27-055 พระกุมารผู้มีอาวุธ 5 อย่าง



พระไตรปิฎก


๕. ปัญจาวุธชาดก
ว่าด้วยพระกุมารผู้มีอาวุธ ๕ อย่าง

(พระศาสดาทรงประมวลพระธรรมเทศนา A มาตรัสพระคาถานี้ว่า)
{๕๕} [๕๕] นรชนใดมีจิตไม่ย่อท้อ มีใจไม่หดหู่
บำเพ็ญกุศลธรรมเพื่อบรรลุความเกษมจากโยคะ B
นรชนนั้นพึงบรรลุความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ C ทั้งปวงได้โดยลำดับ
ปัญจาวุธชาดกที่ ๕ จบ
เชิงอรรถ
A ธรรม ในที่นี้หมายถึงโพธิปักขิยธรรม คือธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้
มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ (ขุ.ชา.อ. ๒/๕๕/๕๒)
B โยคะ หมายถึงสภาวะที่ประกอบสัตว์ไว้ในภพ มี ๔ ประการ คือ
(๑) กามโยคะ โยคะคือกาม
(๒) ภวโยคะ โยคะคือภพ
(๓) ทิฏฐิโยคะ โยคะคือทิฏฐิ
(๔) อวิชชาโยคะ โยคะคืออวิชชา
(ที.ปา. ๑๑/๓๕๔/๒๔๖, องฺ.จตุกฺก.(แปล) ๒๑/๑๐/๑๖)
C สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกใจสัตว์ มี ๑๐ ประการ คือ
(๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
(๒) วิจิกิจฉา ความสงสัย
(๓) สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลและพรต
(๔) กามฉันทะ ความพอใจในกาม
(๕) พยาบาท ความคิดร้าย
(๖) รูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน
(๗) อรูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน
(๘) มานะ ความถือตน
(๙) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
(๑๐) อวิชชา ความไม่รู้จริง
(สํ.ม. ๑๙/๑๘๐-๑๘๑/๕๖-๕๗)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.