15-166 อุบลวรรณาภิกษุณี
พระไตรปิฎก
๕. อุปปลวัณณาสูตร
ว่าด้วยอุบลวรรณาภิกษุณี
[๕๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า อุบลวรรณาภิกษุณีครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร ฯลฯ
ได้ยืนอยู่ที่โคนต้นสาละซึ่งมีดอกบานสะพรั่งต้นหนึ่ง
[๕๓๕] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์
จะให้อุบลวรรณาภิกษุณีเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า
และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไปหาอุบลวรรณาภิกษุณีถึงที่ยืนอยู่
ได้กล่าวกับอุบลวรรณาภิกษุณีด้วยคาถาว่า
ภิกษุณี ท่านเข้าไปใกล้ต้นสาละ
ซึ่งมีดอกบานสะพรั่งถึงยอดแล้ว
ยืนอยู่แต่ผู้เดียวที่โคนต้นสาละนั้น
อนึ่ง ผิวพรรณของท่านไม่เป็นสองรองใคร
ท่านไม่กลัวความสามหาวของพวกนักเลงเจ้าชู้หรือ A
[๕๓๖] ลำดับนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา
จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น อุบลวรรณาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้
อีกว่า “นี่คือมารผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ฯลฯ จึงกล่าวคาถา”
ครั้งนั้นแล อุบลวรรณาภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมาร
ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
แม้นักเลงตั้งแสนมาในที่นี้ เราก็ไม่สะดุ้ง
แม้เพียงขนของเราก็ไม่หวั่นไหว ไม่สั่นสะเทือน
มาร เราแม้ผู้เดียวก็ไม่กลัวท่าน
เรานี้จะหายตัวไปหรือเข้าท้องท่าน
แม้จะยืนอยู่ ณ ระหว่างดวงตา ท่านก็ไม่เห็นเรา
เราเป็นผู้ชำนาญในจิต เจริญอิทธิบาทดีแล้ว
พ้นจากเครื่องผูกทุกชนิด
เราไม่กลัวท่านหรอก ท่านผู้มีอายุ
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “อุบลวรรณาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหาย
ตัวไป ณ ที่นั้นเอง
อุปปลวัณณาสูตรที่ ๕ จบ
เชิงอรรถ
A ดู ขุ.เถรี. (แปล) ๒๖/๒๓๐/๕๙๓
บาลี
อุปฺปลวณฺณาสุตฺต
[๕๓๔] สาวตฺถีนิทาน ฯ อถ โข อุปฺปลวณฺณา ภิกฺขุนี
ปุพฺพณฺหสมย นิวาเสตฺวา ฯเปฯ อฺตรสฺมึ สุปุปฺผิตสาลรุกฺขมูเล
อฏฺาสิ ฯ
[๕๓๕] อถ โข มาโร ปาปิมา อุปฺปลวณฺณาย ภิกฺขุนิยา ภย
ฉมฺภิตตฺต โลมหส อุปฺปาเทตุกาโม สมาธิมฺหา จาเวตุกาโม เยน
อุปฺปลวณฺณา ภิกฺขุนี เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา อุปฺปลวณฺณ
ภิกฺขุนึ คาถาย อชฺฌภาสิ
สุปุปฺผิตคฺค อุปคมฺม ภิกฺขุนิ
เอกา ตุว ติฏฺสิ สาลมูเล
น จตฺถิ เต ทุติยา วณฺณธาตุ
อิธาคตา ตาทิสิกา ภเวยฺยุ
พาเลน ตฺว ภายสิ ธุตฺตกานนฺติ ฯ
[๕๓๖] อถ โข อุปฺปลวณฺณาย ภิกฺขุนิยา เอตทโหสิ โก
นุ ขฺวาย มนุสฺโส วา อมนุสฺโส วา คาถ ภาสตีติ ฯ อถ โข
อุปฺปลวณฺณาย ภิกฺขุนิยา เอตทโหสิ มาโร โข อย ปาปิมา
มม ภย ฯเปฯ คาถ ภาสตีติ ฯ อถ โข อุปฺปลวณฺณา ภิกฺขุนี
มาโร อย ปาปิมา อิติ วิทิตฺวา มาร ปาปิมนฺต คาถาหิ อชฺฌภาสิ
สต สหสฺสานิปิ ธุตฺตกาน
อิธาคตา ตาทิสิกา ภเวยฺยุ
โลม น อิฺชามิ น สนฺตสามิ
มาร น ภายามิ ตเมกิกาปิ
เอสา อนฺตรธายามิ กุจฺฉึ วา ปวิสามิ เต
ปขุมนฺตริกายมฺปิ ติฏฺนฺติ ม น ทกฺขสิ
จิตฺตสฺมึ วสิภูตมฺหิ อิทฺธิปาทา สุภาวิตา
สพฺพพนฺธนมุตฺโตมฺหิ ๑ น ต ภายามิ อาวุโสติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ชานาติ ม อุปฺปลวณฺณา ภิกฺขุนีติ
ทุกฺขี ทุมฺมโน ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
******************
๑ โป. ม. ยุ. สพฺพพนฺธนมุตฺตามฺหิ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาอุบลวรรณาสูตร
ในอุบลวรรณาสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุสุปฺผิตคฺคํ ความว่า ต้นสาละดอกบานสะพรั่งตั้งแต่ยอด.
ด้วยคำว่า น จตฺถิ เต ทุติยา วณฺณธาตุ มารกล่าวว่าวรรณธาตุที่ ๒ อัน
เสมือนกับวรรณธาตุของท่าน ย่อมไม่มี คือไม่มีภิกษุณีอื่นเสมือนกับท่าน. บทว่า
อิธาคตา ตามิสิกา ภเวยฺยุํ ความว่า ท่านมาในที่นี้ย่อมไม่ได้ความ
สนิทสนมหรือความรักอะไร ฉันใด แม้ชนเหล่านั้นก็เป็นเสมือนท่านฉันนั้น
เหมือนกัน. บทว่า ปขุมนฺตริกายํ ความว่า แม้เราจะยืนอยู่บนดั้งจมูก
ระหว่างนัยน์ตาทั้งสอง ท่านก็ไม่เห็น. บทว่า วสีภูตมฺหิ แปลว่า ย่อมเป็น
ผู้ชำนาญ.
จบอรรถกถาอุบลวรรณสูตรที่ ๕