27-408 นายช่างหม้อ



พระไตรปิฎก


๓. กุมภการชาดก
ว่าด้วยนายช่างหม้อ

(พระปัจเจกพุทธเจ้า ๔ องค์กล่าวกับพระโพธิสัตว์องค์ละคาถาว่า)
{๑๐๕๗} [๙๐] อาตมาได้เห็นต้นมะม่วงกลางป่า เขียวชะอุ่ม
งอกงาม ผลิดอกออกผลสะพรั่ง
อาตมาได้เห็นมะม่วงต้นนั้นถูกทำลาย เพราะผลเป็นเหตุ
ครั้นเห็นเช่นนั้นจึงเที่ยวภิกขาจาร (ออกบวช)
{๑๐๕๘} [๙๑] กำไลแก้วคู่หนึ่งที่นายช่างผู้ชาญฉลาดเจียรไนแล้ว
เป็นของเกลี้ยงเกลา ที่สตรีสวมใส่ย่อมไม่เกิดเสียงดัง A
แต่เพราะสวมใส่วงที่ ๒ เข้าจึงได้มีเสียงดัง
อาตมาเห็นเช่นนั้นแล้วจึงเที่ยวภิกขาจาร
{๑๐๕๙} [๙๒] นกจำนวนมากพากันรุมจิกตีนกตัวหนึ่ง
ซึ่งกำลังคาบชิ้นเนื้อมาอยู่เพราะอาหารเป็นเหตุ
อาตมาได้เห็นเช่นนั้นแล้วจึงเที่ยวภิกขาจาร
{๑๐๖๐} [๙๓] อาตมาได้เห็นโคผู้มีหนอกกระเพื่อม
มีสีสันและมีกำลังอยู่ท่ามกลางฝูงโค
อาตมาได้เห็นมันขวิดโคผู้ตัวหนึ่งเพราะกามเป็นเหตุ
ครั้นเห็นเช่นนั้นแล้วจึงเที่ยวภิกขาจาร
(พระโพธิสัตว์กล่าวกับภรรยาว่า)
{๑๐๖๑} [๙๔] พระเจ้ากรัณฑกะ ราชาแห่งแคว้นกาลิงคะ
พระเจ้านัคคชิ ราชาแห่งแคว้นคันธาระ
พระเจ้านิมิราช ราชาแห่งแคว้นวิเทหะ
และพระเจ้าทุมมุขะ ราชาแห่งแคว้นปัญจาละ
ทรงละทิ้งแคว้นเหล่านั้นแล้ว
หมดความกังวล ทรงผนวชแล้ว
{๑๐๖๒} [๙๕] แม้พระราชาทุกพระองค์เสมอด้วยเทพเจ้า
เสด็จมาประชุมกัน ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟที่ลุกโชน
นี่น้องหญิงผู้มีโชค ถึงพี่ก็จะเป็นเหมือนพระราชาเหล่านี้
จักละกามซึ่งมีประการต่าง ๆ แล้วเที่ยวไปผู้เดียว
(ภรรยากล่าวว่า)
{๑๐๖๓} [๙๖] เวลานี้เท่านั้นเหมาะที่จะบวช เวลาอื่นไม่เหมาะ
ภายหลังคงจะไม่มีผู้ที่จะพร่ำสอนดิฉัน
ท่านผู้มีโชค ถึงดิฉันก็จักเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนสกุณีที่รอดพ้นจากมือคน
(พระโพธิสัตว์กล่าวว่า)
{๑๐๖๔} [๙๗] พวกเด็ก ๆ รู้จักของดิบ ของสุก ของเค็ม และของจืด
อาตมาเห็นเช่นนั้นแล้วจึงบวช
น้องหญิงจงเที่ยวภิกขาจารไปเถิด
อาตมาก็จะเที่ยวภิกขาจารไป
กุมภการชาดกที่ ๓ จบ
เชิงอรรถ
A สวมใส่ย่อมไม่เกิดเสียงดัง หมายถึงสวมข้างละวง (ขุ.ชา.อ. ๕/๙๑/๑๗๗)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.