15-167 จาลาภิกษุณี
พระไตรปิฎก
๖. จาลาสูตร
ว่าด้วยจาลาภิกษุณี
[๕๓๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า จาลาภิกษุณีครองอันตรวาสก ฯลฯ จึงนั่งพักกลางวันที่โคน
ต้นไม้แห่งหนึ่ง
[๕๓๘] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าไปหาจาลาภิกษุณีถึงที่อยู่ได้ถามจาลา-
ภิกษุณีดังนี้ว่า “ภิกษุณี ท่านไม่ชอบใจอะไร”
จาลาภิกษุณีตอบว่า “ท่านผู้มีอายุ เราไม่ชอบความเกิดเลย”
[๕๓๙] มารผู้มีบาปกล่าวด้วยคาถาว่า
เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ชอบความเกิด
ผู้เกิดมาแล้วย่อมเสพกาม ใครให้ท่านยึดถือเรื่องนี้
อย่าเลยภิกษุณี ท่านจงชอบความเกิดเถิด
[๕๔๐] จาลาภิกษุณีกล่าวด้วยคาถาว่า
ความตายย่อมมีแก่ผู้ที่เกิดมาแล้ว
ผู้ที่เกิดมาแล้วย่อมประสบทุกข์
คือ การจองจำ การฆ่า ความเศร้าหมอง
เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ชอบความเกิด
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเหตุก้าวล่วงความเกิด
ทรงให้เราตั้งอยู่ในสัจจะเพื่อละทุกข์ทั้งปวง
สัตว์เหล่าใดเข้าถึงรูปภพและดำรงอยู่ในอรูปภพ
สัตว์เหล่านั้นเมื่อยังไม่รู้ความดับจึงต้องมาสู่ภพอีก
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “จาลาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัวไป
ณ ที่นั้นเอง
จาลาสูตรที่ ๖ จบ
บาลี
จาลาสุตฺต
[๕๓๗] สาวตฺถีนิทาน ฯ อถ โข จาลา ภิกฺขุนี ปุพฺพณฺหสมย
นิวาเสตฺวา ฯเปฯ อฺตรสฺมึ รุกฺขมูเล ทิวาวิหาร นิสีทิ ฯ
[๕๓๘] อถ โข มาโร ปาปิมา เยน จาลา ภิกฺขุนี ฯเปฯ
อุปสงฺกมิตฺวา จาล ภิกฺขุนึ เอตทโวจ กึ นุ โข ตฺว ภิกฺขุนิ
น โรเจสีติ ฯ ชาตึ ขฺวาห อาวุโส น โรเจมีติ ฯ
[๕๓๙] กึ นุ ชาตึ น โรเจสิ ชาโต กามานิ ภฺุชติ
โก นุ ตฺว อิทมาทปยิ ชาติ มา โรจ ภิกฺขุนีติ ฯ
[๕๔๐] ชาตสฺส มรณ โหติ ชาโต ทุกฺขานิ ปสฺสติ ๑
พนฺธ วธ ปริเกฺลส ตสฺมา ชาตึ น โรจเย
พุทฺโธ ธมฺมมเทเสสิ ชาติยา สมติกฺกม
สพฺพทุกฺขปฺปหานาย โส ม สจฺเจ นิเวสยิ
เย จ รูปูปคา สตฺตา เย จ อรูปภาคิโน
นิโรธ อปฺปชานนฺตา อาคนฺตาโร ปุนพฺภวนฺติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ชานาติ ม จาลา ภิกฺขุนีติ ทุกฺขี
ทุมฺมโน ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
******************
๑ ม. ผุสฺสติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาจาลาสูตร
ในจาลาสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า โก นุ ตํ อิทมาทปยิ ความว่า ใครหนอคือคนพาลมีความ
รู้น้อย ให้ท่านยึดถือเรื่องนี้. บทว่า ปริเกฺลสํ ได้แก่ ความวุ่นวายซึ่งมีประการ
ต่าง ๆ แม้อย่างอื่น บัดนี้มารกล่าวคำใดไว้ว่า ใครหนอจะให้เธอยึดถือเอาเรื่อง
นั้นจึงแสดงคำนั้นว่า คนอันธพาลไม่ให้เรายึดถือ แต่พระศาสดาผู้เป็นอัคร-
บุคคลในโลกแสดงธรรมแล้ว จึงกล่าวว่า พุทโธ ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่า
นั้น บทว่า สจฺเจ นิเวสยิ ความว่าให้ตั้งอยู่ในพระนิพพานอันเป็นปรมัตถสัจจะ.
บทว่า นิโรธํ อปฺปชานนฺตา ได้แก่ ไม่รู้นิโรธสัจจะ.
จบอรรถกถาจาลาสูตรที่ ๖