15-247 สุวีรเทพบุตร



พระไตรปิฎก


๑. สุวีรสูตร
ว่าด้วยสุวีรเทพบุตร
[๘๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมา
ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
[๘๔๘] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกอสูรได้รบกับพวกเทพ ครั้งนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งเรียกสุวีรเทพบุตรมาตรัสว่า ‘สุวีระ พวกอสูรเหล่านี้กำลัง
พากันมารบกับพวกเทพ ท่านจงไปป้องกันพวกอสูรไว้เถิด’ สุวีรเทพบุตรรับพระบัญชา
ของท้าวสักกะจอมเทพแล้วก็เผลอลืมเสีย
แม้ครั้งที่ ๒ ท้าวสักกะจอมเทพก็รับสั่งเรียกสุวีรเทพบุตรมาตรัสว่า ‘สุวีระ
พวกอสูรเหล่านั้นกำลังพากันมารบกับพวกเทพ ท่านจงไปป้องกันพวกอสูรไว้เถิด’
แม้ครั้งที่ ๒ สุวีรเทพบุตรรับพระบัญชาของท้าวสักกะจอมเทพแล้วก็เผลอลืมเสีย
แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวสักกะจอมเทพก็รับสั่งเรียกสุวีรเทพบุตรมาตรัสว่า ‘สุวีระ
พวกอสูรเหล่านั้นกำลังพากันมารบกับพวกเทพ ท่านจงไปป้องกันพวกอสูรไว้เถิด’
แม้ครั้งที่ ๓ สุวีรเทพบุตรรับพระบัญชาของท้าวสักกะจอมเทพแล้วก็เผลอลืมเสีย
[๘๔๙] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ตรัสกับสุวีรเทพบุตรด้วยคาถาว่า
บุคคลไม่ขยัน ไม่พยายาม
แต่ประสบความสุขได้ ณ ที่ใด
สุวีระ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
[๘๕๐] สุวีรเทพบุตรกราบทูลว่า
บุคคลผู้เกียจคร้าน ไม่ขยัน
ทั้งยังไม่ใช้ใคร ๆ ให้ช่วยทำกิจทั้งหลาย
เขาพรั่งพร้อมด้วยกามทุกอย่าง ข้าแต่ท้าวสักกะ
ขอพระองค์จงตรัสบอกฐานะอันประเสริฐนั้น
แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
[๘๕๑] ท้าวสักกะตรัสตอบว่า
บุคคลผู้เกียจคร้าน ไม่ขยัน
ประสบความสุขที่สุดได้ ณ ที่ใด
สุวีระ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
[๘๕๒] สุวีรเทพบุตรกราบทูลว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะ ผู้ประเสริฐกว่าเทพ
ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงได้ความสุขใด
โดยไม่ต้องทำการงาน ข้าแต่ท้าวสักกะ
ขอพระองค์จงตรัสบอกความสุขอันประเสริฐนั้น
ที่ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีความคับแค้นใจ
แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด
[๘๕๓] ท้าวสักกะตรัสว่า
ถ้าความสุขจะมีได้โดยไม่ต้องทำการงาน
ไม่ว่าในที่ไหน ๆ ใคร ๆ ก็ดำรงชีพอยู่ไม่ได้
เพราะนั่นเป็นทางแห่งนิพพาน
สุวีระ ท่านจงไป ณ ที่นั้น
และจงพาเราไปให้ถึงที่นั้นด้วยเถิด
[๘๕๔] ภิกษุทั้งหลาย ก็ท้าวสักกะจอมเทพนั้นอาศัยผลบุญของพระองค์เป็นอยู่ เสวย
ราชสมบัติอันมีความเป็นใหญ่ยิ่งด้วยความเป็นใหญ่แห่งเทพชั้นดาวดึงส์ ยังมา
พรรณนาคุณแห่งความเพียรคือความขยันได้ ข้อที่พวกเธอบวชในธรรมวินัยที่เรา
กล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ ขยันหมั่นเพียร พยายามเพื่อบรรลุมรรคผลที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อได้มรรคผลที่ยังไม่ได้ เพื่อทำให้แจ้งมรรคผลที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง นี้จะพึงงดงาม
ในธรรมวินัยนี้โดยแท้”
สุวีรสูตรที่ ๑ จบ

บาลี



สุวีรสุตฺต
[๘๔๗] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ
เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู
อามนฺเตสิ ภิกฺขโวติ ฯ ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ฯ
[๘๔๘] ภควา เอตทโวจ ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว อสุรา เทเว
อภิยสุ ฯ อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท สุวีร เทวปุตฺต
อามนฺเตสิ เอเต ตาต สุวีร อสุรา เทเว อภิยนฺติ คจฺฉ ตาต
สุวีร อสุเร ปจฺจุยฺยาหีติ ฯ เอว ภทฺทนฺตวาติ โข ภิกฺขเว สุวีโร
เทวปุตฺโต สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส ปฏิสฺสุตฺวา ปมาท อาปาเทสิ ฯ
ทุติยมฺปิ โข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท สุวีร เทวปุตฺต อามนฺเตสิ
เอเต ตาต สุวีร อสุรา เทเว อภิยนฺติ คจฺฉ ตาต สุวีร อสุเร
ปจฺจุยฺยาหีติ ฯ เอว ภทฺทนฺตวาติ โข ภิกฺขเว สุวีโร เทวปุตฺโต
สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส ปฏิสฺสุตฺวา ทุติยมฺปิ ปมาท อาปาเทสิ ฯ
ตติยมฺปิ โข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท สุวีร เทวปุตฺต อามนฺเตสิ
เอเต ตาต สุวีร อสุรา เทเว อภิยนฺติ คจฺฉ ตาต สุวีร อสุเร
ปจฺจุยฺยาหีติ ฯ เอว ภทฺทนฺตวาติ โข ภิกฺขเว สุวีโร เทวปุตฺโตฝ
สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส ปฏิสฺสุตฺวา ตติยมฺปิ ปมาท อาปาเทสิ ฯ
[๘๔๙] อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท สุวีร เทวปุตฺต
คาถาย อชฺฌภาสิ
อนุฏฺห อวายาม สุข ยตฺราธิคจฺฉติ
สุวีร ตตฺถ คจฺฉาหิ มฺจ ตตฺเถว ปาปยาติ ฯ
[๘๕๐] อลสฺวาย ๑ อนุฏฺาตา น จ กิจฺจานิ การเย
สพฺพกามสมิทฺธสฺส ตมฺเม สกฺก วร ทิสาติ ฯ
[๘๕๑] ยตฺถาลโส อนุฏฺาตา อจฺจนฺตสุขเมธติ
สุวีร ตตฺถ คจฺฉาหิ มฺจ ตตฺเถว ปาปยาติ ฯ
[๘๕๒] อกมฺมุนา เทวเสฏฺ สกฺก วินฺเทมุ ย สุข
อโสก อนุปายาส ตมฺเม สกฺก วร ทิสาติ ฯ
[๘๕๓] สเจ อตฺถิ อกมฺเมน โกจิ กฺวจิ น ชีวติ
นิพฺพานสฺส หิ โส มคฺโค สุวีร ตตฺถ คจฺฉาหิ
…………….. มฺจ ตตฺเถว ปาปยาติ ฯ
[๘๕๔] โส หิ นาม ภิกฺขเว สกฺโก เทวานมินฺโท สก ปุฺผล
อุปชีวมาโน เทวาน ตาวตึสาน อิสฺสริยาธิปจฺจ รชฺช กาเรนฺโต ๒
อุฏฺานวิริยสฺส วณฺณวาที ภวิสฺสติ ฯ อิธ เขฺวต ภิกฺขเว โสเภถ
ย ตุเมฺห เอว สฺวากฺขาเต ธมฺมวินเย ปพฺพชิตา สมานา
อุฏฺเหยฺยาถ ฆเฏยฺยาถ วายเมยฺยาถ อปฺปตฺตสฺส ปตฺติยา อนธิคตสฺส
อธิคมาย อสจฺฉิกตสฺส สจฺฉิกิริยายาติ ฯ

******************

๑ ม. อลสวสฺส ฯ ยุ. อลสสฺส ฯ ๒ ยุ. กโรนฺโต ฯ เอว สพฺพตฺถ าตพฺพ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาสุวีรสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสุวีรสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๑ ต่อไปนี้ :-
บทว่า อภิยํสุ คือ เตรียมไปต่อสู้. มีกำลังเมื่อใด ในสูตรนั้นมี
อนุบุพพิกถา ดังนี้ ได้ยินว่า ท้าวสักกะเป็นมาณพชื่อ มฆะ ในอจลคามใน
แคว้นมคธ พาบุรุษ ๓๐ คน ทำกัลยาณกรรมบำเพ็ญวัตรบท ๗ ทำกาละใน
ที่นั้นแล้วไปเกิดในเทวโลก. เทวดาพวกเก่าเจ้าถิ่นเห็นมฆมาณพนั้นพร้อมด้วย
บริษัท ประกอบไปด้วยฐานะ ๑๐ ด้วยอานุภาพแห่งกรรมอันแรงกล้า คิดว่า
เทวบุตรผู้เป็นอาคันตุกะมาแล้ว จึงเตรียมน้ำคันธบานเพื่อดื่ม. ท้าวสักกะได้
ให้คำเตือนแก่บริษัทบริวารของตนว่า ดูก่อนผู้นิรทุกข์ อย่าดื่มน้ำคันธบาน
จงแสดงเพียงอาการดื่มเท่านั้น. พวกเขาได้ทำอย่างนั้น. เทวบุตรเจ้าถิ่นดื่มน้ำ
คันธบานที่เข้านำเข้าไปให้ด้วยจอกทองตามต้องการ เมาล้มลงนอนอยู่บนแผ่นดิน
ทองนั้น ๆ. ท้าวสักกะกล่าวว่า จงจับพร้อมทั้งแม่ทั้งลูกไปดังนี้แล้ว จับที่เท้า
ขว้างไปที่เชิงภูเขาสิเนรุ. เทวบุตรทั้งปวงแม้ยังเป็นอยู่อย่างนั้น ก็ไปตกลงใน
ที่นั้น ด้วยเดชแห่งบุญของท้าวสักกะ. เทวบุตรเหล่านั้นได้ความรู้สึกตัวใน
เวลาที่อยู่กลางภูเขาสิเนรุ จึงกล่าวว่า พวกเราไม่ดื่มสุราละพ่อ. จำเดิมแต่นั้น
จึงได้ชื่อว่า อสูร. ภายหลังแดนอสุรมีประมาณหมื่นโยชน์ ซึ่งตั้งขึ้นตามฤดู.
เพราะปัจจัยแห่งกรรมของพวกเขา ก็เกิดขึ้นในพื้นภายใต้แห่งภูเขาสิเนรุ.
ท้าวสักกะตั้งอารักขาเพื่อต้องการไม่ให้เทวบุตรเหล่านั้นกลับมา. ท่านกล่าว
หมายความว่า
การคุ้มครองรักษา อย่าง ตั้งอยู่
ในระหว่างเมืองที่ไม่มีใครรบได้ทั้งสอง
คือ นาค ครุฑ กุมภัณฑ์ ยักษ์และ
มหาราชทั้ง ๔.
จริงอยู่ เมืองทั้งสองคือ เทวนครและอสุรนคร ชื่อว่า เป็นเมืองที่
ไม่มีใครรบได้ ก็เพราะเป็นเมืองที่ไม่อาจถูกยึดเอาด้วยการรบ ก็แล คราวใด
พวกอสุรมีกำลัง คราวนั้น เมื่อประตูถูกพวกเทวดาหนีเข้าไปสู่เมืองและปิดเสีย
แล้ว แม้พวกอสูรตั้งแสนก็ไม่อาจจะทำอะไรได้. คราวใด พวกเทวดามีกำลัง
คราวนั้น เมื่อประตูถูกพวกอสูรหนีเข้าไป ปิดเสียแล้ว แม้พวกท้าวสักกะ
ตั้งแสนก็ไม่อาจจะทำอะไรได้. เมืองทั้ง ๒ นี้ จึงชื่อว่า กรุงอยุธยา ด้วย
ประการฉะนี้.
ท้าวสักกะตั้งอารักขาไว้ในที่ ๕ แห่ง มีนาคเป็นต้นนี้ ระหว่างเมืองทั้ง
๒ นั้น ในสถานที่ ๕ แห่ง. ในที่นั้น พวกนาค ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า น้ำ.
จริงอยู่ พวกนาคนั้นมีกำลังอยู่ในน้ำ. การป้องกันของพุวกนาคนั้นอยู่ที่แนวที่ ๑
แห่งภูเขาสิเนรุนั้น พวกครุฑถือเอาด้วยศัพท์ว่า กโรฏิ. ได้ยินว่า น้ำและข้าว
ของพวกครุฑนั้นชื่อ กโรฏิ. พวกครุฑได้ชื่อตามน้ำและข้าวนั้น. การป้องกัน
ของพวกครุฑนั้นอยู่ทีแนวที่ ๒. พวกกุมภัณฑ์ถือเอาด้วยศัพท์ว่า ปยสฺสุกริ.
ได้ยินว่า พวกกุมภัณฑ์นั้นเป็นพวกทานพและรากษส. การป้องกันของพวกนี้อยู่ที่
แนวที่ ๓. พวกยักษ์ถือเอาด้วยศัพท์ว่า ทมนยุทธ์ . ได้ยินว่า พวกยักษ์นั้นเป็นนัก
รบกองโจร. การป้องกันของพวกยักษ์นี้อยู่ที่แนวที่ ๔. บทว่า จตุโร จ มหตฺถา
คือ มหาราชทั้ง ๔ ที่กล่าวแล้ว. การป้องกันของมหาราชเหล่านี้ อยู่ที่แนวที่ ๕.
เพราะฉะนั้น ถ้าพวกอสูรโกรธ มีใจขุ่นมัว เข้าไปบุกรุกเมืองของพวกเทวดา
ในการรบ. ที่ใด เป็นขอบเขตแรกแห่งภูเขา พวกนาคย่อมป้องกันที่นั้น. พวกอื่น
ที่ยังเหลือก็ป้องกันที่อื่นที่ยังเหลือ. ก็แล พวกอสูรนั้น เช่นเดียวกับเทวดาชั้น
ดาวดึงส์ ด้วยสมบัติคืออายุ ผิวพรรณ เกียรติยศ และความเป็นใหญ่
เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงไม่รู้ตัว ในระหว่างเมื่อดอกแคฝอยบานจึงรู้ว่า นี่ไม่ใช่
เมืองของเทวดา ดอกปาริฉัตรบานในเมืองของเทวดานั้น แต่ในที่นี้มีต้นแคฝอย
พวกเราถูกพวกสักกะแก่หลอกลวงให้ดื่มสุรา ก็แลเราจะไปยังเทวนคร
พวกเราจักยึดไว้ เราจักรบกับเทวนครนั้น ดังนี้แล้ว ขึ้นช้างม้าและรถ
จัดทองเงินแก้วมณีและแก้วผลึก เตรียมรบ ลั่นกลองอสูร แยกน้ำในมหาสมุทร
ออกเป็น ๒ ส่วน เตรียมพร้อมอยู่. พวกอสูรนั้นเริ่มขึ้นภูเขาสิเนรุ คล้าย
แมลงเม่าขึ้นจอมปลวกเมื่อฝนตก. ในเวลานั้น พวกอสูรนั้นรบกับพวกนาค
เป็นครั้งแรก. ก็ในการรบนั้น ผิวหรือหนังของใคร ๆ ไม่ขาด. เลือดก็ไม่ออก.
เป็นเพียงยังกันและกันให้ร้อน เหมือนพวกเด็กเอาแพะไม้ชนกันอย่างเดียว
เท่านั้น. พวกนาคตั้งร้อยโกฏิ พันโกฏิรบกับพวกอสูรนั้น ขับไล่พวกอสูรนั้น
ไปสู่เมืองอสูรแล้วกลับมา.
ก็เมื่อใด พวกอสูรมีกำลัง เมื่อนั้น พวกนาคก็ล่าถอยไปร่วมกับพวก
ครุฑ รบในแนวที่ ๒. แม้ในครุฑเป็นต้นกันอย่างนี้. แต่เมื่อใดพวกอสูร
เหยียบย่ำที่ทั้ง ๕ แห่งนั้นได้ เมื่อนั้น ๕ กองพล ล่าถอยลงมารวมเป็นอันเดียว
กัน ทีนั้นมหาราชทั้ง ๔ จึงไปกราบทูลความเป็นไปแก่ท้าวสักกะ. ท้าวสกักะ
ฟังคำกราบทูลของมหาราชนั้นแล้ว จึงเสด็จขึ้นเวชยันตรถ ๑๕๐ โยชน์ออก
ไปเอง หรือส่งพระโอรสองค์หนึ่งไป. ก็แลในเวลานั้น ท้าวสักกะผู้ต้องการ
จะส่งพระโอรสไป จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ดูก่อนพ่อสุวีระ ดังนี้.
บทว่า เอวํ ภทฺทนฺตวาติ โข ความว่า (สุวีรเทวบุตรกล่าวว่า)
ได้พระเจ้าข้า ดังนี้แล. บทว่า ปมาทํ อาปาเทสิ แปลว่า ได้ทำความ
ประมาท. อธิบายว่า สุวีรเทวบุตรมีนางอัปสรพันหนึ่งแวดล้อม ลงสู่ถนนใหญ่
สำเร็จด้วยทองยาว ๖๐ โยชน์ เที่ยวเล่นนักษัตรอยู่ในสวนนันทนวันเป็นต้น.
บทว่า อนุฏฺฐหํ แปลว่า ไม่ขยัน. บทว่า อวายามํ แปลว่า ไม่พยายาม.
บทว่า อลสฺวายํ ตัดบทว่า อลโส อยํ แปลว่า นี้ เกียจคร้าน. บทว่า
น จ กิจฺจานิ การเย แปลว่า ไม่กระทำกิจอะไร ๆ. บทว่า สพฺพกาม-
สมิทฺธสฺส แปลว่า พึงเป็นผู้สำเร็จด้วยกามคุณทั้งปวง. บทว่า ตมฺเม สกฺก
วรํ ทิส ความว่า สุวีรเทวบุตรกล่าวว่า ข้าแต่ท้าวสักกะผู้ประเสริฐสุดของ
พวกเทวะ โปรดแจ้ง คือ บอกกล่าวซึ่งสิ่งประเสริฐ คือฐานะอันสูงสุด โอกาส
นั้นแก่ข้าพเจ้า. บทว่า นิพฺพานสฺส หิ โส มคฺโค ความว่า ทางแห่ง
นิพพาน ชื่อว่า ฐานะที่ไม่ทำกรรมเป็นอยู่.
จบอรรถกถาสุวีรสูตรที่ ๑

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!