15-181 โกกาลิกภิกษุ



พระไตรปิฎก


๑๐. โกกาลิกสูตร
ว่าด้วยโกกาลิกภิกษุ
[๕๙๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว ตกอยู่ในอำนาจ
ความปรารถนาชั่ว”
[๕๙๙] เมื่อโกกาลิกภิกษุกล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า
“โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิต
ให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นผู้มี
ศีลเป็นที่รัก”
แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
แม้พระผู้มีพระภาคทรงเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ ทรงมีพระพุทธพจน์ที่
ข้าพระองค์เชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ
ก็ยังเป็นผู้ปรารถนาชั่ว ตกอยู่ในอำนาจความปรารถนาชั่ว”
แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุดังนี้ว่า “โกกาลิกะ
เธออย่ากล่าวอย่างนั้น โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงทำจิตให้เลื่อมใสใน
สารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุก็กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ ฯลฯ ตกอยู่ใน
อำนาจความปรารถนาชั่ว”
แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับโกกาลิกภิกษุว่า “ ฯลฯ เพราะสารีบุตร
และโมคคัลลานะ เป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก”
[๖๐๐] ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำ
ประทักษิณแล้วจากไป
เมื่อโกกาลิกภิกษุจากไปไม่นาน ร่างกายก็มีตุ่มขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด
เกิดขึ้นทั่วร่าง ตุ่มเหล่านั้นโตเท่าเมล็ดพันธ์ผักกาด แล้วก็โตขึ้นเท่าเมล็ดถั่วเขียว
โตเท่าเมล็ดถั่วดำ โตเท่าเมล็ดพุทรา โตเท่าเมล็ดกระเบา โตเท่าผลมะขามป้อม
โตเท่าผลมะตูมอ่อน โตเท่าผลมะตูมแก่ แล้วก็แตกเยิ้ม หนองและเลือดหลั่งออกมา
ครั้งนั้น โกกาลิกภิกษุได้มรณภาพเพราะอาพาธนั้นเอง แล้วไปเกิดในปทุมนรก
เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ
[๖๐๑] ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้
สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่
ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิก-
ภิกษุมรณภาพแล้ว ไปเกิดในปทุมนรกเพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและ
ท่านพระโมคคัลลานะ” ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมกราบทูลดังนี้แล้ว ถวายอภิวาทพระ
ผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
[๖๐๒] ครั้นราตรีนั้นผ่านไป พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย คืนนี้เมื่อราตรีผ่านไป ท้าวสหัมบดีพรหมมีวรรณะงดงามยิ่งนัก
เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้ามาหาเราถึงที่อยู่อภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร
ได้กล่าวกับเราดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุมรณภาพแล้ว ไปเกิดใน
ปทุมนรก เพราะมีจิตผูกอาฆาตในท่านพระสารีบุตรและท่านพระโมคคัลลานะ”
ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมกล่าวคำนี้แล้วอภิวาทเรา กระทำประทักษิณ
แล้วหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
[๖๐๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรกนานเท่าไรหนอ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก
ประมาณอายุในปทุมนรกนั้น ยากที่จะน้บได้ว่า ‘ประมาณปีเท่านี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี
เท่านี้ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเท่านี้ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ปีเท่านี้”
ภิกษุทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์พอจะยกอุปมาได้หรือไม่
พระพุทธเจ้าข้า”
[๖๐๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ได้ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “ภิกษุ หนึ่งเกวียนเมล็ดงา
ของชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี A ล่วงไปแล้ว ๑๐๐,๐๐๐ ปี บุรุษจึงนำเมล็ดงาออก
จากเกวียนนั้นหนึ่งเมล็ด เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น
จะพึงหมดไปโดยทำนองนี้เร็วกว่า แต่ว่า ๑ อัพพุทนรก B หาหมดไปไม่
๒๐ อัพพุทนรก เป็น ๑ นิรัพพุทนรก
๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น ๑ อพัพพนรก
๒๐ อพัพพนรก เป็น ๑ อุหหนรก
๒๐ อุหหนรก เป็น ๑ อัฏฏนรก
๒๐ อัฏฏนรก เป็น ๑ กุมุทนรก
๒๐ กุมุทนรก เป็น ๑ โสคันธิกนรก
๒๐ โสคันธิกนรก เป็น ๑ อุปปลนรก
๒๐ อุปปลนรก เป็น ๑ ปุณฑริกนรก
๒๐ ปุณฑริกนรก เป็น ๑ ปทุมนรก
โกกาลิกภิกษุไปเกิดในปทุมนรกแล้ว เพราะมีจิตผูกอาฆาตในสารีบุตรและ
โมคคัลลานะ”
[๖๐๕] พระผู้มีภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
ผรุสวาจา (คำหยาบ) เป็นเหมือนผึ่ง
เครื่องตัดตนของคนพาลผู้กล่าวคำชั่ว
ย่อมเกิดที่ปากของบุรุษ
ผู้ใดสรรเสริญคนที่ควรติเตียน
หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นชื่อว่าสั่งสมความผิดไว้ด้วยปาก
ย่อมไม่ประสบความสุข เพราะความผิดนั้น
การปราชัยด้วยทรัพย์
ในการเล่นการพนันจนหมดตัวนี้
เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย
แต่การที่บุคคลมีใจประทุษร้าย
ในบุคคลผู้ดำเนินไปดีแล้วนี้เท่านั้น
เป็นความผิดมากกว่า
บุคคลผู้ตั้งวาจาและใจอันชั่ว ติเตียนพระอริยะ
ย่อมเข้าถึงนรกสิ้น ๑๓๖,๐๐๐ นิรัพพุทกัป
กับอีก ๕ อัพพุทกัป๑
โกกาลิกสูตรที่ ๑๐ จบ
เชิงอรรถ
A ๔ กุฑวะ หรือปสตะ (ฟายมือ) เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ)
๔ ปัตถะ เป็น ๑ อาฬหกะ
๔ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ
๔ โทณะ เป็น ๑ มาณิกา
๔ มาณิกา เป็น ๑ ขารี
๒๐ ขารี เป็น ๑ วาหะ
๒๐ วาหะ เป็น ๑ ธารณะ
๑๐ ธารณะ เป็น ๑ ปละ
๑๐๐ ปละ เป็น ๑๒ ตุลา
๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ
B อัพพุทนรก นิรัพพุทนรก อพัพพนรก อุหหนรก อัฏฏนรก กุมุทนรก โสคันธิกนรก อุปปลนรก
ปุณฑริกนรก ปทุมนรก ทั้งหมดนี้อยู่ในอเวจีมหานรก เป็นนรกเล็กอยู่ในนรกใหญ่ ไม่มีภูมิเป็นของตนเอง
แต่เป็นที่ซึ่งสัตว์จะต้องรับกรรม เช่น อัพพุทนรกเป็นสถานที่ทรมานสัตว์โดยการนับชิ้นเนื้อเป็นเครื่องบอก
ระยะเวลาในการทรมานสัตว์ (องฺ. ทสก. อ. ๓/๘๙/๓๖๖)

บาลี



ทุติยโกกาลิกสุตฺต
[๕๙๘] สาวตฺถิย … อถ โข โกกาลิโก ภิกฺขุ เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต
นิสีทิ ฯ เอกมนฺต นิสินฺโน โข โกกาลิโก ภิกฺขุ ภควนฺต เอตทโวจ
ปาปิจฺฉา ภนฺเต สารีปุตฺตโมคฺคลฺลานา ปาปิกาน อิจฺฉาน วส
คตาติ ฯ
[๕๙๙] เอว วุตฺเต ภควา โกกาลิก ภิกฺขุ เอตทโวจ มา
เหว โกกาลิก อวจ มา เหว โกกาลิก อวจ ปสาเทหิ โกกาลิก
สารีปุตฺตโมคฺคลฺลาเนสุ จิตฺต เปสลา สารีปุตฺตโมคฺคลฺลานาติ ฯ
ทุติยมฺปิ โข โกกาลิโก ภิกฺขุ ภควนฺต เอตทโวจ กิฺจาปิ เม
ภนฺเต ๑ สทฺธายโก ปจฺจยโก อถ โข ปาปิจฺฉาว สารีปุตฺตโมคฺคลฺลานา
ปาปกาน อิจฺฉาน วส คตาติ ฯ ทุติยมฺปิ โข ภควา
โกกาลิก ภิกฺขุ เอตทโวจ มา เหว โกกาลิก อวจ มา
เหว โกกาลิก อวจ ปสาเทหิ โกกาลิก สารีปุตฺตโมคฺคลฺลาเนสุ
จิตฺต เปสลา สารีปุตฺตโมคฺคลฺลานาติ ฯ ตติยมฺปิ โข โกกาลิโก
ภิกฺขุ ภควนฺต เอตทโวจ ฯเปฯ อิจฺฉาน วส คตาติ ฯ ตติยมฺปิ
โข ภควา โกกาลิก ภิกฺขุ เอตทโวจ ฯเปฯ เปสลา
สารีปุตฺตโมคฺคลฺลานาติ ฯ
[๖๐๐] อถ โข โกกาลิโก ภิกฺขุ อุฏฺายาสนา ภควนฺต
อภิวาเทตฺวา ปทกฺขิณ กตฺวา ปกฺกามิ ฯ อจิรปกฺกนฺตสฺส จ โกกาลิกสฺส
ภิกฺขุโน สาสปมตฺตีหิ ปิฬกาหิ สพฺโพ กาโย ผุฏฺโ อโหสิ
สาสปมตฺติโย หุตฺวา มุคฺคมตฺติโย อเหสุ มุคฺคมตฺติโย หุตฺวา
กฬายมตฺติโย อเหสุ กฬายมตฺติโย หุตฺวา โกลฏฺิมตฺติโย อเหสุ
โกลฏฺิมตฺติโย หุตฺวา โกลมตฺติโย อเหสุ โกลมตฺติโย หุตฺวา
อามลกมตฺติโย อเหสุ อามลกมตฺติโย หุตฺวา เวลุวสลาฏุกมตฺติโย
อเหสุ เวลุวสลาฏุกมตฺติโย หุตฺวา พิลฺลมตฺติโย อเหสุ
พิลฺลมตฺติโย หุตฺวา ปภิชฺชึสุ ปุพฺพฺจ โลหิตฺจ ปคฺฆรึสุ ฯ อถ โข
โกกาลิโก ภิกฺขุ เตเนว อาพาเธน กาลมกาสิ ฯ กาลกโต จ
โกกาลิโก ภิกฺขุ ปทุมนิรย อุปปชฺชิ สารีปุตฺตโมคฺคลฺลาเนสุ จิตฺต
อาฆาเตตฺวา ฯ
[๖๐๑] อถ โข พฺรหฺมา สหมฺปติ อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา
อภิกฺกนฺตวณฺโณ เกวลกปฺป เชตวน โอภาเสตฺวา เยน ภควา
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ ฯ
เอกมนฺต ิโต โข พฺรหฺมา สหมฺปติ ภควนฺต เอตทโวจ โกกาลิโก
ภนฺเต ภิกฺขุ กาลกโต ๒ กาลกโต จ ภนฺเต โกกาลิโก ภิกฺขุ
ปทุมนิรย อุปปนฺโน สารีปุตฺตโมคฺคลฺลาเนสุ จิตฺต อาฆาเตตฺวาติ ฯ
อิทมโวจ พฺรหฺมา สหมฺปติ อิท วตฺวา ภควนฺต อภิวาเทตฺวา
ปทกฺขิณ กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
[๖๐๒] อถ โข ภควา ตสฺสา รตฺติยา อจฺจเยน ภิกฺขู อามนฺเตสิ
อิม ภิกฺขเว รตฺตึ พฺรหฺมา สหมฺปติ อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา
อภิกฺกนฺตวณฺโณ เกวลกปฺป เชตวน โอภาเสตฺวา เยนาห เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ม อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ เอกมนฺต ิโต
โข ภิกฺขเว พฺรหฺมา สหมฺปติ ม เอตทโวจ โกกาลิโก ภนฺเต
ภิกฺขุ กาลกโต กาลกโต จ ภนฺเต โกกาลิโก ภิกฺขุ ปทุมนิรย
อุปปนฺโน สารีปุตฺตโมคฺคลฺลาเนสุ จิตฺต อาฆาเตตฺวาติ อิทมโวจ
ภิกฺขเว พฺรหฺมา สหมฺปติ อิท วตฺวา ม อภิวาเทตฺวา ปทกฺขิณ
กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
[๖๐๓] เอว วุตฺเต อฺตโร ภิกฺขุ ภควนฺต เอตทโวจ
กีวทีฆ นุ โข ภนฺเต ปทุมนิรเย อายุปฺปมาณนฺติ ฯ ทีฆ โข
ภิกฺขุ ปทุมนิรเย อายุปฺปมาณ ต น สุกร สงฺขาตุ เอตฺตกานิ
วสฺสานิ อิติ วา เอตฺตกานิ วสฺสสตานิ อิติ วา เอตฺตกานิ
วสฺสสหสฺสานิ อิติ วา เอตฺตกานิ วสฺสสตสหสฺสานิ อิติ วาติ ฯ
สกฺกา ปน ภนฺเต อุปมา กาตุนฺติ ฯ
[๖๐๔] สกฺกา ภิกฺขูติ ภควา อโวจ เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ วีสติขาริโก
โกสลโก ติลวาโห ตโต ปุริโส วสฺสสตสฺส วสฺสสตสฺส ๓
อจฺจเยน เอกเมก ติล อุทฺธเรยฺย ขิปฺปตร โข โส ภิกฺขุ
วีสติขาริโก โกสลโก ติลวาโห อิมินา อุปกฺกเมน ปริกฺขย ปริยาทาน
คจฺเฉยฺย น เตฺวว เอโก อพฺพุโท นิรโย เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ
วีสติ อพฺพุทา นิรยา เอวเมโก นิรพฺพุโท นิรโย เสยฺยถาปิ
ภิกฺขุ วีสติ นิรพฺพุทา นิรยา เอวเมโก อพโพ นิรโย เสยฺยถาปิ
ภิกฺขุ วีสติ อพพา นิรยา เอวเมโก อฏโฏ นิรโย เสยฺยถาปิ
ภิกฺขุ วีสติ อฏฏา นิรยา เอวเมโก อหโห นิรโย เสยฺยถาปิ
ภิกฺขุ วีสติ อหหา นิรยา เอวเมโก กุมุโท นิรโย เสยฺยถาปิ
ภิกฺขุ วีสติ กุมุทา นิรยา เอวเมโก โสคนฺธิโก นิรโย เสยฺยถาปิ
ภิกฺขุ วีสติ โสคนฺธิกา นิรยา เอวเมโก อุปฺปลโก ๔ นิรโย
เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ วีสติ อุปฺปลกา นิรยา เอวเมโก ปุณฺฑรีโก
นิรโย เสยฺยถาปิ ภิกฺขุ วีสติ ปุณฺฑรีกา นิรยา เอวเมโก
ปทุโม นิรโย ปทุม โข ปน ภิกฺขุ นิรย ๕ โกกาลิโก ภิกฺขุ
อุปปนฺโน สารีปุตฺตโมคฺคลฺลาเนสุ จิตฺต อาฆาเตตฺวาติ ฯ
[๖๐๕] อิทมโวจ ภควา อิท วตฺวาน สุคโต อถาปรจ
เอตทโวจ สตฺถา
ปุริสสฺส หิ ขาตสฺส กุธารี ชายเต มุเข
ยาย ฉินฺทติ อตฺตาน พาโล ทุพฺภาสิต ภณ
โย นินฺทิย ปสสติ ต วา นินฺทติ โย ปสสิโย
วิจินาติ มุเขน โส กลึ กลินา เตน สุข น วินฺทติ
อปฺปมตฺโต อย กลิ โย อกฺเขสุ ธนปราชโย
สพฺพสฺสาปิ สหาปิ อตฺตนา
อยเมว มหนฺตตโร กลิ
โย สุคเตสุ มน ปโทสเย ฯ
สต สหสฺสาน นิรพฺพุทาน
ฉตฺตึสติ ปฺจ จ อพฺพุทานิ
ยมริเย ครหี นิรย อุเปติ
วาจ มนฺจ ปณิธาย ปาปกนฺติ ฯ

******************

๑ ม. ยุ. เอตฺถนฺตเร ภควา สทฺธายิโก ปจฺจยิโกติ ทิสฺสนฺติ ฯ
๒ กาลมกาสีติ วา ปาโ ฯ
๓ ยุ. วสฺสสหสฺสสฺส ฯ ๔ ม. ยุ. อุปฺปลนิรโย ฯ
๕ ม. ปทุเม ปน ภิกฺขุ นิรเย ฯ ยุ. ปทุมเก … ฯ

อรรถกถา


อรรถกถาทุติยโกกาลิกสูตร
ในทุติยโกกาลิกสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โกกาลิโก ภิกฺขุ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า
ถามว่า โกกาลิกนี้เป็นใคร และเหตุไรจึงเข้าไปเฝ้า. ตอบว่า ได้ยินว่า ผู้นี้
เป็นบุตรโกกาลิกเศรษฐี ในโกกาลิกนคร โกกาลิกรัฐ บวชแล้วอาศัยอยู่ใน
วิหารที่บิดาสร้างไว้ มีชื่อว่า จูฬโกกาลิก มิใช่เป็นศิษย์ของพระเทวทัต.
ฝ่ายรูปที่เป็นศิษย์ของพระเทวทัตนั้นเป็นบุตรพราหมณ์ มีชื่อว่า มหาโกกาลิก.
ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี พระอัครสาวกทั้งสองพร้อม
ด้วยภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป จาริกไปในชนบท เมื่อไกล้ถึงวันเข้าพรรษา
ประสงค์จะอยู่อย่างสงบ จึงส่งภิกษุเหล่านั้นไป ตนเองถือบาตรจีวร ถึงนคร
นั้นในชนบท ได้ไปสู่วิหารนั้น. แลในที่นั้น โกกาลิกภิกษุได้แสดงวัตรแก่
พระอัครสาวกทั้งสอง พระอัครสาวกทั้งสองชื่นชมกับพระโกกาลิกนั้นกล่าวว่า
อาวุโส พวกเราจักอยู่ในที่นี้ตลอดไตรมาส ท่านอย่าได้บอกแก่ใคร ๆ แล้วถือ
ปฏิญญาอยู่. ครั้นอยู่จำพรรษาปวารณาในวันปวารณาแล้ว พระอัครสาวก
ทั้งสองจึงบอกลาภิกษุโกกาลิกว่า อาวุโส เราจะไปละ. ภิกษุโกกาลิกกล่าวว่า
อาวุโส พวกท่านอยู่ในวันนี้วันเดียว พรุ่งนี้ก็จักไป ดังนี้แล้ว วันรุ่งขึ้น
จึงเข้าเมือง บอกพวกมนุษย์ว่า อาวุโส พระอัครสาวกมาอยู่ในที่นี้ พวกท่าน
ไม่รู้. ไม่มีใครถวายปัจจัยสี่เลย. พวกชาวเมืองกล่าวว่า ท่านขอรับ พระเถระ
อยู่ที่ไหน ทำไมจึงไม่บอกพวกเรา. ภิกษุโกกาลิกกล่าวว่า อาวุโส บอกแล้ว
จะมีประโยชน์อะไร พวกท่านไม่เห็นภิกษุ ๒ รูปที่นั่งบนเถระอาสน์หรือ
นั่นแหละพระอัครสาวก. พวกมนุษย์รีบประชุมกัน รวบรวมเนยใสน้ำอ้อย
เป็นต้นและผ้าจีวร.
ภิกษุโกกาลิกคิดว่า พระอัครสาวกเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่ง จักไม่ยินดี
ลาภที่เกิดขึ้นด้วยวาจาที่ประกอบขึ้น เมื่อไม่ยินดี ก็จักบอกว่า ท่านทั้งหลาย
จงถวายแก่ภิกษุที่อยู่ประจำอาวาส ดังนี้ ให้พวกมนุษย์พากันถือลาภนั้น ๆ ไป
สำนักของพระเถระทั้งสอง. พระเถระทั้งสองเห็นดังนั้น จึงห้ามว่า ปัจจัยเหล่านี้
ไม่ควรแก่พวกเรา ไม่ควรแก่ภิกษุโกกาลิก ดังนี้แล้วหลีกไป. ภิกษุโกกาลิก
เกิดอาฆาตขึ้นว่า มันเรื่องอะไรกัน พระอัครสาวกทั้งสอง เมื่อตนเองไม่รับ
ยังไม่ให้พวกมนุษย์ถวายแก่เราแล้วหลีกไป. แม้พระอัครสาวกทั้งสอง ไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วพาบริษัทของตนเที่ยวจาริกไปตามชนบท
แล้งกลับมายังเมืองนั้นในรัฐนั้นตามลำดับ. ชาวเมืองจำพระเถระได้ ตระเตรียม
ทานพร้อมทั้งเครื่องบริขารทั้งหลาย สร้างมณฑปกลางเมืองถวายทาน. และ
น้อมบริขารทั้งหลายเข้าไปถวายพระเถระ. พระเถระได้มอบถวายแก่ภิกษุสงฆ์
ภิกษุโกกาลิกเห็นดังนั้น คิดว่า เมื่อก่อนพระอัครสาวกเหล่านี้ได้เป็นผู้ปรารถนา
น้อย บัดนี้กลายเป็นผู้ปรารถนาลามก แม้ในกาลก่อน ทำทีเสมือนผู้มักน้อย
สันโดษและชอบสงัด จึงเข้าไปหาพระเถระกล่าวว่า อาวุโส เมื่อก่อนท่าน
เป็นเหมือนมักน้อย แต่บัดนี้ท่านกลายเป็นภิกษุลามก คิดว่า จำเราจักทำลาย
ที่พึ่งของพระอัครสาวกเหล่านั้นขึ้นรากในทีเดียว รีบออกไปยังกรุงสาวัตถี
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ. ภิกษุโกกาลิกนี้พึงทราบว่า เข้าเฝ้า
เพราะเหตุนี้เอง.
พระผู้มีพระภาคเจ้า พอทอดพระเนตรเห็นภิกษุโกกาลิกกำลังมาโดย
รีบด่วน ทรงรำพึงก็ทราบว่า ภิกษุโกกาลิกนี้ ประสงค์จะด่าพระอัครสาวกจึง
ได้มา. และทรงรำพึงว่า เราอาจห้ามได้ไหมหนอ ทรงเห็นว่าไม่อาจห้ามได้
ภิกษุโกกาลิกนี้ทำผิดในพระเถระทั้งหลายจึงมา ตายแล้วจักเกิดในปทุมนรก
โดยส่วนเดียว เพื่อจะเปลื้องวาทะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบบุคคลผู้
ติเตียนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะแล้วยังห้ามไม่ได้ และเพื่อจะแสดง
การกล่าวร้ายพระอริยะว่ามีโทษมาก จึงทรงห้ามว่า มา เหวํ ดังนี้ ถึง ๓ ครั้ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา เหวํ ความว่า เธออย่าได้กล่าว
อย่างนี้เลย. บทว่า สทฺธายโก ความว่า ผู้ทำตนให้เป็นที่มาแห่งศรัทธา
ผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใส อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีคำอันบุคคลพึงเชื่อได้. บทว่า
ปจฺจยิโก ความว่า ผู้มีถ้อยคำที่จะพึงยึดเป็นที่อาศัยได้.
บทว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส ความว่า เมื่อภิกษุโกกาลิกหลีกไปไม่นาน
นัก. บทว่า สพฺโพ กาโย ผุฏฺโฐ อโหสิ ความว่า ต่อมทั้งหลายผุดขึ้น
ทำลายกระดูกทั่วร่าง ไม่เว้นที่ว่างแม้เพียงปลายเส้นผม. ก็เพราะกรรมเห็น
ปานนั้น ไม่ให้ผลในขณะที่อยู่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยพุทธา-
นุภาพ พอพ้นทัศนวิสัยไปแล้ว ย่อมให้ผล ฉะนั้น เมื่อภิกษุโกกาลิกนั้นหลีก
ไปแล้วไม่นาน ต่อมทั้งหลายจึงผุดขึ้น.
บทว่า ปกฺกามิ ความว่า ภิกษุโกกาลิกถูกอานุภาพแห่งกรรมตักเตือน
จึงหลีกไป. จริงอยู่ใคร ๆ ไม่อาจที่จะห้ามกรรมที่ทำโอกาสแล้ว กรรมนั้นไม่
ให้ภิกษุโกกาลิกนั้นอยู่ในที่นั้น. บทว่า กฬายมตฺติโย ได้แก่ ประมาณเท่า
เมล็ดถั่วเขียว. บทว่า เวลุวสลาฏกุตฺติโย ได้แก่ ประมาณเท่าผลมะตูมอ่อน
บทว่า ปภิชฺชึสุ แปลว่า แตกแล้ว. เมื่อต่อมเหล่านั้นแตกแล้ว สรีระทิ้งสิ้น
ของภิกษุโกกาลิกนั้นก็สุกเละ เธอมีตัวสุกเละ นอนบนใบตองที่ซุ้มประตู
พระเชตวันเหมือนปลาที่ถูกยาพิษ ลำดับนั้น พวกมนุษย์ที่พากันมาฟังธรรม
กล่าวว่า ภิกษุโกกาลิกได้ทำกรรมที่ไม่สมควร ถึงความพินาศเพราะอาศัยปากคม
ดังมีดของตนนั่นเอง. พวกอารักขเทวดาได้ฟังพวกมนุษย์เหล่านั้น ได้กระทำ
การติเตียน. อากาสเทวดาได้ฟังอารักขเทวดา ได้กระทำการติเตียน ได้เกิด
การติเตียนอย่างเดียวกัน จนถึงอกนิฏฐภพโดยอุบายนี้ ด้วยประการฉะนี้
ครั้งนั้น อุปัชฌาย์ของเธอ มารู้ว่า เธอไม่รับโอวาทติเตียนแล้วหลีกไป.
บทว่า กาลมกาสิ ความว่า เมื่ออุปัชฌาย์หลีกไป ภิกษุโกกาลิกได้
ทำกาละแล้ว. บทว่า ปทุมนิรยํ ความว่า ชื่อว่าปทุมนรกไม่มีเฉพาะแต่
อย่างเดียว. ภิกษุโกกาลิกเกิดในที่หนึ่งในอวิจีมหานรกที่จะพึงหมกไหม้ โดย
การคำนวณปทุมหนึ่ง (ปุทุมนั้นเป็นสังขยาซึ่งมีจำนวนสูญ ๑๒๔ สูญ).
บทว่า วีสติขาริโก ได้แก่ ๔ แล่งชาวมคธ เป็น ๑ แล่ง ในโกศล
รัฐ. ๔ แล่ง โดยแล่งนั้น เป็น ๑ อาฬหกะ อาฬหกะ เป็น ๑ โทณะ
(ทะนาน). ๔ โทณะ เป็น ๑ มานิกะ (เครื่องตวง). ๔ มานิกะ เป็น ๑ ขาริ
โดยขารินั้น เป็น ๒๐ ขาริกะ. บทว่า ติลวาโห ได้แก่ เกวียนบรรทุกงา
เมล็ดเล็ก ๆ ของชาวมคธะ บทว่า อพฺพุโท นิรโย ได้แก่ ที่ชื่อว่า อัพพุทะ
มิใช่ส่วนหนึ่งแห่งนรก. แต่คำนี้เป็นชื่อสถานที่จะพึงไหม้ในอวิจีมหานรก
นั่นเองโดยการนับอัพพุทะ. แม้ในคำว่า นิรัพพุทะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน
ก็แม้จำนวนปีในข้อนี้ ก็พึงทราบอย่างนี้. เหมือนอย่างว่า ร้อยแสน
เป็นโกฏิหนึ่ง ฉันใด ร้อยแสนโกฏิ ชื่อว่า เป็นปโกฏิหนึ่ง ฉันนั้น ร้อย-
แสนโกกิ เป็นโกฏิปโกฏิ ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็นเหตุหนึ่ง ร้อยแสนนหุต
เป็นนินนหุต ร้อยแสนนินนหุต เป็นอัพพุทะหนึ่ง จากนั้น เอายี่สิบคูณเป็น
นิรัพพุทะหนึ่ง. ในบททั้งปวง ก็มีนัยนี้เหมือนกันแล.
จบอรรถกถาทุติยโกกาลิกสูตรที่ ๑๐

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!