15-155 มารแปลงกายเป็นชาวนา



พระไตรปิฎก


๙. กัสสกสูตร
ว่าด้วยมารแปลงกายเป็นชาวนา
[๔๗๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับ
เอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ที่ประกอบด้วยนิพพาน ภิกษุเหล่านั้นต่างใส่ใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมา
ด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตสดับธรรมอยู่
ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระสมณโคดมนี้ทรงชี้แจงให้ภิกษุ
ทั้งหลายเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า
ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยนิพพาน ฯลฯ ทางที่ดีเรา
พึงเข้าไปหาพระสมณโคดมถึงที่ประทับเพื่อลวงบริษัทให้หลงเข้าใจผิดเถิด”
[๔๗๑] ครั้งนั้นมารผู้มีบาปจึงแปลงกายเป็นชาวนาแบกไถใหญ่ ถือประตักด้ามยาว
ผมยาวรุงรังนุ่งผ้าเนื้อหยาบ เท้าทั้งสองเปื้อนโคลน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระสมณะ ท่านเห็นโคพลิพัทบ้างไหม”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มารผู้มีบาป ท่านต้องการอะไรเกี่ยวกับโคพลิพัท
ทั้งหลายเล่า”
มารกราบทูลว่า “ข้าแต่พระสมณะ จักขุ(ตา) เป็นของเรา รูปเป็นของเรา
อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากจักขุสัมผัส(ความกระทบทางตา) เป็นของเรา ท่านจะ
หนีเราไปไหนพ้น
โสตะ(หู) เป็นของเรา สัททะ(เสียง) เป็นของเรา ฯลฯ
ฆานะ(จมูก) เป็นของเรา คันธะ(กลิ่น) เป็นของเรา ฯลฯ
ชิวหา(ลิ้น) เป็นของเรา รสเป็นของเรา ฯลฯ
กายเป็นของเรา โผฏฐัพพะ(สัมผัสทางกาย) เป็นของเรา ฯลฯ
มโน(ใจ) เป็นของเรา ธรรมารมณ์เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก
มโนสัมผัส(ความกระทบทางใจ) เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น”
[๔๗๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มารผู้มีบาป จักขุเป็นของท่าน รูปเป็นของท่าน
อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากจักขุสัมผัสเป็นของท่านโดยแท้ แต่ในที่ใดไม่มีจักขุ
ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากจักขุสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน
โสตะเป็นของท่าน สัททะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก
โสตสัมผัส(ความกระทบทางหู) เป็นของท่าน แต่ในที่ใดไม่มีโสตะ ไม่มีสัททะ ไม่มี
อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากโสตสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน
ฆานะเป็นของท่าน คันธะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก
ฆานสัมผัส(ความกระทบทางจมูก) เป็นของท่าน ฯลฯ
ชิวหาเป็นของท่าน รสเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากชิวหา-
สัมผัส(ความกระทบทางลิ้น) เป็นของท่าน ฯลฯ
กายเป็นของท่าน โผฏฐัพพะเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดจาก
กายสัมผัส(ความกระทบทางกาย) เป็นของท่าน ฯลฯ
มโนเป็นของท่าน ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณ
อันเกิดจากมโนสัมผัส(ความกระทบทางใจ) เป็นของท่าน แต่ในที่ใดไม่มีมโน ไม่มี
ธรรมารมณ์ ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดจากมโนสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนิน
ของท่าน”
[๔๗๓] มารกราบทูลว่า
ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า ‘นี้ของเรา’
ทั้งยังกล่าวว่า ‘ของเรา’
ถ้าใจของท่านยังฝังอยู่ในสิ่งนั้น
สมณะ ท่านก็จะไม่พ้นจากเราไปได้
[๔๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา
ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา
มารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้
ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา
ลำดับนั้น มารผู้มีบาป ฯลฯ จึงหายตัวไป ณ ที่นั้นเอง
กัสสกสูตรที่ ๙ จบ

บาลี



กสฺสกสุตฺต
[๔๗๐] สาวตฺถีนิทาน ฯ เตน โข ปน สมเยน ภควา ภิกฺขู
นิพฺพานปฏิสยุตฺตาย ธมฺมิยา กถาย สนฺทสฺเสติ สมาทเปติ สมุตฺเตเชติ
สมฺปหเสติ ฯ เต จ ภิกฺขู อฏฺิกตฺวา มนสิกตฺวา สพฺพเจตโส
สมนฺนาหริตฺวา โอหิตโสตา ธมฺม สุณนฺติ ฯ อถ โข มารสฺส
ปาปิมโต เอตทโหสิ อย โข สมโณ โคตโม ภิกฺขู นิพฺพานปฏิสยุตฺตาย
ธมฺมิยา กถาย ฯเปฯ ยนฺนูนาห เยน สมโณ โคตโม
เตนุปสงฺกเมยฺย วิจกฺขุกมฺมายาติ ฯ
[๔๗๑] อถ โข มาโร ปาปิมา กสฺสกวณฺณ อภินิมฺมินิตฺวา
มหนฺต นงฺคล ขนฺเธ กริตฺวา ทีฆ ปาจนยฏฺึ คเหตฺวา หฏหฏเกโส
สาณสาฏกนิวตฺโถ ๑ กทฺทมมกฺขิเตหิ ปาเทหิ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺต เอตทโวจ อปิ สมณ พลิพทฺเท อทฺทสาติ ฯ
กึ ปน ปาปิม เต พลิพทฺเทหีติ ฯ มเมว สมณ จกฺขุ มม รูปา
มม จกฺขุสมฺผสฺสวิฺาณายตน กุหึ เม สมณ คนฺตฺวา โมกฺขสิ
มเมว สมณ โสต มม สทฺทา ฯเปฯ มเมว สมณ ฆาน มม
คนฺธา ฯเปฯ มเมว สมณ ชิวฺหา มม รสา ฯเปฯ มเมว
สมณ กาโย มม โผฏฺพฺพา ฯเปฯ มเมว สมณ มโน มม
ธมฺมา มม มโนสมฺผสฺสวิฺาณายตน กุหึ เม สมณ คนฺตฺวา
โมกฺขสีติ ฯ
[๔๗๒] ตเวว ปาปิม จกฺขุ ตว รูปา ตว จกฺขุสมฺผสฺสวิฺาณายตน
ยตฺถ จ โข ปาปิม นตฺถิ จกฺขุ นตฺถิ รูปา
นตฺถิ จกฺขุสมฺผสฺสวิฺาณายตน อคติ ตว ตตฺถ ปาปิม ตเวว
ปาปิม โสต ตว สทฺทา ตว โสตสมฺผสฺสวิฺาณายตน ยตฺถ
จ โข ปาปิม นตฺถิ โสต นตฺถิ สทฺทา นตฺถิ โสตสมฺผสฺสวิฺาณายตน
อคติ ตว ตตฺถ ปาปิม ตเวว ปาปิม ฆาน
ตว คนฺธา ตว ฆานสมฺผสฺสวิฺาณายตน ยตฺถ จ โข ปาปิม
นตฺถิ ฆาน นตฺถิ คนฺธา นตฺถิ ฆานสมฺผสฺสวิฺาณายตน อคติ
ตว ตตฺถ ปาปิม ตเวว ปาปิม ชิวฺหา ตว รสา ตว ชิวฺหาสมฺผสฺส-
วิฺาณายตน ฯเปฯ ตเวว ปาปิม กาโย ตว โผฏฺพฺพา
ตว กายสมฺผสฺสวิฺาณายตน ฯเปฯ ตเวว ปาปิม มโน ตว
ธมฺมา ตว มโนสมฺผสฺสวิฺาณายตน ยตฺถ จ โข ปาปิม
นตฺถิ มโน นตฺถิ ธมฺมา นตฺถิ มโนสมฺผสฺสวิฺาณายตน อคติ
ตว ตตฺถ ปาปิมาติ ฯ
[๔๗๓] ย วทนฺติ มมยิทนฺติ เย วทนฺติ มมนฺติ จ
เอตฺถ เจ เต มโน อตฺถิ น เม สมณ โมกฺขสีติ ฯ
[๔๗๔] ย วทนฺติ น ต มยฺห เย วทนฺติ น เต อห
เอว ปาปิม ชานาหิ น เม มคฺคมฺปิ ทกฺขสีติ ฯ
อถ โข มาโร ปาปิมา ฯเปฯ ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ

******************

๑ ยุ. สาณสาฏินิวตฺโถ ฯ

อรรถกถา


อรรถกถากัสสกสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกัสสกสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
บทว่า นิพฺพานปฏิสํยุตฺตาย ได้แก่ ที่อ้างพระนิพพานเป็นไปแล้ว.
บทว่า ทฏหฏเกโส ได้แก่ นำผมหน้าไว้ข้างหลัง นำผมหลังไว้ข้างหน้า
นำผมข้างซ้ายไว้ข้างขวา นำผมข้างขวาไว้ข้างซ้าย ชื่อว่า มีผมกระจายยุ่งเหยิง
บทว่า มม จกฺขุสมฺผสฺสวิญฺาณายตนํ ได้แก่ จักษุสัมผัสที่ประกอบด้วย
จักขุวิญญาณ. จักษุสัมผัสนั้นก็ดี วิญญาณายตนะก็ดี เป็นของเรา. ก็ในคำว่า
มเมว ของเรานี้ ท่านถือเอาธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วยวิญญาณ ด้วยจักษุสัมผัส
ถือเอาวิญญาณทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้น ที่เกิดในจักษุทวารแม้ทั้งหมด
ด้วยวิญญาณายตนะ. ถึงในโสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ในมโนทวาร
ภวังคจิต เป็นไปโดยการรับอารมณ์ ชื่อว่ามโน. ธรรมที่เป็นอารมณ์ทั้งหลาย
ชื่อว่า ธรรม. สัมผัสที่ประกอบด้วยภวังคจิตอันเป็นไปด้วยอาวัชชนะ ชื่อว่า
มโนสัมผัส. ชวนจิต ชื่อว่า วิญญาณายตนะ แม้ตทารัมมณะก็เป็นไป.
บทว่า ตเวว ปาปิม จกฺขุํ ความว่า จักษุใด อันโรคที่ทำความมืด
เป็นต้นในโลกเข้าขัดขวาง เป็นบ่อเกิดแห่งโรคมากอย่าง ทำให้แห้งให้กระด้าง ๆ
โดยที่สุด ตาก็บอด เหตุนั้น จักษุนั้นทั้งหมดเป็นอย่างนั้นนั่นแหละ. แม้ในรูป
เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ยํ วทนฺติ จ ความว่า บุคคลเหล่าใดกล่าวถึง
สิ่งใด ว่านี้เป็นของเรา. บทว่า มมนฺติ จ ความว่า และบุคคลเหล่าใดกล่าวว่า
ของเรา. บทว่า เอตฺถ เจ เต มโน อตฺถิ ความว่า ผิว่า จิตของท่านมีอยู่ใน
ฐานะเหล่านี้ไซร้. บทว่า น เม สมณ โมกฺขิสิ แปลว่า ท่านจักไม่หลุดพ้น
จากวิสัยของเรา. บทว่า ยํ วทนฺติ ความว่า บุคคลทั้งหลายกล่าวถึงสิ่งใด
สิ่งนั้น ไม่ใช่ของเรา. บทว่า เย วทนฺติ ความว่า บุคคลแม้เหล่าใดกล่าว
อย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นก็ไม่ใช่เรา. บทว่า น เม มคฺคมฺปิ ทกฺขสิ ความว่า
ท่านก็ไม่เห็นแม้แต่ทางไปของเรา ในภพกำเนิดและคติเป็นต้น.
จบอรรถกถากัสสกสูตรที่ ๙

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!