15-182 สุนังกุมารพรหม



พระไตรปิฎก


๑. สนังกุมารสูตร
ว่าด้วยสนังกุมารพรหม
[๖๐๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสัปปินี เขตกรุงราชคฤห์
ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป สนังกุมารพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่ว
ฝั่งแม่น้ำสัปปินี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร
[๖๐๗] ได้กล่าวคาถานี้ในที่ประทับของพระผู้มีพระภาคว่า
ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่
กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด
ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ A
จัดว่าประเสริฐที่สุดในหมู่เทวดาและมนุษย์ B
[๖๐๘] สนังกุมารพรหมครั้นกราบทูลคำนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ครั้งนั้น
สนังกุมารพรหมทราบว่า “พระศาสดาของเราทรงพอพระทัยแล้ว” จึงถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
สนังกุมารสูตรที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A วิชชา หมายถึงวิชชา ๓ มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ เป็นต้น และวิชชา ๘ คือ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิ
และอภิญญา ๖ จรณะ หมายถึงจรณะ ๑๕ คือ ความบริบูรณ์ในศีล ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์
ความรู้ประมาณในโภชนะ การประกอบความเพียรเครื่องตื่น พระสัทธรรม ๗ และรูปาวจรฌาน ๔ (สํ.ส.อ.
๑/๑๘๒/๒๐๘)
B ดู ที.สี. (แปล) ๙/๒๗๖/๙๙, ม.ม. (แปล) ๑๓/๓๐/๓๔, สํ.นิ. (แปล) ๑๖/๒๔๕/๓๓๘, องฺ.เอกาทสก. (แปล)
๒๔/๑๐/๔๐๙

บาลี



สนงฺกุมารสุตฺต
[๖๐๖] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา ราชคเห วิหรติ
สปฺปินีตีเร ฯ อถ โข พฺรหฺมา สนงฺกุมาโร อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา
อภิกฺกนฺตวณฺโณ เกวลกปฺป สปฺปินีตีร โอภาเสตฺวา เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต
อฏฺาสิ ฯ
[๖๐๗] เอกมนฺต ิโต โข พฺรหฺมา สนงฺกุมาโร ภควโต
สนฺติเก อิม คาถ อภาสิ
ขตฺติโย เสฏฺโ ชเนตสฺมึ เย โคตฺตปฏิสาริโน
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโ เทวมานุเสติ ฯ
[๖๐๘] อิทมโวจ พฺรหฺมา สนงฺกุมาโร สมนุฺโ สตฺถา
อโหสิ ฯ อถ โข พฺรหฺมา สนงฺกุมาโร สมนุฺโ เม สตฺถาติ
ภควนฺต อภิวาเทตฺวา ปทกฺขิณ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาสนังกุมารสูตร
ทุติยวรรคสนังกุมารสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สปฺปีนีตเร ความว่า ที่ฝั่งแม่น้ำชื่อสัปปีนี. บทว่า สนงฺกุ-
มาโร ความว่า ได้ยินว่า สนังกุมารพรหมนั้น ในเวลาเป็นปัญจสิขกุมาร
เจริญฌานบังเกิดในพรหมโลก เที่ยวไปด้วยเพศกุมารนั่นเอง. เหตุนั้น คนทั้ง
หลายจึงจำเขาได้ว่ากุมาร. แต่เพราะเป็นคนเก่า จึงเรียกกันว่า สนังกุมาร.
บทว่า ชเนตสฺมึ ได้แก่ในประชุมชน อธิบายว่า ในหมู่ชน. บทว่า เย
โคตฺตปฏิสารโน ความว่า ในชุมชนผู้รังเกียจักนี้เรื่องโคตรเหล่านั้น ในโลก
กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด. บทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ความว่า ประกอบ
ด้วยวิชชา ๓ มีบุพเพนิวาสานุสสติญาณเป็นต้น โดยปริยายแห่งภยเภรวสูตร
หรือวิชชา ๘ คือ วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิอภิญญา ๖ โดยปริยายแห่งอัมพัฏฐ
สูตร และด้วยจรณะ ๑๕ ประเภท อย่างนี้ คือ ความเป็นผู้การทำให้บริบูรณ์
ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในโภชนะ ชาคริยานุโยค สัทธรรม ๗ รูปฌาน ๔. บทว่า โส เสฏฺโ
เทวมานุเส ความว่า พราหมณ์ผู้เป็นขีณาสพนั้น เป็นผู้ประเสริฐที่สุดคือสูง
สุด ในหมู่เทพและหมู่มนุษย์.
จบอรรถกถาสนังกุมารสูตรที่ ๑

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!