15-243 สุกกาภิกษุณี สูตรที่ 1



พระไตรปิฎก


๙. ปฐมสุกกาสูตร
ว่าด้วยสุกกาภิกษุณี สูตรที่ ๑
[๘๓๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ภิกษุณีชื่อสุกกามีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อม
แสดงธรรมอยู่
[๘๓๓] ครั้งนั้น ยักษ์ผู้เลื่อมใสอย่างยิ่งในสุกกาภิกษุณี จากถนนนี้ไปยัง
ถนนโน้น จากตรอกนี้ไปยังตรอกโน้น ในกรุงราชคฤห์
ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
พวกมนุษย์ในกรุงราชคฤห์เหล่านี้
ทำอะไรกัน มัวดื่มน้ำผึ้ง นอนอยู่
ไม่เข้าไปนั่งใกล้สุกกาภิกษุณีผู้แสดงอมตบทอยู่
ส่วนพวกคนที่มีปัญญา เข้าใจดื่มอมตบทนั้น
ซึ่งเป็นธรรมไม่นำกลับหลัง ทำผู้ฟังให้ชุ่มชื่น
มีโอชะ ดุจบุคคลเดินทางไกลดื่มน้ำฝน A
ปฐมสุกกาสูตรที่ ๙ จบ
เชิงอรรถ
A ดู ขุ.เถรี. (แปล) ๒๖/๕๔-๕๕/๕๖๓-๕๖๔

บาลี



ปมสุกฺกาสุตฺต
[๘๓๒] เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป ฯ
เตน โข ปน สมเยน สุกฺกา ภิกฺขุนี มหติยา ปริสาย
ปริวุตา ธมฺม เทเสติ ฯ
[๘๓๓] อถ โข สุกฺกาย ภิกฺขุนิยา อภิปฺปสนฺโน ยกฺโข ราชคเห
รถิกาย รถิก สิงฺฆาฏเกน สิงฺฆาฏก อุปสงฺกมิตฺวา ตาย เวลาย=
อิมา คาถาโย อภาสิ
กิมฺเม กตา ราชคเห มนุสฺสา มธุปิตาว เสยเร ๑
เย สุกฺก น ปยิรุปาสนฺติ เทเสนฺตึ อมต ปท
ตฺจ ปน อปฺปฏิวานิย อเสจนกโมชว
ปิวนฺติ มฺเ สปฺปฺา วลาหกมิว ปนฺถคูติ ฯ

******************

๑ อจฺฉเร ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาปฐมสุกกาสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสุกกาสูตรที่ ๙ ต่อไปนี้ :-
บทว่า รถิกาย รถิกํ ความว่า เมื่อถือเอาถนนสายหนึ่ง ไปจาก
ถนนสายนั้น ยังถนนอีกสายหนึ่ง ได้ชื่อว่า จากถนนหนึ่งเข้าไปหาถนนหนึ่ง.
แม้ในตรอก ก็มีนัยนี้แล. ก็บทว่า รถิกา ในบทว่า รถิกาย นี้ แปลว่า
ถนน. บทว่า สิงฺฆาฏกํ แปลว่า ทางสี่แพร่ง. บทว่า กิมฺเม กตา ความว่า
มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ทำอะไรกัน คือทำอะไรอยู่. บทว่า มธุปิตาว เสยเร
ความว่า ย่อมนอนเหมือนดื่มน้ำผึ้งมีกลิ่นหอม. นัยว่า คนดื่มน้ำผึ้งมีกลิ่นหอม
ไม่สามารถจะยกศรีษะขึ้นได้ นอนไม่รู้สึกเลย เพราะฉะนั้น ยักษ์จึงกล่าวอย่างนี้.
บทว่า ตญฺจ ปน อปฺปฏิวานียํ ความว่า ก็แล สุกกาภิกษุณี
แสดงธรรมนั้น ใครจะคัดค้านไม่ได้. แท้จริง โภชนะข้างนอก แม้จะอร่อยจริง
แต่ย่อมไม่ชอบใจแก่คนที่บริโภคบ่อย ๆ พึงถูกห้าม คือ พึงถูกนำออกด้วย
คำว่า ท่าน จงนำไปเถิด ประโยชน์อะไรด้วยโภชนะนี้เล่า ธรรมนี้หาเป็น
อย่างนั้นไม่. แท้จริง บัณฑิตทั้งหลายเมื่อฟังธรรมนี้ ตลอดร้อยปีบ้าง พันปีบ้าง
ก็ยังไม่อิ่มเลย เพราะเหตุนั้น ยักษ์จึงกล่าวว่า ใครจะคัดค้านไม่ได้. บท
อเสจนกโมชวํ ได้แก่มีโอชาซึ่งไม่ได้ปรุงแต่ง เหมือนอย่างว่า แม้ข้าวปายาส
ไม่เจือปนสิ่งภายนอกเป็นต้น แต่เอาเนยใส น้ำผึ้งและน้ำตาลกรวดใส่ลงระคนให้
เข้ากันแล้ว ย่อมมีโอชารสอร่อยฉันใด ธรรมนี้หาเป็นฉันนั้นไม่. ก็ธรรมนี้
เป็นธรรมไพเราะและมีโอชาตามธรรมดาของตน จะเอาสิ่งอื่นมาใส่เข้าไป
ก็หามิได้ เพราะเหตุนั้น ยักษ์จึงกล่าวว่า มีโอชาโดยไม่ได้ปรุงแต่ง บทว่า
มญฺเ สปฺปญฺา ความว่า เหมือนบุรุษผู้เป็นบัณฑิตดื่มอยู่. บทว่า
วลาหกมิว ปนฺถคู ความว่า เหมือนคนเดินทางฤดูร้อนจัด ดื่มน้ำไหลจาก
กลีบเมฆ ฉะนั้น.
จบอรรถกถาปฐมสุกกาสูตรที่ ๙

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!