้วยธุลีมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการ
หมักหมมด้วยธุลี
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้อาบน้ำมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการลงอาบน้ำ
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการ
อยู่โคนไม้เป็นวัตร
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้อยู่ในที่แจ้งเป็นวัตรมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียง
การอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ยืนแหงนหน้ามีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการ
ยืนแหงนหน้า
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้บริโภคภัตตามวาระมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียง
การบริโภคภัตตามวาระ
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ท่องมนตร์มีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการท่องมนตร์
เราไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ขมวดผมมีความเป็นสมณะ ด้วยอาการเพียงการขมวดผม
หากบุคคลนุ่งห่มผ้าซ้อน มีอภิชฌามาก จะพึงละอภิชฌาได้ด้วยอาการเพียง
การนุ่งห่มผ้าซ้อน มีจิตพยาบาท จะพึงละพยาบาทได้ มีความมักโกรธ จะพึงละ
ความมักโกรธได้ มีความผูกโกรธ จะพึงละความผูกโกรธได้ มีความลบหลู่ จะพึงละ
ความลบหลู่ได้ มีความตีเสมอ จะพึงละความตีเสมอได้ มีความริษยา จะพึงละ
ความริษยาได้ มีความตระหนี่ จะพึงละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวดจะพึงละ
ความโอ้อวดได้ มีมารยา จะพึงละมารยาได้ มีความปรารถนาที่เป็นบาป จะพึงละ
ความปรารถนาที่เป็นบาปได้ มีความเห็นผิด จะพึงละความเห็นผิดได้ ด้วยอาการ
เพียงการนุ่งห่มผ้าซ้อนไซร้ มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตก็จะพึงให้บุคคลนั้นนุ่งห่ม
ผ้าซ้อนตั้งแต่เกิดทีเดียว พึงชักชวนผู้นั้นให้นุ่งห่มผ้าซ้อนอย่างเดียวว่า ‘ท่านผู้มี
หน้าอิ่มเอิบ มาเถิด ท่านจงนุ่งห่มผ้าซ้อน ท่านผู้นุ่งห่มผ้าซ้อนอยู่ มีอภิชฌามาก
ก็จักละอภิชฌาได้ด้วยอาการเพียงนุ่งห่มผ้าซ้อน มีจิตพยาบาทก็จักละพยาบาทได้
มีความมักโกรธก็จักละความมักโกรธได้ มีความผูกโกรธก็จักละความผูกโกรธได้
มีความลบหลู่ก็จักละความลบหลู่ได้ มีความริษยาก็จักละความริษยาได้ มีความตระหนี่
ก็จักละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวดก็จักละความโอ้อวดได้ มีมารยาก็จักละ
มารยาได้ มีความปรารถนาที่เป็นบาปก็จักละความปรารถนาที่เป็นบาปได้ มีความ
เห็นผิดก็จักละความเห็นผิดได้ ด้วยอาการเพียงการนุ่งห่มผ้าซ้อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเราเห็นบุคคลบางคนในโลกนี้แม้นุ่งห่มผ้าซ้อนอยู่ยังมี
อภิชฌามาก มีจิตพยาบาท มีความมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีความลบหลู่
มีความตีเสมอ มีความริษยา มีความตระหนี่ มีความโอ้อวด มีมารยา มีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป มีความเห็นผิด ฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าบุคคลที่นุ่งห่มผ้าซ้อน
มีความเป็นสมณะด้วยอาการเพียงนุ่งห่มผ้าซ้อน
หากบุคคลถือเพศเปลือยกาย ฯลฯ หากบุคคลหมักหมมด้วยธุลี … หาก
บุคคลอาบน้ำ … หากบุคคลอยู่โคนไม้ … หากบุคคลอยู่ในที่แจ้ง … หากบุคคล
ยืนแหงนหน้า … หากบุคคลบริโภคภัตตามวาระ … หากบุคคลท่องมนตร์ … หาก
บุคคลขมวดผม มีอภิชฌามาก จะพึงละอภิชฌาได้ด้วยอาการเพียงการขมวดผม
มีจิตพยาบาท จะพึงละพยาบาทได้ มีความมักโกรธ จะพึงละความมักโกรธได้ มี
ความผูกโกรธ จะพึงละความผูกโกรธได้ มีความลบหลู่ จะพึงละความลบหลู่ได้ มี
ความตีเสมอ จะพึงละความตีเสมอได้ มีความริษยา จะพึงละความริษยาได้ มีความ
ตระหนี่ จะพึงละความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวด จะพึงละความโอ้อวดได้ มีมารยา
จะพึงละมารยาได้ มีความปรารถนาที่เป็นบาป จะพึงละความปรารถนาที่เป็นบาปได้
มีความเห็นผิด จะพึงละความเห็นผิดได้ด้วยอาการเพียงการขมวดผมไซร้ มิตรอำมาตย์
ญาติสาโลหิตก็จะพึงให้บุคคลนั้นขมวดผมตั้งแต่เกิดทีเดียว พึงชักชวนผู้นั้นให้ขมวด
ผมอย่างเดียวว่า ‘ท่านผู้มีหน้าอิ่มเอิบ มาเถิด ท่านจงเป็นผู้ขมวดผม ท่านผู้
ขมวดผมอยู่ มีอภิชฌามากก็จักละอภิชฌาได้ด้วยอาการเพียงการขมวดผม มีจิต
พยาบาทก็จักละพยาบาทได้ มีความมักโกรธก็จักละความมักโกรธได้ มีความผูก
โกรธก็จักละความผูกโกรธได้ มีความลบหลู่ก็จักละความลบหลู่ได้ มีความตีเสมอ
ก็จักละความตีเสมอได้ มีความริษยาก็จักละความริษยาได้ มีความตระหนี่ก็จักละ
ความตระหนี่ได้ มีความโอ้อวดก็จักละความโอ้อวดได้ มีมารยาก็จักละมารยาได้
มีความปรารถนาที่เป็นบาปก็จักละความปรารถนาที่เป็นบาปได้ มีความเห็นผิดก็
จักละความเห็นผิดได้ ด้วยอาการเพียงการขมวดผม’
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเราเห็นบุคคลบางคนในโลกนี้แม้ขมวดผมอยู่ ก็ยังมี
อภิชฌามาก มีจิตพยาบาท มีความมักโกรธ มีความผูกโกรธ มีความลบหลู่ มี
ความตีเสมอ มีความริษยา มีความตระหนี่ มีความโอ้อวด มีมารยา มีความ
ปรารถนาที่เป็นบาป มีความเห็นผิด ฉะนั้น เราจึงไม่กล่าวว่าบุคคลผู้ขมวดผมมี
ความเป็นสมณะด้วยอาการเพียงการขมวดผม
เชิงอรรถ
A ผ้าซ้อน ในที่นี้แปลจากคำว่า สังฆาฏิ หมายถึงผ้าที่ใช้ผ้าเก่าฉีกเป็นชิ้น ๆ เย็บซ้อนกันใช้เป็นผ้านุ่งและห่ม เป็นข้อวัตรของลัทธินอกศาสนา มิได้หมายถึงสังฆาฏิที่เป็นเครื่องบริขารของภิกษุในธรรมวินัยนี้ (ม.มู.อ.๒/๔๓๗/๒๓๓, ม.มู.ฏีกา ๒/๔๓๗/๒๙๓)
B ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๔๑๖ (มหาอัสสปุรสูตร) หน้า ๔๕๒ ในเล่มนี้

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.