15-214 พระสารีบุตร
พระไตรปิฎก
๖. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยพระสารีบุตร
[๗๔๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลาย
เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจ
ให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมือง ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้
ความหมายได้ ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วย
ความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่
[๗๔๒] ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้มีความคิดดังนี้ว่า “ท่านพระสารีบุตรนี้ชี้แจงให้
ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา ด้วยวาจาชาวเมือง ที่สละสลวย ไม่หยาบคาย
ให้รู้ความหมายได้ ส่วนภิกษุเหล่านั้นต่างก็ใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วย
ความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่ ทางที่ดีเราควรสรรเสริญท่านพระสารีบุตรด้วย
คาถาทั้งหลายอันสมควร ณ ที่เฉพาะหน้าเถิด”
ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ห่มผ้าเฉวียงบ่า ประนมมือไป
ทางที่ท่านพระสารีบุตรอยู่ ได้กล่าวกับท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “ท่านพระสารีบุตร
เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพเจ้า ท่านพระสารีบุตร เนื้อความนี้ย่อมปรากฏแก่
ข้าพเจ้า”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวกับท่านพระวังคีสะว่า “เนื้อความนั้นจงปรากฏแก่ท่านเถิด
ท่านวังคีสะ”
[๗๔๓] ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะได้สรรเสริญท่านพระสารีบุตร ด้วยคาถาทั้งหลาย
อันสมควร ณ ที่เฉพาะหน้าว่า
ท่านพระสารีบุตร เป็นนักปราชญ์
มีปัญญาลึกซึ้ง ฉลาดในทางและมิใช่ทาง
มีปัญญามาก แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
แสดงโดยย่อก็ได้ โดยพิสดารก็ได้
เสียงที่เปล่งออกไพเราะ เหมือนเสียงนกสาลิกา
ปฏิภาณก็ปรากฏ เมื่อท่านแสดงธรรมนั้นอยู่
ภิกษุทั้งหลายฟังเสียงอันไพเราะ
ก็มีจิตร่าเริงเบิกบานด้วยเสียงที่น่ายินดี
น่าฟัง ไพเราะจับใจ จึงตั้งใจฟัง A
สารีปุตตสูตรที่ ๖ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเทียบ ขุ.เถร. (แปล) ๒๖/๑๒๔๐-๑๒๔๒/๕๔๑-๕๔๒
บาลี
ฉฏฺ สารีปุตฺตสุตฺต
[๗๔๑] เอก สมย อายสฺมา สารีปุตฺโต สาวตฺถิย วิหรติ
เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺสาราเม ฯ เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา
สารีปุตฺโต ภิกฺขู ธมฺมิยา กถาย สนฺทสฺเสติ สมาทเปติ สมุตฺเตเชติ
สมฺปหเสติ โปริยา วาจาย วิสฺสฏฺาย อเนลคฬาย อตฺถสฺส
วิฺาปนิยา ฯ เต จ ภิกฺขู อฏฺิกตฺวา มนสิกตฺวา สพฺพเจตโส
สมนฺนาหริตฺวา โอหิตโสตา ธมฺม สุณนฺติ ฯ
[๗๔๒] อถ โข อายสฺมโต วงฺคีสสฺส เอตทโหสิ อย โข
อายสฺมา สารีปุตฺโต ภิกฺขู ธมฺมิยา กถาย สนฺทสฺเสติ ฯเปฯ
อตฺถสฺส วิฺาปนิยา เต จ ภิกฺขู อฏฺิกตฺวา ฯเปฯ ธมฺม
สุณนฺติ ยนฺนูนาห อายสฺมนฺต สารีปุตฺต สมฺมุขา สรูปาหิ คาถาหิ
อภิตฺถเวยฺยนฺติ ฯ อถ โข อายสฺมา วงฺคีโส อุฏฺายาสนา เอกส
อุตฺตราสงฺค กริตฺวา เยนายสฺมา สารีปุตฺโต เตนฺชลิมฺปณาเมตฺวา
อายสฺมนฺต สารีปุตฺต เอตทโวจ ปฏิภาติ ม อาวุโส สารีปุตฺต
ปฏิภาติ ม อาวุโส สารีปุตฺตาติ ฯ ปฏิภาตุ ต อาวุโส วงฺคีสาติ ฯ
[๗๔๓] อถ โข อายสฺมา วงฺคีโส อายสฺมนฺต สารีปุตฺต
สมฺมุขา สรูปาหิ คาถาหิ อภิตฺถวิ
คมฺภีรปฺโ เมธาวี มคฺคามคฺคสฺส โกวิโท
สารีปุตฺโต มหาปฺโ ธมฺม เทเสติ ภิกฺขุน
สงฺขิตฺเตนปิ เทเสติ วิตฺถาเรนปิ ภาสติ
สาลิกา วิย นิคฺโฆโส ปฏิภาณ มุทีริยิ ๑
ตสฺส ต เทสยนฺตสฺส สุณนฺติ มธุร คิร
สเรน รชนีเยน สวนีเยน วคฺคุนา
อุทคฺคจิตฺตา มุทิตา โสต โอเธนฺติ ภิกฺขโวติ ฯ
******************
๑ โป. ม. มุทีรยิ ฯ ยุ. ปฏิภาณ มุทีรยุ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาสารีปุตตสูตร
ในสารีปุตตสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โปริยา ได้แก่บริบูรณ์ด้วยอักขระและบท. บทว่า วิสฏฺฐาย
ได้แก่ อันโรคไม่เกี่ยวเกาะไม่พัวพัน. ก็เมื่อพระธรรมเสนาบดีกล่าว ย่อมมี
ถ้อยคำไม่พัวพันด้วยโรคดีเป็นต้น ย่อมเปล่งเสียง เหมือนเสียงจากกังสดาล
ที่ถูกเคาะด้วยท่อนเหล็ก. บทว่า อเนลคฬาย ได้แก่ไม่มีโทษไม่คลาดเคลื่อน
คือปราศจากโทษและมีบทพยัญชนะไม่คลาดเคลื่อน. จริงอยู่ เมื่อพระเถระพูด
บทหรือพยัญชนะไม่เสื่อมเสีย. บทว่า อตฺถสฺส วิญฺาปนิยา ได้แก่สามารถ
ทำผู้พึงให้รู้เนื้อความแจ่มแจ้ง. บทว่า ภิกฺขุนํ คือ แก่ภิกษุทั้งหลาย.
บทว่า สงฺขิตฺเตนปิ ความว่า พระสารีบุตรเถระแสดงโดยย่ออย่าง
นี้บ้างว่า อาวุโส อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ คืออะไรบ้าง คือทุกขอริยสัจ
ฯลฯ อาวุโส อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้นแหละ อาวุโส เธอพึงทำ
ความเพียรว่า นี้ทุกขอริยสัจ. บทว่า วิตฺถาเรนปิ ความว่า พระสารีบุตร
เมื่อจะจำแนกอริยสัจ ๔ เหล่านั้น จึงกล่าวแม้โดยพิสดารโดยนัยมีอาทิว่า
อาวุโส ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ดังนี้ . แม้ในเทศนาขันธ์เป็นต้นก็นัยนี้เหมือน
กัน. บทว่า สาลิกา วิย นิคฺโฆโส ความว่า เมื่อพระเถระแสดงธรรม
ย่อมมีเสียงไพเราะกังวาน เหมือนเสียงของนางนกสาลิกาที่ลิ้มมะม่วงสุกมีรสหวาน
กระพือปีกเปล่งเสียงไพเราะ. บทว่า ปฏิภาณํ มุทีริยิ ความว่า ปฏิภาณเกิด
ขึ้นไม่สิ้นสุด เหมือนลูกคลื่นเกิดจากทะเล. บทว่า โอเธนฺติ ได้แก่ภิกษุเหล่า
นั้นย่อมเงี่ยโสตสดับ.
จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๖