15-255 ภิกษุผู้อยู่ในป่า



พระไตรปิฎก


๙. อารัญญกสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ในป่า
[๘๙๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมจำนวนมากอาศัย
อยู่ในกุฎีที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่า ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับท้าวเวปจิตติ
จอมอสูร เข้าไปหาฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นถึงที่อยู่
[๘๙๖] ครั้งนั้น ท้าวเวปจิตติ
จอมอสูร ทรงฉลองพระบาทหนาหลายชั้น ทรงพระขรรค์ มีผู้กั้นฉัตรให้ เข้าไปสู่
อาศรมทางประตูพิเศษ เข้าไปใกล้ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นห่างไม่ถึงวา
ส่วนท้าวสักกะจอมเทพทรงถอดฉลองพระบาท ประทานพระขรรค์ให้แก่ผู้อื่น รับสั่ง
ให้ลดฉัตร เสด็จเข้าไปทางอาศรมโดยทางประตูเข้าออก ประคองอัญชลีนอบน้อม
ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านั้นแล้วอยู่ใต้ลม
[๘๙๗] ครั้งนั้น ฤๅษีผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
เหล่านั้น ได้กล่าวกับท้าวสักกะจอมเทพด้วยคาถาว่า
กลิ่นของฤๅษีผู้ประพฤติพรตมานาน
ย่อมฟุ้งจากกายไปตามลม
ท้าวสหัสนัยน์ A พระองค์จงถอยไปจากที่นี้
ท้าวเทวราช กลิ่นของพวกฤๅษี ไม่สะอาด
[๘๙๘] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
กลิ่นของพวกฤๅษีผู้ประพฤติพรตมานาน
ย่อมฟุ้งจากกายไปตามลม
ท่านเจ้าข้า พวกข้าพเจ้าต่างก็มุ่งหวังกลิ่นนี้
เหมือนคนมุ่งหวังระเบียบดอกไม้อันวิจิตรบนศีรษะ ฉะนั้น
พวกเทพหามีความสำคัญในกลิ่น
ของผู้มีศีลนี้ว่า เป็นสิ่งปฏิกูลไม่
อารัญญกสูตรที่ ๙ จบ
เชิงอรรถ
A ท้าวสหัสนัยน์ หมายถึงท้าวสักกะจอมเทพผู้ทรงคิดเนื้อความได้ตั้งพันโดยครู่เดียว (ดูข้อ ๒๕๘/๓๗๖)

บาลี



อารฺกสุตฺต
[๘๙๕] สาวตฺถีนิทาน ฯ ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว สมฺพหุลา อิสโย
สีลวนฺโต กลฺยาณธมฺมา อรฺายตเน ปณฺณกุฏีสุ สมฺมนฺติ ฯ
อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก จ เทวานมินฺโท เวปจิตฺติ จ อสุรินฺโท
เยน เต อิสโย สีลวนฺโต กลฺยาณธมฺมา เตนุปสงฺกมึสุ ฯ
[๘๙๖] อถ โข ภิกฺขเว เวปจิตฺติ อสุรินฺโท อฏลิโย ๑ อุปาหนา
อาโรหิตฺวา ขคฺค โอลคฺเคตฺวา ฉตฺเตน ธาริยมาเนน อคฺคทฺวาเรน
อสฺสม ปวิสิตฺวา เต อิสโย สีลวนฺเต กลฺยาณธมฺเม อปพฺยามโต
กริตฺวา อติกฺกมิ ฯ อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท อฏลิโย
อุปาหนา โอโรหิตฺวา ขคฺค อฺเส ทตฺวา ฉตฺต อปณาเมตฺวา
ทฺวาเรเนว อสฺสม ปวิสิตฺวา เต อิสโย สีลวนฺเต กลฺยาณธมฺเม
อนุวาต ปฺชลิโก นมสฺสมาโน อฏฺาสิ ฯ
[๘๙๗] อถ โข ภิกฺขเว เต อิสโย สีลวนฺโต กลฺยาณธมฺมา
สกฺก เทวานมินฺท คาถาย อชฺฌภาสึสุ
คนฺโธ อิสีน จิรทกฺขิตาน
กายา จุโต คจฺฉติ มาลุเตน
อิโต ปฏิกฺกมฺม สหสฺสเนตฺต
คนฺโธ อิสีน อสุจิ เทวราชาติ ฯ
[๘๙๘] คนฺโธ อิสีน จิรทกฺขิตาน
กายา จุโต คจฺฉติ ๒ มาลุเตน
สุจิตฺรปุปฺผ สิรสฺมึว มาล
คนฺธ เอต ปฏิกงฺขาม ภนฺเต
น เหตฺถ เทวา ปฏิกฺกูลสฺิโนติ ฯ

******************

๑ โป. ม. ปฏลิโย ฯ ๒ โป. ม. ยุ. คจฺฉตุ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาอารัญญกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอารัญญกสูตรที่ ๙ ต่อไปนี้ :-
บทว่า ปณฺณกุฏีสุ สมฺมนฺติ ความว่า ฤาษีทั้งหลายอาศัยอยู่ ใน
บรรณศาลา สมบูรณ์ด้วยที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน และที่จงกรมเป็นต้น
ในราวป่า อันน่ารื่นรมย์ในหิมวันตประเทศ. เทพทั้งสองเหล่านั้นคือ ท้าวสักกะ
จอมเทพและท้าวเวปจิตติเป็นลูกเขยพ่อตากัน บางครั้งก็ทะเลาะกัน บางครั้งก็
เที่ยวไปด้วยกัน แต่ในครั้งนี้เที่ยวไปด้วยกัน. บทว่า อฏลิโย ได้แก่ รองเท้า
หนาหลายชั้น. บทว่า ขคฺคํ โอลคฺเคตฺวา ได้แก่ สะพายดาบ. บทว่า
ฉตฺเตน ได้แก่ กั้นเศวตฉัตรทิพย์ไว้เบื้องสูง. บทว่า อปพฺยามโต กริตฺวา
แปลว่า ห่างไม่ถึงวา. บทว่า จิรทกฺขิตานํ แปลว่า ประพฤติพรตมานาน.
ฤาษีทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงถอยไปเสียจากนี้ จงเว้น เสียจากที่นี้ อย่ายืนเหนือ
ลม. บทว่า น เหตฺถ เทวา ความว่า พวกเทวดาหามีความสำคัญในกลิ่นของ
ผู้มีศีลนี้ว่า ปฏิกูลไม่. ท่านแสดงไว้ว่า ก็พวกเทวดามีความสำคัญในกลิ่น
ของผู้มีศีลว่า น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจทั้งนั้น.
จบอรรถกถาอารัญยกสูตรที่ ๙

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!