15-171 วชิราภิกษุณี
พระไตรปิฎก
๑๐. วชิราสูตร
ว่าด้วยวชิราภิกษุณี
[๕๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาเช้า วชิราภิกษุณีครองอันตรวาสก ถือบาตร
และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาต ภายหลังจากฉัน
ภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้ว จึงนั่งพัก
กลางวันที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง
[๕๕๓] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้วชิราภิกษุณีเกิดความกลัว ความหวาด
สะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหา
วชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพักแล้วได้กล่าวกับวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่า
ใครสร้างสัตว์นี้ ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน
สัตว์เกิดขึ้นที่ไหน สัตว์ดับที่ไหน
[๕๕๔] ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็น
มนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือมาร
ผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า
และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา”
ครั้งนั้นแล วชิราภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมาร
ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
มารเอ๋ย ทิฏฐิของเจ้าเชื่อว่าอะไรเป็นสัตว์
กองแห่งสังขารล้วน ๆ นี้
บัณฑิตจะเรียกว่าสัตว์ไม่ได้เลย
เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ก็มีได้
เหมือนคำว่ารถมีได้เพราะประกอบส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
อนึ่ง ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น
ทุกข์เท่านั้นดำรงอยู่และแปรผันไป
นอกจากทุกข์ ไม่มีสิ่งอื่นเกิดขึ้น
นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรอื่นดับไป๑
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “วชิราภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัวไป
ณ ที่นั้นเอง
วชิราสูตรที่ ๑๐ จบ
บาลี
วชิราสุตฺต
[๕๕๒] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สาวตฺถิย วิหรติ
เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ อถ โข วชิรา ภิกฺขุนี
ปุพฺพณฺหสมย นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย สาวตฺถึ ปิณฺฑาย ปาวิสิ
สาวตฺถิย ปิณฺฑาย จริตฺวา ปจฺฉาภตฺต ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺตา เยน
อนฺธวน เตนุปสงฺกมิ ทิวาวิหาราย อนฺธวน อชฺโฌคเหตฺวา
อฺตรสฺมึ รุกฺขมูเล ทิวาวิหาร นิสีทิ ฯ
[๕๕๓] อถ โข มาโร ปาปิมา วชิราย ภิกฺขุนิยา ภย ฉมฺภิตตฺต
โลมหส อุปฺปาเทตุกาโม สมาธิมฺหา จาเวตุกาโม เยน วชิรา ภิกฺขุนี
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา วชิร ภิกฺขุนึ คาถาย อชฺฌภาสิ
เกนาย ปกโต สตฺโต กฺวจิ ๑ สตฺตสฺส การโก
กฺวจิ ๒ สตฺโต สมุปฺปนฺโน กฺวจิ ๓ สตฺโต นิรุชฺฌตีติ ฯ
[๕๕๔] อถ โข วชิราย ภิกฺขุนิยา เอตทโหสิ โก นุ ขฺวาย
มนุสฺโส วา อมนุสฺโส วา คาถ ภาสตีติ ฯ อถ โข วชิราย
ภิกฺขุนิยา เอตทโหสิ มาโร โข อย ปาปิมา มม ภย ฉมฺภิตตฺต
โลมหส อุปฺปาเทตุกาโม สมาธิมฺหา จาเวตุกาโม คาถ ภาสตีติ ฯ
อถ โข วชิรา ภิกฺขุนี มาโร อย ปาปิมา อิติ วิทิตฺวา มาร
ปาปิมนฺต คาถาหิ อชฺฌภาสิ
กึ นุ สตฺโตติ ปจฺเจติ ๔ มาร ทิฏฺิคต นุ เต
สุทฺธสงฺขารปฺุโช ย นยิธ สตฺตุปลพฺภติ
ยถา หิ องฺคสมฺภารา โหติ สทฺโท รโถ อิติ
เอว ขนฺเธสุ สนฺเตสุ โหติ สตฺโตติ สมฺมติ ๕
ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ ทุกฺข ติฏฺติ เวติ จ
นาฺตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ นาฺตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌตีติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ชานาติ ม วชิรา ภิกฺขุนีติ ทุกฺขี
ทุมฺมโน ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
******************
๑-๒-๓ โป. ม. ยุ. กุว ฯ ๔ โป. ม. ยุ. ปจฺเจสิ ฯ ๕ ม. ยุ. สมฺมุติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาวชิราสูตร
ในวชิราสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า นยิธ สตฺตุปลพฺภติ ความว่า ในกองสังขารล้วนนี้ ว่าโดย
ปรมัตถ์ จะได้แก่สัตว์ก็หาไม่. บทว่า ขนฺเธสุ สนฺเตสุ ความว่า เมื่อ
ขันธ์ ๕ ยังมีอยู่ ท่านกำหนดเอาด้วยอาการนั้น ๆ. บท สมฺมติ คือเป็นเพียง
สมัญญาว่าสัตว์เท่านั้น. บทว่า ทุกฺขํ ได้แก่ ทุกข์คือ ขันธ์ ๕. บทว่า
นาญฺตฺร ทุกฺขา ความว่า นอกจากทุกข์ สภาวะอย่างอื่นไม่มีเกิดไม่มีดับ.
จบอรรถกถาวชิราสูตรที่ ๑๐