15-249 เรื่องยอดธง



พระไตรปิฎก


๓. ธชัคคสูตร
ว่าด้วยเรื่องยอดธง
[๘๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
[๘๖๔] พระผู้มีพระภาคจึงได้ ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน
ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับเทพชั้นดาวดึงส์ว่า
‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพอง
สยองเกล้า จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทพผู้ไปในสงคราม สมัยนั้น พวกท่านพึงแลดูยอด
ธงของเรา เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่ ความกลัว ความหวาด
สะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของเรา ทีนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าว
ปชาบดีเทวราชเถิด เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่
ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้น พวกท่านก็พึงแลดู
ยอดธงของท้าววรุณเทวราชเถิด เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าววรุณ-
เทวราชอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้น
ก็จักหายไป
ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช ทีนั้น พวกท่านพึงแลดู
ยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าว-
อีสานเทวราชอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า
ที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
เมื่อพวกเทพแลดูยอดธงของท้าวสักกะจอมเทพก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชา-
บดีเทวราชก็ดี แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสาน-
เทวราชก็ดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า ที่จักเกิดขึ้น
พึงหายไปบ้าง ไม่หายไปบ้าง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า ท้าวสักกะจอมเทพยังไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ
ไม่ปราศจากโมหะ เป็นผู้มีความกลัว มีความหวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่
[๘๖๕] ภิกษุทั้งหลาย ส่วนเรากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย หากว่าความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า พึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้อยู่ในป่า
อยู่ที่โคนไม้ หรืออยู่ในเรือนว่าง ทีนั้น พวกเธอพึงระลึกถึงเราเนือง ๆ เท่านั้นว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วย
พระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกผู้ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค A ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอระลึก
ถึงเราเนือง ๆ อยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า
ที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
ถ้าพวกเธอไม่ระลึกถึงเราเนือง ๆ ทีนั้น พวกเธอพึงระลึกถึงพระธรรมเนือง ๆ
ว่าพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้
เฉพาะตน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอระลึกถึงพระธรรมอยู่เนือง ๆ ความกลัว
ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
ถ้าพวกเธอไม่ระลึกถึงพระธรรมเนือง ๆ ทีนั้น พวกเธอพึงระลึกถึงพระสงฆ์
เนือง ๆ ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติ
ถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของ
พระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่
ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก เพราะว่า เมื่อพวก
เธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่เนือง ๆ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพอง
สยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจาก
โทสะ ปราศจากโมหะ เป็นผู้ไม่มีความกลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป”
[๘๖๖] พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี
อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด
ความกลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย
ถ้าเธอทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน
ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรม
ซึ่งเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว
ถ้าเธอทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม
ซึ่งเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว
ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์
ผู้เป็นนาบุญ ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึง
พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อยู่
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย
ธชัคคสูตรที่ ๓ จบ
เชิงอรรถ
A พระพุทธคุณ ๙ บทนี้ แต่ละบทมีอรรถอเนกประการ คือ
๑. ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะห่างไกลจากกิเลส, เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลส, เพราะหักซี่กำแห่งสังสาระ
คือการเวียนว่ายตายเกิด, เพราะเป็นผู้ควรรับไทยธรรม, เพราะไม่ทำบาปในที่ลับ
๒. ชื่อว่าตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง
๓. ชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ วิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ และวิชชา ๘ วิชชา ๓ คือ
(๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ระลึกชาติได้ (๒) จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติ (๓) อาสวักขย-
ญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ วิชชา ๘ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ ญาณที่เป็นวิปัสสนา (๒) มโนมยิทธิ
มีฤทธิ์ทางใจ (๓) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ (๔) ทิพพโสต หูทิพย์ (๕) เจโตปริยญาณ กำหนดรู้จิตผู้อื่น
ได้ (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ระลึกชาติได้ (๗) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ หรือเรียกจุตูปปาตญาณ
(๘) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ
จรณะ ๑๕ คือ (๑) สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล (๒) อินทรียสังวร ความสำรวมอินทรีย์
(๓) โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค (๔) ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบ
ความเพียรเป็นเครื่องตื่น (๕) มีศรัทธา (๖) มีหิริ (๗) มีโอตตัปปะ (๘) เป็นพหูสูต (๙) วิริยารัมภะ
ปรารภความเพียร (๑๐) มีสติมั่นคง (๑๑) มีปัญญา (๑๒) ปฐมฌาน (๑๓) ทุติยฌาน (๑๔) ตติยฌาน
(๑๕) จตุตถฌาน
๔. ชื่อว่าผู้เสด็จไปดี เพราะทรงดำเนินรุดหน้าไปไม่หวนกลับคืนมาหากิเลสที่ทรงละได้แล้ว
๕. ชื่อว่าผู้รู้แจ้งโลก เพราะทรงรู้แจ้งโลก เหตุเกิดแห่งโลก ความดับโลก วิธีปฏิบัติให้ลุถึงความดับโลก
(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค) และทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓ คือ สังขารโลก สัตว์โลก และโอกาสโลก
๖. ชื่อว่าสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะทรงฝึกผู้ที่ควรฝึกฝน ทั้งเทวดา มนุษย์ อมนุษย์
สัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอุบายต่าง ๆ
๗. ชื่อว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะทรงสั่งสอนทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วย
ประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ผู้ปฏิบัติตามแล้วสำเร็จมรรคผลในโลกนี้บ้าง จุติไปเกิดใน
สวรรค์กลับมาฟังธรรมแล้วสำเร็จมรรคผลบ้าง ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ให้พ้นความกันดารคือความเกิด
๘. ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมด ด้วยพระองค์เองและทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
๙. ชื่อว่าเป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ (๑) ทรงมีโชค (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส (๓) ทรงประกอบด้วย
ราคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน โลกุตตรธรรม ยศ สิริ ความสำเร็จประโยชน์
ตามต้องการ และความเพียร) (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม (๕) ทรงเสพอริยธรรม (๖) ทรงคลายตัณหา
ในภพทั้ง ๓ (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย ๔
เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑๑๕-๑๑๘,สารตฺถ. ฏีกา ๑/๒๗๐-๔๐๐)
อนึ่ง พระพุทธคุณนี้ ท่านแบ่งเป็น ๑๐ ประการ โดยแยกข้อ ๖ เป็น ๒ ประการ คือ (๑) เป็นผู้ยอดเยี่ยม
(๒) เป็นสารถีฝึกผู้ควรฝึกได้ (วิ.อ. ๑/๑/๑๑๒-๑๑๓, วิสุทธิ. ๑/๒๖๕)

บาลี



ธชคฺคสุตฺต
[๘๖๓] เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส
อาราเม ฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ
ภิกฺขโวติ ฯ ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ฯ
[๘๖๔] ภควา เอตทโวจ ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว เทวาสุรสงฺคาโม
สมุปพฺยูโฬฺห อโหสิ ฯ อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท
เทเว ตาวตึเส อามนฺเตสิ สเจ มาริสา เทวาน สงฺคามคตาน
อุปฺปชฺเชยฺย ภย วา ฉมฺภิตตฺต วา โลมหโส วา มเมว ตสฺมึ
สมเย ธชคฺค อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ มมฺหิ โว ธชคฺค อุลฺโลกยต
ยมฺภวิสฺสติ ภย วา ฉมฺภิตตฺต วา โลมหโส วา โส ปหียิสฺสติ ฯ
โน เจ เม ธชคฺค อุลฺโลเกยฺยาถ อถ ปชาปติสฺส เทวราชสฺส
ธชคฺค อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ ปชาปติสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺค
อุลฺโลกยต ยมฺภวิสฺสติ ภย วา ฉมฺภิตตฺต วา โลมหโส วา โส
ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ ปชาปติสฺส เทวราชสฺส ธชคฺค อุลฺโลเกยฺยาถ
อถ วรุณสฺส เทวราชสฺส ธชคฺค อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ วรุณสฺส หิ โว
เทวราชสฺส ธชคฺค อุลฺโลกยต ยมฺภวิสฺสติ ภย วา ฉมฺภิตตฺต วา
โลมหโส วา โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ วรุณสฺส เทวราชสฺส ธชคฺค
อุลฺโลเกยฺยาถ อถ อีสานสฺส เทวราชสฺส ธชคฺค อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
อีสานสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺค อุลฺโลกยต ยมฺภวิสฺสติ ภย
วา ฉมฺภิตตฺต วา โลมหโส วา โส ปหียิสฺสตีติ ฯ ต โข ปน
ภิกฺขเว สกฺกสฺส วา เทวานมินฺทสฺส ธชคฺค อุลฺโลกยต ปชาปติสฺส
วา เทวราชสฺส ธชคฺค อุลฺโลกยต วรุณสฺส วา เทวราชสฺส
ธชคฺค อุลฺโลกยต อีสานสฺส วา เทวราชสฺส ธชคฺค อุลฺโลกยต
ยมฺภวิสฺสติ ภย วา ฉมฺภิตตฺต วา โลมหโส วา โส ปหีเยถาปิ
โนปิ ปหีเยถ ต กิสฺส เหตุ สกฺโก หิ ภิกฺขเว เทวานมินฺโท
อวีตราโค อวีตโทโส อวีตโมโห ภีรุ ฉมฺภี อุตฺราสี ปลายีติ ฯ
[๘๖๕] อหฺจ โข ภิกฺขเว เอว วทามิ สเจ ตุมฺหาก
ภิกฺขเว อรฺคตาน วา รุกฺขมูลคตาน วา สุฺาคารคตาน วา
อุปฺปชฺเชยฺย ภย วา ฉมฺภิตตฺต วา โลมหโส วา มเมว ตสฺมึ
สมเย อนุสฺสเรยฺยาถ อิติปิ โส ภควา อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
สตฺถา เทวมนุสฺสาน พุทฺโธ ภควาติ ฯ มม หิ โว ภิกฺขเวฤ
อนุสฺสรต ยมฺภวิสฺสติ ภย วา ฉมฺภิตตฺต วา โลมหโส วา โส
ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ ม อนุสฺสเรยฺยาถ อถ ธมฺม อนุสฺสเรยฺยาถ
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก
โอปนยิโก ปจฺจตฺต เวทิตพฺโพ วิฺูหีติ ฯ ธมฺม หิ โว ภิกฺขเว
อนุสฺสรต ยมฺภวิสฺสติ ภย วา ฉมฺภิตตฺต วา โลมหโส วา โส
ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ ธมฺม อนุสฺสเรยฺยาถ อถ สงฺฆ อนุสฺสเรยฺยาถ
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
ายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต
สาวกสงฺโฆ ยทิท จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺ ปุริสปุคฺคลา เอส
ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อฺชลิกรณีโย
อนุตฺตร ปุฺกฺเขตฺต โลกสฺสาติ ฯ สงฺฆ หิ โว ภิกฺขเว
อนุสฺสรต ยมฺภวิสฺสติ ภย วา ฉมฺภิตตฺต วา โลมหโส วา โส
ปหียิสฺสติ ต กิสฺส เหตุ ตถาคโต หิ ภิกฺขเว อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ
วีตราโค วีตโทโส วีตโมโห อภีรุ อจฺฉมฺภี อนุตฺตราสี
อปลายีติ ฯ
[๘๖๖] อิทมโวจ ภควา อิท วตฺวาน สุคโต อถาปร
เอตทโวจ สตฺถา
อรฺเ รุกฺขมูเล วา สุฺาคาเรว ภิกฺขโว
อนุสฺสเรถ สมฺพุทฺธ ภย ตุมฺหาก โน สิยา
โน เจ พุทฺธ สเรยฺยาถ โลกเชฏฺ นราสภ
อถ ธมฺม สเรยฺยาถ นิยฺยานิก สุเทสิต
โน เจ ธมฺม สเรยฺยาถ นิยฺยานิก สุเทสิต
อถ สงฺฆ สเรยฺยาถ ปุฺกฺเขตฺต อนุตฺตร
เอว พุทฺธ สรนฺตาน ธมฺม สงฺฆฺจ ภิกฺขโว
ภย วา ฉมฺภิตตฺต วา โลมหโส น เหสฺสตีติ ฯ

******************

อรรถกถา


อรรถกถาธชัคคสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในธชัคคสูตรที่ ๓ ต่อไปนี้ :-
บทว่า สมุปพฺยุฬฺโห คือ ประชุมกัน รวมกันเป็นกอง. บทว่า
ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ความว่า ได้ยินว่า รถของท้าวสักกะยาว ๑๕๐ โยชน์
ตอนท้ายรถนั้น ๕๐ โยชน์ ตอนกลางเป็นตัวรถ ๕๐ โยชน์ ตั้งแต่ฝากถึงหัวรถ
๕๐ โยชน์. อาจารย์บางคนขยายประมาณนั้นเป็น ๒ เท่า กล่าวว่า ยาว ๓๐๐
โยชน์บ้าง. ในรถนั้นปูลาดแท่นนั่งได้โยชน์หนึ่ง ตั้งฉัตรขาวขนาด ๓ โยชน์
ไว้ข้างบน. ที่แอกอันเดียวกันเทียมม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เครื่องตกแต่งที่เหลือ
ไม่มีประมาณ. ก็ธงของรถนั้นยกขึ้น ๒๕๐ โยชน์. ธงที่ถูกลมพัดก็มีเสียงเจื้อยแจ้ว
คล้ายดุริยางค์ทั้ง ๕ ท้าวสักกะตรัสว่า พวกเธอจงดูธงนั้น. ถามว่า เพราะ
เหตุไร. ตอบว่า เพราะเมื่อเทวะเห็นธงนั้น คิดว่า พระราชาของเรามายืน
อยู่ในที่ท้ายบริษัท เหมือนเสาที่เขาปักไว้ เราไม่กลัวใคร ดังนี้ จึงไม่กลัว.
บทว่า ปชาปติสฺส ความว่า ได้ยินว่า ท้าวปชาปตินั้น มีผิวพรรณเหมือน
กับท้าวสักกะ มีอายุเท่ากันได้ที่นั่งที่ ๒. ถัดมาก็ท้าววรุณและท้าวอีสาน ก็แล
ท้าววรุณได้ที่นั่งที่ ๓ ท้าวอีสานได้ที่นั่งที่ ๔. บทว่า ปลายิ ความว่า แพ้
พวกอสูรแล้วยืนที่รถนั้น หรือเห็นธงแม้มีประมาณน้อยก็มีความหนีไปเป็น
ธรรมดา.
บทว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น มีเนื้อความพิสดารแล้วในคัมภีร์
วิสุทธิมรรค บทว่า อิทมโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธชัคค-
ปริตนี้. อานุภาพของปริตรใดย่อมเป็นไปในอาณาเขต คือ ในแสนโกฏิจักรวาล.
จริงอยู่ บุคคลทั้งหลายนึกถึงปริตรนี้ย่อมพ้นจากทุกข์ มียักขภัยและโจรภัยเป็นต้น
ไม่มีจำนวนสิ้นสุด. ความสงบจากทุกข์อื่นจงยกไว้. จริงอยู่ ผู้มีจิตเลื่อมใส
แล้วนึกถึงปริตรนี้ย่อมไดที่พึ่งแม้ในอากาศ. ในข้อนั้น มีเรื่องดังนี้.
ได้ยินว่า เมื่อเขากำลังฉาบปูนขาวที่ทีฆวาปีเจดีย์ ชายหนุ่มคนหนึ่ง
ตกจากเชิงเวทีชั้นบนลงมาในโพรงพระเจดีย์. ภิกษุสงฆ์ยืนอยู่ข้างล่าง จึง
กล่าวว่า นึกถึงธชัคคปริตซิคุณ. เขาตกใจ กลัวตาย จึงกล่าวว่า ธชัคคปริตร
ช่วยผมด้วย ดังนี้. อิฐ ๒ ก้อนหลุดจากโพรงเจดีย์ตั้งเป็นบันไดให้เขาทันที.
คนทั้งหลายก็หย่อนบันไดเถาวัลย์ที่อยู่ข้างบน. อิฐที่บันไดนั้น ก็ตั้งอยู่ตามเดิม.
จบอรรถกถาธชัคคสูตรที่ ๓

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!