15-157 ภิกษุหลายรูป
พระไตรปิฎก
๑. สัมพหุลสูตร
ว่าด้วยภิกษุหลายรูป
[๔๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นครศิลาวดี แคว้นสักกะ สมัยนั้น
ภิกษุหลายรูปเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ใกล้พระผู้มี
พระภาค
[๔๗๙] ครั้งนั้น มารผู้มีบาปแปลงกายเป็นพราหมณ์ สวมชฎาใหญ่ นุ่งหนังเสือ
เป็นคนแก่ หลังโกง หายใจเสียงดังครืดคราด ถือไม้เท้าทำด้วยไม้มะเดื่อ เข้าไปหา
ภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่แล้วจึงกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “บรรพชิตผู้เจริญทั้งหลาย
พวกท่านเป็นนักบวชที่ยังหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท อยู่ในวัยแรกรุ่นอันเจริญ แต่ไม่
เพลิดเพลินในกามคุณทั้งหลาย ขอพวกท่านจงบริโภคกามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์
พวกท่านอย่าละกามที่เห็นเฉพาะหน้าวิ่งไปหากามทิพย์อันมีอยู่ตามกาลเลย”
ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “พราหมณ์ พวกข้าพเจ้ามิได้ละกามที่เห็นเฉพาะหน้า
แล้ววิ่งไปหากามทิพย์อันมีอยู่ตามกาลเลย แต่พวกข้าพเจ้าละกามทิพย์อันมีอยู่ตาม
กาลแล้ววิ่งไปหาธรรมที่เห็นเฉพาะหน้า พราหมณ์ เพราะว่ากามทั้งหลายอันมีอยู่
ตามกาล พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษ
ยิ่งนัก ส่วนธรรมนี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” เมื่อภิกษุ
เหล่านั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มารผู้มีบาปจึงสั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าผากให้ย่น
เป็น ๓ รอย ยันไม้เท้าจากไป
[๔๘๐] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจ
อยู่ในที่ใกล้พระองค์ ณ ที่นี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีพราหมณ์คนหนึ่งสวมชฎาใหญ่
นุ่งหนังเสือ เป็นคนแก่ หลังโกง หายใจเสียงดังครืดคราด ถือไม้เท้าทำด้วยไม้มะเดื่อ
เข้ามาหาพวกข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ได้กล่าวกับพวกข้าพระองค์ดังนี้ว่า ‘บรรพชิต
ผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านเป็นนักบวชที่ยังหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท อยู่ในวัยแรกรุ่น
อันเจริญ แต่ไม่เพลิดเพลินในกามทั้งหลาย ขอพวกท่านจงบริโภคกามทั้งหลาย
อันเป็นของมนุษย์ พวกท่านอย่าละกามที่เห็นเฉพาะหน้าแล้ววิ่งไปหากามทิพย์อันมี
อยู่ตามกาลเลย’
เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว พวกข้าพระองค์ได้กล่าวกับพราหมณ์นั้นว่า
‘พราหมณ์ พวกข้าพเจ้ามิได้ละกามที่เห็นเฉพาะหน้าแล้ววิ่งไปหากามทิพย์อันมีอยู่
ตามกาลเลย แต่พวกข้าพเจ้าละกามทิพย์อันมีอยู่ตามกาลแล้ววิ่งไปหาธรรมที่เห็น
เฉพาะหน้า เพราะว่ากามทั้งหลายอันมีอยู่ตามกาล พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามี
ทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษยิ่งนัก ส่วนธรรมนี้เป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติ
จะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์นั้นสั่นศีรษะ
แลบลิ้น ทำหน้าผากให้ย่นเป็น ๓ รอย ยันไม้เท้าจากไป”
[๔๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นั่นมิใช่พราหมณ์ นั่นคือมารผู้มีบาป
มาเพื่อลวงพวกเธอให้หลงเข้าใจผิด”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้
ในเวลานั้นว่า
ผู้ใดเห็นทุกข์มีกามเป็นต้นเหตุแล้ว
ผู้นั้นจะพึงน้อมไปในกามได้อย่างไร
บุคคลทราบอุปธิว่าเป็นเครื่องข้องในโลกแล้ว
พึงศึกษาเพื่อกำจัดอุปธินั้น A
สัมพหุลสูตรที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A ดูเทียบคาถาข้อ ๑๕๖ หน้า ๒๐๐ ในเล่มนี้
บาลี
สมฺพหุลสุตฺต
[๔๗๘] เอวมฺเม สุต เอก สมย ภควา สกฺเกสุ วิหรติ
สิลาวติย ฯ เตน โข ปน สมเยน สมฺพหุลา ภิกฺขู ภควโต
อวิทูเร อปฺปมตฺตา อาตาปิโน ปหิตตฺตา วิหรนฺติ ฯ
[๔๗๙] อถ โข มาโร ปาปิมา พฺราหฺมณวณฺณ อภินิมฺมินิตฺวา
มหนฺเตน ชฏณฺฑุเวน อชินกฺขิปนิวตฺโถ ชิณฺโณ โคปานสิวงฺโก
ฆุรุฆุรุปสฺสาสี อุทุมฺพรทณฺฑ คเหตฺวา เยน เต ภิกฺขู เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา เต ภิกฺขู เอตทโวจ ทหรา ภวนฺโต ปพฺพชิตา สุสู
กาฬเกสา ภเทฺรน โยพฺพเนน สมนฺนาคตา ปเมน วยสา อนิกฺกีฬิตาวิโน
กาเมสุ ภฺุชนฺตุ ภวนฺโต มานุสเก กาเม มา สนฺทิฏฺิก
หิตฺวา กาลิก อนุธาวิตฺถาติ ฯ น โข มย พฺราหฺมณ สนฺทิฏฺิก หิตฺวา
กาลิก อนุธาวาม กาลิกฺจ โข มย พฺราหฺมณ หิตฺวา สนฺทิฏฺิก
อนุธาวาม กาลิกา หิ พฺราหฺมณ กามา วุตฺตา ภควตา พหุทุกฺขา
พหูปายาสา อาทีนโว เอตฺถ ภิยฺโย สนฺทิฏฺิโก อย ธมฺโม
อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺต เวทิตพฺโพ วิฺูหีติ ฯ
เอว วุตฺเต มาโร ปาปิมา สีส โอกมฺเปตฺวา ชิวฺห นิลฺลาเฬตฺวา
ติวิสาข นลาเฏน นลาฏิก วุฏฺาเปตฺวา ฑณฺฑโมลุพฺภ ปกฺกามิ ฯ
[๔๘๐] อถ โข เต ภิกฺขู ภควา เตนุปสงฺกมึสุ อุปสงฺกมิตฺวา
ภควนฺต อภิวาเทตฺวา เอกมนฺต นิสีทึสุ ฯ เอกมนฺต นิสินฺนา
โข เต ภิกฺขู ภควนฺต เอตทโวจุ อิธ มย ภนฺเต ภควโต
อวิทูเร อปฺปมตฺตา อาตาปิโน ปหิตตฺตา วิหราม อถ โข
ภนฺเต อฺตโร พฺราหฺมโณ มหนฺเตน ชฏณฺฑุเวน อชินกฺขิปนิวตฺโถ
ชิณฺโณ โคปานสิวงฺโก ฆุรุฆุรุปสฺสาสี อุทุมฺพรทณฺฑ คเหตฺวา
เยน มย เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา อเมฺห เอตทโวจ ทหรา
ภวนฺโต ปพฺพชิตา สุสู กาฬเกสา ภเทฺรน โยพฺพเนน สมนฺนาคตา
ปเมน วยสา อนิกฺกีฬิตาวิโน กาเมสุ ภฺุชนฺตุ ภวนฺโต
มานุสเก กาเม มา สนฺทิฏฺิก หิตฺวา กาลิก อนุธาวิตฺถาติ
เอว วุตฺเต มย ภนฺเต ต พฺราหฺมณ เอตทโวจุมฺห น โข
มย พฺราหฺมณ สนฺทิฏฺิก หิตฺวา กาลิก อนุธาวาม กาลิกฺจ
โข มย พฺราหฺมณ หิตฺวา สนฺทิฏฺิก อนุธาวาม กาลิกา หิ
พฺราหฺมณ กามา วุตฺตา ภควตา พหุทุกฺขา พหูปายาสา อาทีนโว
เอตฺถ ภิยฺโย สนฺทิฏฺิโก อย ธมฺโม อกาลิโก เอหิปสฺสิโก
โอปนยิโก ปจฺจตฺต เวทิตพฺโพ วิฺูหีติ เอว วุตฺเต ภนฺเต
โส พฺราหฺมโณ สีส โอกมฺเปตฺวา ชิวฺห นิลฺลาเฬตฺวา ติวิสาข
นลาเฏน นลาฏิก วุฏฺาเปตฺวา ทณฺฑโมลุพฺภ ปกฺกนฺโตติ ฯ
[๔๘๑] เนโส ภิกฺขเว พฺราหฺมโณ มาโร เอโส ปาปิมา
ตุมฺหาก วิจกฺขุกมฺมาย อาคโตติ ฯ อถ โข ภควา เอตมตฺถ
วิทิตฺวา ตาย เวลาย อิม คาถ อภาสิ
โย ทุกฺขมทฺทกฺขิ ยโตนิทาน
กาเมสุ โส ชนฺตุ กถ นเมยฺย
อุปธึ วิทิตฺวา สงฺโคติ โลเก
ตสฺเสว ชนฺตุ วินยาย สิกฺเขติ ฯ
อรรถกถา
อรรถกถาสัมพหุลสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสัมพหุลสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๓ ต่อไป:-
บทว่า ชฏณฺฑุเวน ได้แก่เทริดเซิงผม. บทว่า อชินกฺขิปนิวตฺโถ
ได้แก่หนึ่งเสือที่มีเล็บเท้างาม นุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง. บทว่า อุทุมฺพรทณฺฑํ
ได้แก่ถือไม้เท้าไม้มะเดื่อ คดนิดหน่อย เพื่อประกาศความเป็นผู้มักน้อย. บทว่า
เอตทโวจ ความว่า มารถือเพศนักบวชพราหมณ์แก่ เพราะเป็นนักบวชใน
จำพวกพราหมณ์ก็ดี เป็นผู้แก่ในจำพวกนักบวชก็ดี ด้วยเข้าใจว่าธรรมดาถ้อยคำ
ของพราหมณ์ รับฟังกันด้วยดีในโลก แล้วเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ผู้ทำกิจ ณ
ที่สำหรับทำความเพียร ยกมือทั้งสองขึ้น ได้กล่าวคำว่า ทหรา ภวนฺโต
เป็นต้นนั้น. บทว่า โอกมฺเปตฺวา แปลว่า เอาคางจดท้องค้อมตัวตัวลงต่ำ.
บทว่า ชิวฺหํ นิลฺลาเฬตฺวา ได้แก่แลบลิ้นใหญ่รับคำข้าว เสียไปสองข้าง
ทั้งข้างบนทั้งข้างล่าง. บทว่า ติวิสาขํ ได้แก่ ๓ รอย. บทว่า นลาฏิกํ ความ
ว่ารอยย่น ปรากฏที่หน้าผากอันสยิ้ว. บทว่า ปกฺกามิ ความว่า พราหมณ์แก่
กล่าวว่า พวกท่านไม่เชื่อคำของผู้รู้ จงเข้าไปที่เร้นของตนเถิด แล้วจับทาง
ไปทางหนึ่ง.
จบอรรถกถาสัมพหุลสูตรที่ ๑