27-420 นายสุมังคละ



พระไตรปิฎก


๔. สุมังคลชาดก
ว่าด้วยนายสุมังคละ

(พระราชาตรัสกับอำมาตย์ว่า)
{๑๑๔๖} [๒๗] ผู้เป็นใหญ่รู้ตัวว่าเรากำลังโกรธจัดก็อย่าเพิ่งลงโทษ
เพราะผู้ลงโทษอันไม่เหมาะสมแก่ตนโดยขาดเหตุผลแล้ว
จะพึงก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลอื่นอย่างมากมาย
{๑๑๔๗} [๒๘] เมื่อใดผู้เป็นใหญ่รู้สึกว่าตนมีจิตผ่องใส
พึงพิจารณาคดีที่คนอื่นทำผิด
เมื่อพิจารณาด้วยตนเองว่า คดีเป็นอย่างนี้ ๆ
เมื่อนั้นพึงลงโทษตามความเหมาะสมแก่เขา
{๑๑๔๘} [๒๙] ส่วนผู้ใดไม่ลำเอียง พิจารณาความเหมาะสมและไม่เหมาะสม
ผู้นั้นชื่อว่าไม่เบียดเบียนผู้อื่นและตนเอง
ผู้เป็นใหญ่คนใดในโลกนี้ลงโทษตามสมควร
ผู้นั้นย่อมมีคุณงามความดีคุ้มครอง ไม่เสื่อมจากสิริ
{๑๑๔๙} [๓๐] กษัตริย์เหล่าใดทรงลำเอียง ไม่ทรงพิจารณาก่อนกระทำ
ทรงรีบลงพระอาชญา
กษัตริย์เหล่านั้นมีโทษอันน่าติเตียน
สวรรคตพ้นจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่ทุคติ
{๑๑๕๐} [๓๑] กษัตริย์เหล่าใดทรงยินดีในธรรมที่อริยชนประกาศไว้แล้ว
กษัตริย์เหล่านั้นนับว่าทรงยอดเยี่ยม
ด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
กษัตริย์เหล่านั้นทรงดำรงมั่นอยู่ในธรรม
คือ ขันติ โสรัจจะ และสมาธิ
ทรงไปสู่โลกทั้ง ๒ โดยวิธีเช่นนั้น
{๑๑๕๑} [๓๒] เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าชายและหญิง
ถึงแม้เราจะโกรธก็จะหักห้ามความโกรธได้
ดำรงตนไว้อย่างนั้นต่อชุมชน
จะอนุเคราะห์ลงอาชญาโดยธรรม
(นายสุมังคละกล่าวสดุดีพระราชาว่า)
{๑๑๕๒} [๓๓] ขอเดชะพระบรมกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่แห่งหมู่ชน
ขอพระสิริสมบัติอย่าได้ละพระองค์ในกาลไหน ๆ เลย
ขอพระองค์อย่าทรงกริ้ว มีพระราชหฤทัยผ่องใสอยู่เป็นนิตย์
ปราศจากความทุกข์ รักษาพระองค์อยู่ตลอด ๑๐๐ ปีเถิด
{๑๑๕๓} [๓๔] ขอเดชะพระบรมกษัตริย์
ขอพระองค์จงทรงประกอบด้วยคุณธรรมเหล่านี้ คือ
ทรงมีพระอริยวัตรอันมั่นคง ทรงรับอนุสาสนีโดยง่าย
ไม่ทรงกริ้ว ทรงพระสำราญ
ปกครองแผ่นดินโดยปราศจากการเบียดเบียน
อนึ่ง พระองค์แม้เสด็จพ้นจากโลกนี้ไปแล้ว ขอจงเสด็จสู่สุคติเถิด
{๑๑๕๔} [๓๕] พระธรรมิกราชาธิราชเมื่อทรงปกครองโดยกุศโลบาย
อันชอบธรรม ด้วยเหตุที่เหมาะสม ด้วยคำอันเป็นสุภาษิต
พึงทำมหาชนผู้มีความกระวนกระวายให้เย็นใจ
ดุจมหาเมฆยังเมทนีดลให้ชุ่มฉ่ำด้วยน้ำ
สุมังคลชาดกที่ ๔ จบ

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.