15-192 ชฏาพราหมณ์
พระไตรปิฎก
๖. ชฏาสูตร
ว่าด้วยชฏาพราหมณ์
[๖๔๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น ชฏาภารทวาชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนา
ปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร
[๖๔๕] ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคด้วยคาถาว่า
หมู่สัตว์ยุ่งทั้งภายใน ยุ่งทั้งภายนอก
ถูกความยุ่งพาให้นุงนังแล้ว ข้าแต่พระโคดม
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ว่า
ใครพึงแก้ความยุ่งนี้ได้
[๖๔๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
นรชนผู้มีปัญญาเห็นภัยในสังสารวัฏ
ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญจิตและปัญญา
มีความเพียร มีปัญญาเครื่องบริหาร
นั้นพึงแก้ความยุ่งนี้ได้
บุคคลเหล่าใดกำจัดราคะ โทสะ และอวิชชาได้แล้ว
บุคคลเหล่านั้น สิ้นอาสวะแล้ว เป็นพระอรหันต์
พวกเขาแก้ความยุ่งได้แล้ว
นามก็ดี รูปก็ดี ปฏิฆสัญญาก็ดี
รูปสัญญาก็ดี ดับไม่เหลือในที่ใด
ความยุ่งนั้นก็ย่อมขาดหายไปในที่นั้น A
[๖๔๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชฏาภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระชฏาภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
ชฏาสูตรที่ ๖ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเทียบคาถาข้อ ๒๓ หน้า ๒๖-๒๗ ในเล่มนี้
บาลี
ชฏาสุตฺต
[๖๔๔] สาวตฺถีนิทาน ฯ อถ โข ชฏาภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ
เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควตา สทฺธึ สมฺโมทิ
สมฺโมทนีย กถ สาราณีย วีติสาเรตฺวา เอกมนฺต นิสีทิ ฯ
[๖๔๕] เอกมนฺต นิสินฺโน โข ชฏาภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ
ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ
อนฺโต ชฏา พหิ ชฏา ชฏาย ชฏิตา ปชา
ต ต โคตม ปุจฺฉามิ โก อิม วิชฏเย ชฏนฺติ ฯ
[๖๔๖] สีเล ปติฏฺาย นโร สปฺโ จิตฺต ปฺฺจ ภาวย
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิม วิชฏเย ชฏ
เยส ราโค จ โทโส จ อวิชฺชา จ วิราชิตา
ขีณาสวา อรหนฺโต เตส วิชฏิตา ชฏา
ยตฺถ นามฺจ รูปฺจ อเสส อุปรุชฺฌติ
ปฏิฆรูปสฺา จ เอตฺเถสา ฉิชฺชเต ชฏาติ ฯ
[๖๔๗] เอว วุตฺเต ชฏาภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภควนฺต
เอตทโวจ อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ อฺตโร จ ปนายสฺมา
ภารทฺวาโช อรหต อโหสีติ ฯ
******************
อรรถกถา
อรรถกถาชฏาสูตร
ในชฏาสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชฏาภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์นั้นชื่อภารทวาชะ แต่
เพราะเขาถามปัญหาที่ยุ่งๆ พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวอย่างนั้น. คำที่เหลือท่าน
กล่าวไว้แล้วในเทวตาสังยุตแล.
จบอรรถกถาชฏาสูตรที่ ๖