15-258 เทพ สูตรที่ 2



พระไตรปิฎก


๒. ทุติยเทวสูตร
ว่าด้วยเทพ สูตรที่ ๒
[๙๐๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า ฯลฯ
[๙๐๙] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
เป็นมาณพชื่อมฆะ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวมฆวาน’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้
ทานมาก่อน เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวปุรินททะ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้
ทานโดยเคารพ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสักกะ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้ให้
ที่พักอาศัย เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าววาสวะ’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงคิดเนื้อความได้ตั้งพันโดยครู่เดียว
เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสหัสนัยน์’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงมีนางอสุรกัญญานามว่าสุชา เป็น
ปชาบดี เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวสุชัมบดี’
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เสวยราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วย
ความเป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ เพราะเหตุนั้น จึงได้พระนามว่า ‘ท้าวเทวานมินทะ’
[๙๑๐] ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
ได้สมาทานวัตตบท ๗ ประการอย่างบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการจึง
ได้เป็นท้าวสักกะ
วัตตบท ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. เราพึงเลี้ยงมารดาและบิดาตลอดชีวิต
๒. เราพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต
๓. เราพึงพูดจาแต่คำอ่อนหวานตลอดชีวิต
๔. เราไม่พึงพูดคำส่อเสียดตลอดชีวิต
๕. เราพึงมีใจปราศจากความตระหนี่ที่เป็นมลทิน อยู่ครองเรือน มีการ
บริจาคเป็นประจำ มีมือชุ่มเป็นนิตย์ ยินดีในการเสียสละ ควรที่ผู้
อื่นจะขอ ยินดีในการแจกจ่ายทานตลอดชีวิต
๖. เราพึงพูดแต่คำสัตย์ตลอดชีวิต
๗. เราไม่พึงโกรธตลอดชีวิต ถ้าแม้ความโกรธพึงเกิดขึ้นแก่เรา เราก็จะ
กำจัดโดยฉับพลันทันที
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน
ได้สมาทานวัตตบท ๗ ประการนี้อย่างบริบูรณ์ เพราะสมาทานวัตตบท ๗ ประการ
จึงได้เป็นท้าวสักกะ”
[๙๑๑] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ฯลฯ จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
เทพชั้นดาวดึงส์กล่าวถึงนรชนผู้เลี้ยงมารดาและบิดา
มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
เจรจาแต่คำอ่อนหวาน สมานมิตร ละคำส่อเสียด
ประกอบในอุบายกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์
ครอบงำความโกรธได้นั้นแลว่า เป็นสัตบุรุษ
ทุติยเทวสูตรที่ ๒ จบ

บาลี



ทุติยเทวสุตฺต
[๙๐๘] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส
อาราเม ฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู ฯเปฯ
[๙๐๙] ภควา เอตทโวจ สกฺโก ภิกฺขเว เทวานมินฺโท
ปุพฺเพ มนุสฺสภูโต สมาโน มโฆ นาม มาณโว อโหสิ ตสฺมา
มฆวาติ วุจฺจติ ฯ สกฺโก ภิกฺขเว เทวานมินฺโท ปุพฺเพ มนุสฺสภูโต
สมาโน ปุเร ทาน อทาสิ ตสฺมา ปุรินฺทโทติ วุจฺจติ ฯ
สกฺโก ภิกฺขเว เทวานมินฺโท ปุพฺเพ มนุสฺสภูโต สมาโน สกฺกจฺจ
ทาน อทาสิ ตสฺมา สกฺโกติ วุจฺจติ ฯ สกฺโก ภิกฺขเว
เทวานมินฺโท ปุพฺเพ มนุสฺสภูโต สมาโน อาวสถ อทาสิ ตสฺมา
วาสโวติ วุจฺจติ ฯ สกฺโก ภิกฺขเว เทวานมินฺโท สหสฺสมฺปิ
อตฺถาน มุหุตฺเตน จินฺเตติ ตสฺมา สหสฺสกฺโขติ วุจฺจติ ฯ
สกฺกสฺส ภิกฺขเว เทวานมินฺทสฺส สุชา นาม อสุรกฺา ปชาปตี
ตสฺมา สุชมฺปตีติ วุจฺจติ ฯ สกฺโก ภิกฺขเว เทวานมินฺโท เทวาน
ตาวตึสาน อิสฺสริยาธิปจฺจ รชฺช กาเรติ ๑ ตสฺมา เทวานมินฺโทติ
วุจฺจติ ฯ
[๙๑๐] สกฺกสฺส ภิกฺขเว เทวานมินฺทสฺส ปุพฺเพ มนุสฺสภูตสฺส
สตฺต วตฺตปทานิ สมตฺตานิ สมาทินฺนานิ อเหสุ เยส สมาทินฺนตฺตา
สกฺโก สกฺกตฺต อชฺฌคา ฯ กตมานิ สตฺต ฯ ยาวชีว มาตาเปตฺติภโร
อสฺส ยาวชีว กุเล เชฏฺาปจายี อสฺส ยาวชีว สณฺหวาโจ อสฺส
ยาวชีว อปิสุณวาโจ อสฺส ยาวชีว วิคตมลมจฺเฉเรน เจตสา
อคาร อชฺฌาวเสยฺย มุตฺตจาโค ปยตปาณี โวสฺสคฺครโต ยาจโยโค
ทานสวิภาครโต ยาวชีว สจฺจวาโจ อสฺส ยาวชีว อกฺโกธโน
อสฺส สเจปิ เม โกโธ อุปฺปชฺเชยฺย ขิปฺปเมว น ปฏิวิเนยฺยนฺติ ฯ
สกฺกสฺส ภิกฺขเว เทวานมินฺทสฺส ปุพฺเพ มนุสฺสภูตสฺส อิมานิ สตฺต
วตฺตปทานิ สมตฺตานิ สมาทินฺนานิ อเหสุ เยส สมาทินฺนตฺตา
สกฺโก สกฺกตฺต อชฺฌคาติ ฯ
[๙๑๑] อิทมโวจ ฯเปฯ
มาตาเปตฺติภร ชนฺตุ กุเล เชฏฺาปจายิน
สณฺห สขิลสมฺภาส เปสุเณยฺยปฺปหายิน
มจฺเฉรวินเย ยุตฺต สจฺจ โกธาภิภุ นร
ต เว เทวา ตาวตึสา อาหุ สปฺปุริโส อิตีติ ฯ

******************

๑ ยุ. กาเรสิ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาทุติยเทวสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในทุทิยเทวสูตรที่ ๒ ต่อไปนี้ :-
บทว่า สนุสฺสภูโต ได้แก่ มฆมาณพเป็นมนุษย์ในหมู่บ้านอจลคาม
แคว้นมคธ. บทว่า อาวสถํ อาทาสิ ความว่า มฆมาณพได้สร้างที่พักให้แก่
มหาชนในทางสี่แพร่ง. บทว่า สหสฺสมฺปิ อตฺถานํ ได้แก่เหตุแม้พันหนึ่ง.
หรือว่าเมื่อคำพูดพันคำรวมลงด้วยคนพันคน ท้าวสักกะจอมเทพทั้งอยู่ในบท
เดียววินิจฉัยว่า นี้ ประโยชน์ของชนนี้ นี้ประโยชน์ของชนนี้.
จบ อรรถกถาทุติยเทวสูตรที่ ๒

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!