15-028 ผู้มีทรัพย์มาก
พระไตรปิฎก
๘. มหัทธนสูตร
ว่าด้วยผู้มีทรัพย์มาก
[๗๒] เทวดาทูลถามว่า
กษัตริย์ทั้งหลายมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
ทั้งมีแว่นแคว้น ไม่รู้จักพอในกามทั้งหลาย
ต่างแข่งขันกันและกัน
เมื่อกษัตริย์เหล่านั้นพากันขวนขวาย
วิ่งไปตามกระแสแห่งภพ
บุคคลเหล่าไหนเล่าไม่มีความขวนขวาย
ละความโกรธและตัณหาในโลกได้
[๗๓] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
บุคคลทั้งหลายสละเรือน สละลูก
และสละสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รัก บวช
กำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาได้
สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์
บุคคลเหล่านี้เป็นผู้ไม่มีความขวนขวายในโลก
มหัทธนสูตรที่ ๘ จบ
บาลี
มหทฺธนสุตฺต
[๗๒] มหทฺธนา มหาโภคา รฏฺวนฺโตปิ ขตฺติยา
อฺมฺาภิคิชฺฌนฺติ กาเมสุ อนลงฺกตา
เตสุ อุสฺสุกชาเตสุ ภวโสตานุสาริสุ
โรธตณฺห ๔ ปวาหึสุ ๕ เก โลกสฺมึ อนุสฺสุกาติ ฯ
[๗๓] หิตฺวา อคาร ปพฺพชิตา หิตฺวา ปุตฺต ปสุมฺปิย
หิตฺวา ราคฺจ โทสฺจ อวิชฺชฺจ วิราชิย
ขีณาสวา อรหนฺโต เต โลกสฺมึ อนุสฺสุกาติ ฯ
******************
๔ สี. โกธตณฺห ฯ ยุ. เคธตณฺห ฯ
#๕ ม. ยุ ปชหึสุ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถามหัทธนสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในมหัทธนสูตรที่ ๘ ต่อไป :-
บุคคลชื่อว่า มีทรัพย์มาก เพราะอรรถว่า ทรัพย์ของเขาอันเป็น
สาระมีแก้วมุกดาเป็นต้นมีมาก. บุคคลมีโภคะมาก (สมบัติมาก) เพราะอรรถว่า
เขามีมหาโภคะอันเป็นภาชนะที่ทำด้วยทองและเงินเป็นต้นมาก. บทว่า
อญฺญมญฺาภิคิชฺฌนฺติ แปลว่า ย่อมต้องการ ของกันและกัน คือย่อม
ปรารถนา ย่อมริษยาของกันและกัน. บทว่า อนลงฺกตา แปลว่า ไม่รู้จักพอ
คือไม่รู้จักอิ่ม เกิดความอยากไม่สิ้นสุด บทว่า อุสฺสุกฺกชาเตสุ แปลว่า
มีความขวนขวาย คือพยายามเพื่อต้องการสิ่งที่ชอบใจทั้งหลายอันมีรูปเป็นต้น
ที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นในบรรดาสิ่งที่ชอบใจซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ เพื่อต้องการ
เสวยสิ่งที่เกิดขึ้น.
บทว่า ภวโสตานุสาริสุ แปลว่า ลอยไปตามกระแสแห่งภพ ได้แก่
แล่นไป ตามกระแสแห่งวัฎฏะ. บทว่า อนุสฺสุกา แปลว่า ไม่มีความ
ขวนขวาย ได้แก่ เพราะไม่มีสิ่งเบียดเบียน. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
บุคคลทั้งหลายละเรือน ละบุตร
ละปศุสัตว์ที่รัก บวชแล้วกำจัดราคะโทสะ
และอวิชชาเสียแล้ว เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว
เป็นผู้ไกลจากกิเลส บุคคลพวกนั้น เป็น
ผู้ไม่ขวนขวายในโลก.
บทว่า อคารํ แปลว่า เรือน ได้แก่ บ้านพร้อมทั้งมาตุคาม.
บทว่า วิราชิยา แปลว่า กำจัดแล้ว ได้แก่ ทำลายแล้ว. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถามหัทธนสูตรที่ ๘