15-024 การห้ามใจ



พระไตรปิฎก


๔. มโนนิวารณสูตร
ว่าด้วยการห้ามใจ
[๖๒] เทวดากราบทูลว่า
บุคคลห้ามใจจากอารมณ์ใด ๆ ได้
ทุกข์เพราะอารมณ์นั้น ๆ ย่อมไม่มาถึงเขา
เขาห้ามใจจากอารมณ์ทั้งปวงได้
ย่อมพ้นจากทุกข์ เพราะอารมณ์ทั้งปวง
[๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลไม่พึงห้ามใจจากอารมณ์ทั้งปวง
ไม่พึงห้ามใจที่ถึงความสำรวม A
บาปเกิดขึ้นจากอารมณ์ใด ๆ
พึงห้ามใจจากอารมณ์นั้นๆ
มโนนิวารณสูตรที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A ไม่พึงห้ามใจที่ถึงความสำรวม หมายถึงไม่พึงห้ามใจจากธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงสำรวม เช่น ทาน ศีล (สํ.ส.อ.
๑/๒๔/๕๑)

บาลี



มโนนิวารณสุตฺต
[๖๒] ยโต ยโต มโน นิวารเย น ทุกฺขเมติ น ตโต ตโต
ส สพฺพโต มโน นิวารเย ส สพฺพโต ทุกฺขา ปมุจฺจตีติ ๔ ฯ
[๖๓] น สพฺพโต มโน นิวารเย มโน ยตตฺตมาคต ๕
ยโต ยโต จ ปาปก ตโต ตโต มโน นิวารเยติ ฯ

******************

๔ โป. ม. ยุ. อิติสทฺโท นตฺถิ ฯ ๕ ม. ยุ. น มโน สยตตฺตมาคต ฯ

อรรถกถา


อรรกถามโนนิวารณสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในมโนนิวารณสูตรที่ ๔ ต่อไป :-
บทว่า ยโต ยโต ได้แก่ แต่อารมณ์ที่เป็นบาป หรือว่าเป็นบุญ.
ได้ยินว่า เทดานี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่
เป็นโลกีย์ หรือที่เป็นโลกุตระโดยประการต่าง ๆ มีอารมณ์ที่เป็นกุศลเป็นต้น
บุคคลพึงห้ามใจเท่านั้น คือไม่พึงให้อารมณ์นั้นเกิดขึ้น ดังนี้. คำว่า ส สพฺพโต
แก้เป็น โส สพฺพโต แปลว่า บุคคลนั้น. . .แต่อารมณ์ทั้งปวง. ทีนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า เทวดานี้ ย่อมกล่าวถ้อยคำอันเป็นอนิยยานิกะ
(คำไม่นำสัตว์ออกไปจากทุกข์) ธรรมดาว่า ใจ เป็นภาวะที่ควรห้ามก็มี ควร
เจริญก็มี เราจักจำแนกความข้อนั้นแสดงแก่เธอ ดังนี้ จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า
น สพฺพโต มโน นิวารเย มโน ยตตฺตมาคตํ
ยโต ยโต จ ปาปกํ ตโต ตโต มโน นิวารเย.
บุคคลไม่ควรห้ามใจแต่อารมณ์ทั้งปวง
ที่เป็นเหตุให้ใจมาถึงความสำรวม บาป
ย่อมเกิดขึ้นแต่อารมณ์ใด ๆ บุคคลพึงห้าม
ใจแต่อารมณ์นั้น ๆ.
บรรดาคำเหล่านั้น คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มโน ยตตฺต-
มาคตํ ได้แก่ ไม่พึงห้ามใจโดยประการทั้งปวง คือว่า ธรรมอะไรๆที่กล่าว
แล้ว ไม่ควรห้ามใจไปเสียทั้งหมด เพราะว่าธรรมที่เป็นเหตุให้ใจมาสู่ความ
สำรวมอันใด ที่เกิดขึ้นโดยนัยว่า เราจักให้ทาน จักรักษาศีล อันเป็นเหตุนำมา
ซึ่งความสำรวมใจเป็นต้นนี้ บุคคลไม่พึงห้าม ด้วยว่า ข้อนี้เป็นความพอกพูน
เป็นความเจริญโดยแท้. คำว่า ยโต ยโต จ ปาปกํ ได้แก่ อกุศลย่อมเกิด
แต่ธรรมอะไร ๆ บุคคลพึงห้ามใจเฉพาะธรรมนั้น ๆ ดังนี้แล.
จบอรรถกถามโนนิวารณสูตรที่ ๔

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!