15-165 วิชยาภิกษุณี
พระไตรปิฎก
๔. วิชยาสูตร
ว่าด้วยวิชยาภิกษุณี
[๕๓๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้นเวลาเช้า วิชยาภิกษุณีครองอันตรวาสก ฯลฯ จึงนั่งพักกลางวันที่โคนต้น
ไม้แห่งหนึ่ง
[๕๓๒] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปประสงค์จะให้วิชยาภิกษุณีเกิดความกลัว ความ
หวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้าไป
หาวิชยาภิกษุณีถึงที่นั่งพักแล้ว ได้กล่าวกับวิชยาภิกษุณีด้วยคาถาว่า
เธอยังสาวมีรูปงาม และฉันเองก็ยังหนุ่มแน่น
มาเถิดน้องนาง เรามาร่วมบรรเลงดนตรีเครื่องห้า A
ให้สำเริงสำราญกันเถิด
[๕๓๓] ลำดับนั้น วิชยาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้ว่า “นี่ใครหนอมากล่าวคาถา จะเป็น
มนุษย์หรืออมนุษย์กันแน่” ทันใดนั้น วิชยาภิกษุณีได้มีความคิดดังนี้อีกว่า “นี่คือมาร
ผู้มีบาป ประสงค์จะให้เราเกิดความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้า
และประสงค์จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงกล่าวคาถา”
ครั้งนั้นแล วิชยาภิกษุณีทราบว่า “นี่คือมารผู้มีบาป” จึงได้กล่าวกับมาร
ผู้มีบาปด้วยคาถาว่า
มาร รูป เสียง กลิ่น รส
และโผฏฐัพพะซึ่งเป็นที่รื่นรมย์ใจ
เราขอมอบให้ท่านผู้เดียว เราไม่ต้องการสิ่งนั้น
เราอึดอัดระอาด้วยกายเน่านี้
ที่มีแต่จะแตกทำลายเปื่อยพังไป
กามตัณหาเราถอนได้แล้ว
ความมืดในสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในรูปภพ
ที่ดำรงอยู่ในอรูปภพและในสมาบัติอันสงบทั้งปวง
เราก็กำจัดได้หมดแล้ว
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์เสียใจว่า “วิชยาภิกษุณีรู้จักเรา” จึงหายตัวไป
ณ ที่นั้นเอง
วิชยาสูตรที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A ดนตรีเครื่อง ๕ คือ อาตตะ โทน, วิตตะ ตะโพน, อาตตวิตตะ บัณเฑาะว์, ฆนะ กังสดาล, สุสิระ ปี่หรือสังข์
(ขุ.วิ.อ. ๓๔/๓๗)
บาลี
วิชยาสุตฺต
[๕๓๑] สาวตฺถีนิทาน ฯ อถ โข วิชยา ภิกฺขุนี ปุพฺพณฺหสมย
นิวาเสตฺวา ฯเปฯ อฺตรสฺมึ รุกฺขมูเล ทิวาวิหาร นิสีทิ ฯ
[๕๓๒] อถ โข มาโร ปาปิมา วิชยาย ภิกฺขุนิยา ภย ฯเปฯ
สมาธิมฺหา จาเวตุกาโม เยน วิชยา ภิกฺขุนี เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา วิชย ภิกฺขุนึ คาถาย อชฺฌภาสิ
ทหรา ตฺว รูปวตี อหฺจ ทหโร สุสุ
ปฺจงฺคิเกน ตุริเยน เอหยฺเยภิรมามฺหเสติ ฯ
[๕๓๓] อถ โข วิชยาย ภิกฺขุนิยา เอตทโหสิ โก นุ โข
อย มนุสฺโส วา อมนุสฺโส วา คาถ ภาสตีติ ฯ อถ โข วิชยาย
ภิกฺขุนิยา เอตทโหสิ มาโร โข อย ปาปิมา ฯเปฯ คาถ
ภาสตีติ ฯ อถ โข วิชยา ภิกฺขุนี มาโร อย ปาปิมา อิติ
วิทิตฺวา มาร ปาปิมนฺต คาถาหิ อชฺฌภาสิ
รูปา สทฺทา คนฺธา รสา โผฏฺพฺพา จ มโนรมา
นิยฺยาตยามิ ตุเยฺหว มาร น ๑ หิ เตน อตฺถิกา
อิมินา ปูติกาเยน ภินฺทเนน ปภงฺคุนา
อฏฺฏิยามิ หรายามิ กามตณฺหา สมูหตา
เย จ รูปูปคา สตฺตา เย จ อรูปภาคิโน ๒
ยา จ สนฺตา สมาปตฺติ สพฺพตฺถ วิหโต ตโมติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ชานาติ ม วิชยา ภิกฺขุนีติ ทุกฺขี ทุมฺมโน
ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ
******************
๑ ม. นาห ฯ ๒ ม. ยุ. อารุปฺปฏฺายิโน ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาวิชยาสูตร
ในวิชชาสูตรที่ ๔ มีวิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปญฺจงฺคิเกน ความว่าประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างนี้ คือ อาตตะ
กลองที่หุ้มหนังหน้าเดียว วิตตะหุ้มทั้งสองหน้าคือตะโพน อาตตวิตตะ หุ้มทั้ง
หมดมีบัณเฑาะว์เป็นต้น ฆนะคือ ฆ้อง สุสิระปี่และสังข์เป็นต้น. บทว่า
นิยฺยาตยามิ ตุยฺเหว ความว่า เราจะให้ดนตรีทั้งหมดแก่ท่านเท่านั้น. บทว่า
มาร น หิ เตน อตฺถิกา ความว่า เราไม่ต้องการดนตรีนั้น. บทว่า ปูติกาเยน
ความว่ากายแม้มีวรรณะดังทองคำ ก็ยังชื่อว่าเป็นกายเน่า เพราะอรรถว่าไหลเข้า
ไหลออกเป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น วิชยาภิกษุณีจึงกล่าวอย่างนั้น. บทว่า ภินฺทเนน
ได้แก่มีอันแตกไปเป็นสภาวะ. บทว่า ปภงฺคุนา ได้แก่ถึงความแหลกเป็น
ผุยผงเป็นธรรมดา. บทว่า อฏฺฏิยามิ แปลว่า อึดอัดอยู่. บทว่า หรายามิ
แปลว่าระอาอยู่. บทว่า สนฺตา สมาปตฺติ ความว่าโลกิยสมาบัติ ๘ อย่าง
ท่านกล่าวว่าสงบ เพราะสงบโดยอารมณ์ และสงบโดยองค์. บทว่า สพฺพตฺถ
ได้แก่ ในรูปภพและอรูปภพทั้งหมด. วิชยาภิกษุณีจึงกล่าวว่า แม้ความมืดคือ
อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว ในฐานะทั้งปวงเหล่านี้คือในกามภพ ที่ยึดถือเอาแล้ว
เพราะถือเอาภพ ๒ เหล่านั้น และในสมาบัติ ๘.
จบอรรถกถาวิชยาสูตรที่ ๔