15-189 อสุรินทกพราหมณ์



พระไตรปิฎก


๓. อสุรินทกสูตร
ว่าด้วยอสุรินทกพราหมณ์
[๖๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้
เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้สดับมาว่า “ได้ยินว่า
พราหมณ์ภารทวาชโคตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในสำนักของพระสมณโคดมแล้ว”
จึงโกรธ ไม่พอใจ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว ด่า บริภาษพระผู้มี
พระภาคด้วยวาจาหยาบคาย อันมิใช่วาจาของสัตบุรุษ เมื่ออสุรินทกภารทวาชพราหมณ์
กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงนิ่งเสีย ลำดับนั้น อสุรินทกภารทวาช-
พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระสมณะ เราชนะท่านแล้ว พระสมณะ
เราชนะท่านแล้ว”
[๖๓๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนพาลกล่าววาจาหยาบคาย ย่อมเข้าใจว่าตนเองชนะ
แต่ความอดกลั้นได้เป็นความชนะของบัณฑิตผู้รู้แจ้ง
ผู้ใดโกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ผู้นั้นย่อมเลวกว่าผู้โกรธ เพราะการโกรธตอบนั้น
บุคคลผู้ไม่โกรธตอบต่อบุคคลผู้โกรธ
ชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้ยาก
ผู้ใดรู้ว่าผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มีสติ สงบใจไว้ได้
ผู้นั้นชื่อว่าประพฤติประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
เมื่อผู้นั้นรักษาประโยชน์ของคนทั้ง ๒ ฝ่าย
คือฝ่ายตนและฝ่ายผู้อื่น
ชนทั้งหลายผู้ไม่ฉลาดในธรรมย่อมเข้าใจว่าเป็นคนโง่
[๖๓๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว อสุรินทกภารทวาชพราหมณ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจน
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ”
อนึ่ง ท่านพระอสุรินทกภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในบรรดาพระ-
อรหันต์ทั้งหลาย
อสุรินทกสูตรที่ ๓ จบ

บาลี



อสุรินฺทกสุตฺต
[๖๓๕] เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ เวฬุวเน กลนฺทกนิวาเป ฯ
อสฺโสสิ โข อสุรินฺทกภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภารทฺวาชโคตฺโต
กิร พฺราหฺมโณ สมณสฺส โคตมสฺส สนฺติเก อคารสฺมา
อนคาริย ปพฺพชิโตติ กุปิโต อนตฺตมโน เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อสพฺภาหิ ผรุสาหิ วาจาหิ อกฺโกสติ
ปริภาสติ ฯ เอว วุตฺเต ภควา ตุณฺหี อโหสิ ฯ อถ โข
อสุรินฺทกภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภควนฺต เอตทโวจ ชิโตสิ
สมณ ชิโตสิ สมณาติ ฯ
[๖๓๖] ชย เว มฺติ พาโล วาจาย ผรุส ภณ
ชยฺเจวสฺส ต โหติ ยา ติติกฺขา วิชานโต
ตสฺเสว เตน ปาปิโย โย กุทฺธ ปฏิกุชฺฌติ
กุทฺธ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต สงฺคาม เชติ ทุชฺชย
อุภินฺนมตฺถ จรติ อตฺตโน จ ปรสฺส จ
ปร สงฺกุปิต ตฺวา โย สโต อุปสมฺมติ
อุภินฺน ติกิจฺฉนฺตาน อตฺตโน จ ปรสฺส จ
ชนา มฺนฺติ พาโลติ เย ธมฺมสฺส อโกวิทาติ ฯ
[๖๓๗] เอว วุตฺเต อสุรินฺทกภารทฺวาโช พฺราหฺมโณ ภควนฺต
เอตทโวจ อภิกฺกนฺต โภ โคตม อภิกฺกนฺต โภ โคตม ฯเปฯ
อพฺภฺาสิ ฯ อฺตโร จ ปนายสฺมา ภารทฺวาโช อรหต
อโหสีติ ฯ

 

อรรถกถา


อรรถกถาอสุรินทกสูตร
ในอสุรินทกสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสุรินฺทกภารทฺวาโช ได้แก่ น้องชายของอักโกสกภาร-
ทวาชพราหมณ์. บทว่า กุปิโต ความว่า เป็นผู้โกรธ เพราะเหตุนั้นนั่นแล.
บทว่า ชยญฺเจวสฺส ตํ โหติ ความว่า นั้นเป็นชัยชนะของผู้นั้นนั่นเอง.
อธิบายว่า นั้นเป็นชัยชนะ. ถามว่า เป็นชัยชนะของบุคคลเช่นไร. ตอบว่า
ความอดกลั้นอันใดของผู้รู้แจ้ง ความอดกลั้น คือ ความอดทนของผู้รู้แจ้ง
คุณด้วยความอดกลั้นอันนั้น นี้เป็นชัยชนะของผู้รู้แจ้งนั้นนั่นแล. ส่วนชนพาล
กล่าวคำหยาบ ย่อมสำคัญชัยชนะอย่างเดียวว่า เป็นชัยชนะของเรา.
จบอรรถกถาอสุรินทกสูตรที่ ๓

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!