15-190 พิลังคิกพราหมณ์
พระไตรปิฎก
๔. พิลังคิกสูตร
ว่าด้วยพิลังคิกพราหมณ์
[๖๓๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า “ได้ยินว่า
พราหมณ์ภารทวาชโคตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดม”
จึงโกรธ ไม่พอใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้วได้ยืนนิ่งอยู่ ณ ที่สมควร
[๖๓๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดคำนึงของพิลังคิกภารทวาช-
พราหมณ์ด้วยพระทัยแล้ว ได้ตรัสกับพิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ด้วยพระคาถาว่า
ผู้ใดประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย
ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน
บาปย่อมกลับมาถึงบุคคลนั้นซึ่งเป็นคนพาลอย่างแน่แท้
ดุจผงธุลีอันละเอียดที่บุคคลซัดไปทวนลมแล้ว ฉะนั้น A
[๖๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ
ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระโคดมผู้เจริญเถิด”
พิลังคิกภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาค
แล้ว ฯลฯ ก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่า
กุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึง
อยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
อนึ่ง ท่านพระพิลังคิกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์
ทั้งหลาย
พิลังคิกสูตรที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเทียบคาถาข้อ ๒๒ หน้า ๒๖ ในเล่มนี้
บาลี
พิลงฺคิกสุตฺต
[๖๓๘] เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป ฯ
อสฺโสสิ โข พิลงฺคิกภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภารทฺวาชโคตฺโต
กิร พฺราหฺมโณ สมณสฺส โคตมสฺส สนฺติเก อคารสฺมา
อนคาริย ปพฺพชิโตติ กุปิโต อนตฺตมโน เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ตุณฺหีภูโต เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ
[๖๓๙] อถ โข ภควา พิลงฺคิกภารทฺวาชสฺส พฺราหฺมณสฺส
เจตสา เจโตปริวิตกฺกมฺาย พิลงฺคิกภารทฺวาช พฺราหฺมณ คาถาย
อชฺฌภาสิ
โย อปฺปทุฏฺสฺส นรสฺส ทุสฺสติ
สุทฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส
ตเมว พาล ปจฺเจติ ปาป
สุขุโม รโช ปฏิวาตว ขิตฺโตติ ฯ
[๖๔๐] เอว วุตฺเต พิลงฺคิกภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภควนฺต
เอตทโวจ อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ
เอสาห ภวนฺต โคตม สรณ คจฺฉามิ ธมฺมฺจ ภิกฺขุสงฺฆฺจ
ลเภยฺยาห โภโต โคตมสฺส สนฺติเก ปพฺพชฺช ฯเปฯ ตทนุตฺตร
พฺรหฺมจริยปริโยสาน ทิฏฺเว ธมฺเม สย อภิฺา สจฺฉิกตฺวา
อุปสมฺปชฺช วิหาสิ ขีณา ชาติ วุสิต พฺรหฺมจริย กต กรณีย
นาปร อิตฺถตฺตายาติ อพฺภฺาสิ ฯ อฺตโร จ ปนายสฺมา
ภารทฺวาโช อรหต อโหสีติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาพิลังคิกสูตร
ในพิลังคิกสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า พิลงฺคิกภารทฺวาโช ได้แก่ พราหมณ์นั้น ชื่อว่า ภารทวาชะ.
แต่เขาให้การทำน้ำข้าวล้วน ๆ และปรุงด้วยเครื่องปรุง มีประการต่าง ๆ ไว้ขาย
รวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก เพราะฉะนั้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึง
ตั้งชื่อเขาว่า พิลังคิกภารทวาชะ. บทว่า ตุณฺหีภูโต ความว่า เขาคิดว่า
ผู้นี้ให้พี่ชายทั้ง ๓ ของเราบวช ก็โกรธอย่างยิ่ง เมื่อไม่อาจพูดอะไรได้ จึงได้
หยุดนิ่งเสีย ท่านกล่าวคาถาไว้แล้ว ในเทวตาสังยุตแล.
จบอรรถกถาพิลังคิกสูตรที่ ๔