27-377 เสตเกตุดาบส



พระไตรปิฎก


๒. เสตเกตุชาดก
ว่าด้วยเสตเกตุดาบส

(พระโพธิสัตว์เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์สอนมาณพเสตเกตุผู้เป็นหัวหน้าศิษย์ว่า)
{๘๓๗} [๘] พ่อเอ๋ย เจ้าอย่าโกรธ เพราะความโกรธไม่ดีเลย
ทิศที่เจ้ายังไม่ได้เห็น ยังไม่ได้ยินมีอีกมาก
พ่อเสตเกตุ มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า
พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญอาจารย์ว่าเป็นทิศเบื้องขวา
{๘๓๘} [๙] คฤหัสถ์ถวายข้าว น้ำ และผ้า กล่าวนิมนต์ผู้ใด
แม้ผู้นั้นพระอริยะทั้งหลายย่อมเรียกว่า เป็นทิศเบื้องบน
เสตเกตุ ทิศนี้เป็นทิศที่ยอดเยี่ยม
เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีทุกข์ถึงแล้วย่อมเป็นสุข
(พระราชาทรงเห็นดาบสทั้งหลายบำเพ็ญตบะผิด จึงตรัสสนทนากับปุโรหิตว่า)
{๘๓๙} [๑๐] ชฎิลเหล่าใดนุ่งห่มหนังสัตว์ที่ขรุขระ
มีขี้ฟันเขรอะ ร่างกายสกปรก สาธยายมนต์อยู่
ชฎิลเหล่านั้นประกอบหน้าที่การงานของมนุษย์
จะรู้แจ้งโลกนี้แล้วพ้นจากอบายได้หรือ
(ปุโรหิตกราบทูลว่า)
{๘๔๐} [๑๑] ขอเดชะพระราชา หากบุคคลถึงจะเป็นพหูสูต
กระทำแต่กรรมชั่ว ก็ชื่อว่าไม่ประพฤติธรรม
เขาแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น
แต่ไม่บรรลุจรณธรรม A ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้
(เสตเกตุดาบสกล่าวกับปุโรหิตนั้นว่า)
{๘๔๑} [๑๒] บุคคลแม้จะมีพระเวทตั้งพัน อาศัยความเป็นพหูสูตนั้น
แต่ไม่บรรลุจรณธรรม ก็พ้นจากทุกข์ไม่ได้
อาตมาเข้าใจว่า พระเวททั้งหลายเป็นสิ่งที่ไร้ผล
จรณธรรมพร้อมทั้งความสำรวม B เท่านั้นเป็นสัจจะ
(ปุโรหิตได้กล่าวว่า)
{๘๔๒} [๑๓] พระเวททั้งหลายจะไร้ผลก็หาไม่
จรณธรรมพร้อมทั้งความสำรวมเท่านั้นเป็นสัจจะ
เพราะบุคคลบรรลุพระเวททั้งหลายแล้วย่อมได้เกียรติ
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้วด้วยจรณธรรมย่อมบรรลุความสงบ C
เสตเกตุชาดกที่ ๒ จบ
เชิงอรรถ
A จรณธรรม ในที่นี้หมายถึงศีลและสมาบัติ ๘ (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๑/๑๑)
B ความสำรวม ในที่นี้เป็นชื่อของศีล (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๒/๑๑)
C ความสงบ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (ขุ.ชา.อ. ๕/๑๓/๑๒)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.