15-194 อัคคิกพราหมณ์
พระไตรปิฎก
๘. อัคคิกสูตร
ว่าด้วยอัคคิกพราหมณ์
[๖๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ปรุงข้าวปายาส
ด้วยเนยใสด้วยคิดว่า “เราจักบูชาไฟ จักบำเรอการบูชาไฟ”
[๖๕๓] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า
ไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ เสด็จไปบิณฑบาตตามลำดับตรอก เข้าไปถึงที่อยู่ของ
อัคคิกภารทวาชพราหมณ์แล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควร
[๖๕๔] อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับยืนบิณฑบาตอยู่
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
บุคคลผู้เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด
จบไตรเพท A เป็นพหูสูต
พราหมณ์ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะนั้น
จึงควรบริโภคข้าวปายาสนี้
[๖๕๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุคคลถึงจะเป็นพราหมณ์โดยกำเนิด
สาธยายมนตร์เป็นอันมาก แต่เป็นผู้เน่าและสกปรกภายใน
เป็นผู้แวดล้อมไปด้วยความโกหก ไม่จัดว่าเป็นพราหมณ์
มุนีผู้บรรลุอภิญญา คือรู้ปุพเพนิวาสญาณอย่างแจ่มแจ้ง
เห็นสวรรค์และอบาย ทั้งบรรลุความสิ้นชาติ B แล้ว
เพราะวิชชา ๓ เหล่านี้ จึงเป็นพราหมณ์ผู้จบไตรเพท
มุนีผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะนั้น จึงควรบริโภคข้าวปายาสนี้
อัคคิกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “พระโคดมผู้เจริญ ขอเชิญ
บริโภคเถิด พระองค์เป็นพราหมณ์”
[๖๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
การที่เรากล่าวคาถามิใช่เพื่ออาหาร
พราหมณ์ นี้ไม่ใช่ธรรมเนียมของผู้เห็นธรรม
พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่รับอาหารที่ได้มาเพราะการกล่าวคาถา
พราหมณ์ เมื่อธรรมเนียมมีอยู่ จึงมีการประพฤติอย่างนี้
ท่านจงบำรุงด้วยข้าวและน้ำ และด้วยปัจจัยอื่น
แก่พระขีณาสพ ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งปวง
ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว
เพราะศาสนานั้นเป็นเขตบุญของผู้แสวงบุญ
[๖๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระอัคคิกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
อัคคิกสูตรที่ ๘ จบ
เชิงอรรถ
A ไตรเพท ในที่นี้หมายถึงพระเวท ๓ คือ (๑) ฤคเวท (๒) ยชุรเวท (๓) สามเวท (สํ.ส.อ. ๑/๑๙๔/๒๑๙)
B ความสิ้นชาติ หมายถึงพระอรหัต (สํ.ส.อ. ๑/๑๙๔/๒๑๙)
บาลี
อคฺคิกสุตฺต
[๖๕๒] เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป ฯ
เตน โข ปน สมเยน อคฺคิกภารทฺวาชสฺส พฺราหฺมณสฺส
สปฺปินา ปายาโส สนฺนิหิโต โหติ อคฺคึ ชุหิสฺสามิ อคฺคิหุตฺต
ปริจริสฺสามีติ ฯ
[๖๕๓] อถ โข ภควา ปุพฺพณฺหสมย นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย
ราชคห ปิณฺฑาย ปาวิสิ ราชคเห สปทาน ปิณฺฑาย
จรมาโน เยน อคฺคิกภารทฺวาชสฺส พฺราหฺมณสฺส นิเวสน
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ
[๖๕๔] อทฺทสา โข อคฺคิกภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภควนฺต
ปิณฺฑาย ิต ทิสฺวาน ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
ตีหิ วิชฺชาหิ สมฺปนฺโน ชาติมา สุตวา พหู
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โสม ภฺุเชยฺย ปายสนฺติ ฯ
[๖๕๕] พหุมฺปิ ปลป ชปฺป น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ
อนฺโต กสมฺพุสงฺกฺลิฏฺโ กุหนา ปริวาริโต
ปุพฺเพนิวาส โย เวทิ สคฺคาปายฺจ ปสฺสติ
อโถ ชาติกฺขย ปตฺโต อภิฺาโวสิโต มุนิ
เอตาหิ ตีหิ วิชฺชาหิ เตวิชฺโช โหติ พฺราหฺมโณ
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โสม ภฺุเชยฺย ปายสนฺติ ฯ
ภฺุชตุ ภว โคตโม พฺราหฺมโณ ภวนฺติ ฯ
[๖๕๖] คาถาภิคีต เม อโภชเนยฺย
สมฺปสฺสต พฺราหฺมณ เนส ธมฺโม
คาถาภิคีต ปนุทนฺติ พุทฺธา
ธมฺเม สติ พฺราหฺมณ วุตฺติ เรสา
อฺเน จ เกวลิน มเหสึ
ขีณาสว กุกฺกุจฺจวูปสนฺต
อนฺเนน ปาเนน อุปฏฺหสฺสุ
เขตฺตฺหิ ต ปฺุเปกฺขสฺส โหตีติ ฯ
[๖๕๗] เอว วุตฺเต อคฺคิกภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภควนฺต
เอตทโวจ อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ
อฺตโร จ ปนายสฺมา ภารทฺวาโช อรหต อโหสีติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาอัคคิกสูตร
ในอัคคิกสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อคฺคิกภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์แม้นี้ ก็ชื่อว่าภารทวาชะ
เหมือนกัน แต่โดยที่เขาบำเรอไฟ พระสังคีติกาจารย์จึงดังชื่อเขาอย่างนั้น.
บทว่า สนฺนิหิโต ได้แก่. อันเขาปรุงอย่างดี. บทว่า อฏฺฐาสิ ความว่า
เพราะเหตุไร จึงยืนอยู่ในที่นั้น. เล่ากันมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจ
ดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นพราหมณ์นี้ ทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้ถือ
ข้าวปายาสอันเลิศเห็นปานนี้เอาไปเผาไฟ ด้วยตั้งใจจะให้มหาพรหมบริโภค
ย่อมกระทำสิ่งที่ไร้ผล ก้าวลงสู่ทางอบาย เมื่อไม่ละลัทธินี้ ก็จักทำอบายให้เต็ม
จำเราจักไปทำลายทิฎฐิของเขาด้วยธรรมเทศนาแล้วให้บรรพชา ให้มรรค ๔
ผล ๔ แก่เขา เพราะฉะนั้น ในเวลาเช้า จึงเสด็จเข้ากรุงราชคฤห์ ได้ประทับ
ยืนอยู่ ณ ที่นั้น.
บทว่า ตีหิ วิชฺชาหิ ได้แก่ ด้วยเวท ๓. บทว่า ชาติมา ความว่า
ประกอบด้วยชาติที่บริสุทธิ์ ๗ ชั่วโคตร. บทว่า สุตวา พหู ความว่า ฟัง
คัมภีร์ต่างๆ เป็นอันมาก. บทว่า โสมํ ภุญฺเชยฺย ความว่า พราหมณ์กล่าวว่า
พราหมณ์นั้นได้วิชชา ๓ ควรบริโภคข้าวปายาสนี้ แต่ข้าวปายาสนี้ไม่ควรแก่
พระองค์.
บทว่า เวทิ ความว่า รู้ คือแทงตลอดด้วยบุพเพนิวาสญาณ. บทว่า
สคฺคาปายํ ได้แก่ เห็นทั้งสวรรค์ทั้งอบายด้วยทิพยจักษุ. บทว่า ชาติกฺขยํ
ได้แก่พระอรหัต. บทว่า อภิญฺาโวสิโต ความว่า ผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
เพราะรู้ยิ่ง. บทว่า พฺราหฺมโณ ภวํ ความว่า พราหมณ์ขีณาสพผู้สมบูรณ์
ด้วยชาติเช่นพระโคดมผู้เจริญนั้น ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคคพรหมไม่มี พระองค์
ผู้เจริญนี่แหละเป็นพราหมณ์.
ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ได้บรรจุข้าวปายาสเต็มถาดทอง
แล้วน้อมเข้าไปถวายพระทศพล. พระศาสดาทรงแสดงอุบัติเหตุเกิด ทรงห้าม
โภชนะเสีย จึงตรัสคำเป็นต้นว่า คาถาภิคีตํ เม ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า คาถาภิคีตํ ได้แก่ ขับกล่อมด้วยคาถาทั้งหลาย. บทว่า อโภชเนยฺยํ
ได้แก่ไม่ควรบริโภค. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พราหมณ์ ท่านไม่อาจให้อาหาร
เพียงทัพพีหนึ่งแก่เรา ผู้ดำรงอยู่ด้วยภิกขาจารวัตรตลอดกาลเท่านี้ แต่บัดนี้
เราประกาศพระพุทธคุณทั้งปวงแก่ท่าน เหมือนคนหว่านงาลงบนเสื่อลำแพน
ดังนั้นโภชนะนี้เหมือนได้มาเพราะขับกล่อม ฉะนั้น เราไม่ควรบริโภคโภชะที่
ได้มาด้วยการขับกล่อม. บทว่า สมฺปสฺสตํ พฺรหฺมณ เนส ธมฺโม ความว่า
พราหมณ์ ผู้ที่พิจารณาเห็นอรรถและธรรม ไม่มีธรรมเนียมนี้ว่า ควรบริโภค
โภชนะเห็นปานนี้ แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงรังเกียจสุธาโภชนะที่ได้ด้วย
การขับกล่อม คือพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงขจัดออกซึ่งโภชนะที่ได้มา
เพราะขับกล่อม. บทว่า สมฺปสฺสตํ พฺราหฺมณ เนส ธมฺโม ความว่า
พราหมณ์ เมื่อธรรมมีอยู่ เมื่อบุคคลพิจารณาธรรม ดังอยู่ในธรรม เลี้ยงชีพอยู่
นี้เป็นความพระพฤติ คือนี้เป็นการเลี้ยงชีพว่า ควรขจัดโภชนะเห็นปานนี้เสีย
แล้วบริโภคโภชนะที่ได้มาโดยธรรมเท่านั้น.
ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า เมื่อก่อนเราไม่รู้ถึงคุณหรือโทษของพระ-
สมณโคดม แต่บัดนี้เรารู้คุณของพระสมณโคดมนั้นแล้ว จึงปรารถนาจะโปรย
ทรัพย์ประมาณ ๘๐ โกฏิ ในเรือนของเราลงในพระศาสนา ก็พระสมณโคดมนี้
จะตรัสว่า ปัจจัยที่เราถวาย เป็นอกัปปิยะ พระสมณโคดมคงไม่ทรงตำหนิเรา
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงส่งพระสัพพัญญุตญาณพิจารณาวารจิตของ
พราหมณ์นั้น ทรงพระดำริว่า พราหมณ์นี้กำหนดปัจจัยที่ตนให้แม้ทั้งหมด
ว่าเป็นอกัปปิยะ ความจริง กถาเกิดขึ้นเพราะปรารภโภชนะใด โภชนะนั้นแล
ไม่มี กถานอกนั้นนไม่มีโทษ ดังนี้ เมื่อจะทรงแสดงประตูแห่งการถวายปัจจัย ๔
แก่พราหมณ์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า อญฺเน จ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า กุกฺกุจฺจํ วูปสนฺตํ ความว่า สงบความรำคาญเสียได้ด้วยอำนาจความ
คนองมือเป็นต้น. คำว่า อนฺเนน ปาเนน นี้เป็นเพียงเทศนา. ก็ความนี้
พึงทราบดังต่อไปนี้ ท่านจงบำรุงด้วยปัจจัยเหล่าอื่นมีจีวรเป็นต้น ที่ท่านกำหนด
ว่าจักบริจาค ข้อนั้นเป็นเขตของผู้มุ่งบุญ. ชื่อว่าคำสอนของพระตถาคตนี้
เป็นอันท่านผู้มุ่งบุญคือปรารถนาบุญตกแต่งแล้ว เหมือนพืชแม้น้อยที่หว่านลง
ในนาดี ย่อมให้ผลมาก ดังนี้แล.
จบอรรถกถาอัคคิกสูตรที่ ๘