15-169 สีสุปจาลาภิกษุณี
พระไตรปิฎก
๘. สีสุปจาลาสูตร
ว่าด้วยสีสุปจาลาภิกษุณี
[๕๔๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้น สีสุปจาลาภิกษุณีครองอันตรวาสก ฯลฯ
จึงนั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง
[๕๔๖] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปหาสีสุปจาลาภิกษุณีถึงที่นั่งพัก
ได้ถามสีสุปจาลาภิกษุณีดังนี้ว่า “ภิกษุณี ท่านชอบใจลัทธิของใคร”
สีสุปจาลาภิกษุณีตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบใจลัทธิของใครเลย”
[๕๔๗] มารผู้มีบาปกล่าวด้วยคาถาว่า
ท่านเป็นคนโล้น เจาะจงใคร
จึงปรากฏตัวเหมือนสมณะ
แต่ทำไมท่านจึงไม่ชอบใจลัทธิ
ท่านประพฤติเรื่องนี้ เพราะความงมงายหรือไร
[๕๔๘] สีสุปจาลาภิกษุณีกล่าวด้วยคาถาว่า
เจ้าลัทธิภายนอกพระศาสนานี้
ย่อมจมอยู่ในทิฏฐิทั้งหลาย
เราไม่ชอบใจธรรมของพวกเขา
พวกเขาเป็นคนไม่ฉลาดในธรรม
พระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติในศากยตระกูล
ไม่มีบุคคลอื่นเปรียบ ทรงครอบงำสิ่งทั้งปวง
บรรเทาเสียซึ่งมาร ไม่ปราชัยในที่ทุกสถาน
พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย
มีพระจักษุ ทรงเห็นธรรมทั้งปวง
บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นกรรมทุกอย่าง
หลุดพ้นเพราะธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิแล้ว
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา
เราชอบใจคำสอนของพระองค์
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “สีสุปจาลาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหาย
ตัวไป ณ ที่นั้นเอง
สีสุปจาลาสูตรที่ ๘ จบ
บาลี
สีสุปจาลาสุตฺต
[๕๔๕] สาวตฺถิย … อถ โข สีสุปจาลา ภิกฺขุนี ปุพฺพณฺหสมย
นิวาเสตฺวา ฯเปฯ อฺตรสฺมึ รุกฺขมูเล ทิวาวิหาร นิสีทิ ฯ
[๕๔๖] อถ โข มาโร ปาปิมา เยน สีสุปจาลา ภิกฺขุนี
เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา สีสุปจาร ภิกฺขุนึ เอตทโวจ กสฺส
นุ ตฺว ภิกฺขุนิ ปาสณฺฑ โรเจสีติ ฯ น ขฺวาห อาวุโส กสฺสจิ
ปาสณฺฑ โรเจมีติ ฯ
[๕๔๗] กึ นุ อุทฺทิสฺส มุณฺฑาสิ สมณี วิย ทิสฺสสิ
น จ โรเจสิ ปาสณฺฑ กิมิท ๑ จรสิ โมมุหาติ ฯ
[๕๔๘] อิโต พหิทฺธา ปาสณฺฑา ทิฏฺีสุ สสิทนฺติ ๒ เต
น เตส ธมฺม โรเจมิ น เต ธมฺมสฺส โกวิทา
อตฺถิ สกฺยกุเล ชาโต พุทฺโธ อปฺปฏิปุคฺคโล
สพฺพาภิภู มารนุโท สพฺพตฺถ มปราชิโต
สพฺพตฺถ มุตฺโต อสฺสิโต สพฺพ ปสฺสติ จกฺขุมา
สพฺพกมฺมกฺขย ปตฺโต วิมุตฺโต อุปธิสงฺขเย
โส มยฺห ภควา สตฺถา ตสฺส โรเจมิ สาสนนฺติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ชานาติ ม สีสุปจาลา ภิกฺขุนีติ ทุกฺขี
ทุมฺมโน ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
******************
๑ โป. ม. ยุ. กิมิว ฯ ๒ ม. ยุ. ปสีทนฺติ เต – เย ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาสีสุปจาลาสูตร
ในสีสุปจาลาสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยต่อไปนี้ :-
บทว่า สุมณี วิย ทิสฺสติ ความว่า ท่านปรากฏตัวเหมือนสมณะ.
บทว่า กิมิว จริสิ โมมูหา ความว่า เพราะเหตุไรท่านจึงประพฤติเหมือน
คนงมงาย. บทว่า อิโต พหิทฺธา ความว่า ภายนอกพระศาสนานี้ . บทว่า
ปาสณฺฑา ความว่า เจ้าลัทธิย่อมเหวี่ยงบ่วง คือทิฐิลงในจิตของสัตว์ทั้งหลาย.
แต่พระศาสนาย่อมปลดเปลื้องบ่วงทั้งหลาย ฉะนั้น จึงไม่กล่าวว่าเจ้าลัทธิ
เจ้าลัทธิมีภายนอกพระศาสนานี้ทั้งนั้น. บทว่า สํสีทนฺติ ได้แก่ จน คือติด.
บัดนี้ สีสุปจาลาภิกษุณีเมื่อกล่าวแก้ปัญหาที่ว่า ท่านบวชอุทิศใคร
จึงกล่าวว่า อตฺถิ สกฺยกุเล ชาโต เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
สพฺพาภิภู ความว่า ครอบงำส่วนทั้งหมด มีขันธ์ อายตนะ ธาตุ ภพ กำเนิด
ละคติเป็นต้น ชื่อว่า มารนุทะ เพราะบรรเทา คือขับไล่มรณมารเป็นต้น
บทว่า สพฺพตฺถมปราชิโต ความว่า ไม่แพ้ในกิเลสทั้งมวลมีราคะเป็นต้น
หรือในการรบมาร. บทว่า สพฺพตฺถ มุจฺโต ความว่า น้อมไปในธรรม
ทั้งปวงมีขันธ์เป็นต้น. บท อสฺสิโต ความว่า อันตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย
ไม่อาศัยแล้ว. บทว่า สพฺพกมฺมกฺขยํ ปตฺโต ความว่า บรรลุพระอรหัต
กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งกรรมทั้งปวง. บทว่า อุปธิสงฺขเย ความว่า
ทรงน้อมเป็นอารมณ์ในพระนิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ.
จบอรรถกถาสีสุปจาลาสูตรที่ ๘