27-037 นกกระทา



พระไตรปิฎก


๗. ติตติรชาดก
ว่าด้วยนกกระทา

(พระศาสดาทรงติเตียนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้ไม่มีความเคารพยำเกรงต่อภิกษุผู้
แก่กว่า จึงตรัสว่า)
{๓๗} [๓๗] นรชนเหล่าใดฉลาดในธรรม A
ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อบุคคลผู้เจริญ B ทั้งหลาย
นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ได้รับการสรรเสริญในปัจจุบัน
และมีสุคติภพในเบื้องหน้า
ติตติรชาดกที่ ๗ จบ
เชิงอรรถ
A ธรรม ในที่นี้หมายถึงความประพฤติยำเกรงต่อบุคคลผู้เจริญ
(ขุ.ชา.อ. ๑/๓๗/๓๐๑)
B ผู้เจริญมี ๓ ประเภท คือ
(๑) เจริญโดยชาติ
(๒) เจริญโดยวัย
(๓) เจริญโดยคุณ (ขุ.ชา.อ. ๑/๓๗/๓๐๑)
หมายเหตุ : อ่านคำอธิบายใน อรรถกถา

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


๗. อรรถกถกาติตติรชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จไปยังนครสาวัตถีทรงปรารภการห้ามเสนาสนะพระ
สารีบุตร จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริมต้นว่า เย วุฑฺฒมปจายนฺติ
ดังนี้.
ความพิศดารว่า เมื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี สร้างวิหารเสร็จแล้ว
ส่งทูตไป (นิมนต์) พระศาสดาเสด็จออกจากนครราชคฤห์ ถึงนครเวสาลี
ประทับอยู่ในนครเวสาลีนั้น ตามความพอพระทัย แล้วทรงพระดำริว่า จักไป
นครสาวัตถี จึงเสด็จดำเนินไปตามทาง. สมัยนั้น อันเตวาสิกทั้งหลายของภิกษุ
ฉัพพัคคีย์พากันล่วงหน้าไป เมื่อพระเถระทั้งหลายยังไม่ได้จับจองเสนาสนะเลย
พากันหวงเสนาสนะด้วยการพูดว่า เสนาสนะนี้จักเป็นของอุปัชฌาย์ของพวกเรา
เสนาสนะนี้จักเป็นของอาจารย์ของพวกเรา เสนาสนะนี้จักเป็นของพวกเราเท่า
นั้น. พระเถระทั้งหลายที่มาภายหลัง ย่อมไม่ได้เสนาสนะ อันเตวาสิกทั้งหลาย
แม้ของพระสารีบุตรเถระพากันแสวงหาเสนาสนะเพื่อพระเถระ ก็ไม่ได้. พระ-
เถระเมื่อไม่ได้เสนาสนะจึงยับยั้งอยู่ ด้วยการนั่งและการเดินจงกรม ที่โคนไม้
แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลเสนาสนะของพระศาสดานั้นเอง. ในเวลาใกล้รุ่ง พระ-
ศาสดาเสด็จออกมาทรงพระกาสะ (ไอ) พระเถระก็ไอขึ้น. พระศาสดาตรัส
ถามว่า นั้นใคร ? พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าพระองค์สารีบุตร พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสถามว่า สารีบุตร เธอทำอะไรอยู่ในที่นี้ในเวลานี้ พระสารี-
ครั้นจึงกราบทูลเรื่องราวนั้น. เมื่อพระศาสดาได้ทรงสดับคำของพระสารีบุตร
แล้วทรงรำพึงว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ในบัดนี้ ภิกษุทั้งหลายยังไม่เคารพไม่
ยำเกรงกันและกันก่อน เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลายจักทำอย่างไรกัน
หนอ ธรรมสังเวชก็เกิดขึ้น. เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระองค์จึงรับสั่งให้ภิกษุ
สงฆ์ประชุมกัน แล้วสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า
ภิกษุฉัพพัคคีย์ล่วงหน้าไปเกียดกันเสนาสนะ ของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระจริง
หรือ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริงพระเจ้าข้า
แต่นั้น พระองค์จึงทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์แล้วตรัสธรรมกถา ตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครหนอย่อมควรแก่อาสนะอันเลิศ น้ำ
อันเลิศ ก้อนข้าวอันเลิศ. ภิกษุบางพวกกราบทูลว่า ผู้บวชจากขัตติยตระกูล.
บางพวกกราบทูลว่า ผู้บวชจากตระกูลพราหมณ์. บางพวกกราบทูลว่า ผู้บวช
จากตระกูลคฤหบดี. ภิกษุอีกพวกหนึ่งกราบทูลว่า พระวินัยธร พระธรรมกถึก
ท่านผู้ได้ปฐมฌาน ท่านผู้ได้ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน. อีกพวกหนึ่ง
กราบทูลว่า พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ท่าน
ผู้มีวิชชา ๓ ท่านผู้มีอภิญญา ๖ ย่อมควรแก่อาสนะเลิศ น้ำเลิศ ก้อนข้าวเลิศ.
ในเวลาที่ภิกษุทั้งหลายกล่าวถึงท่านผู้ควรแก่อาสนะเลิศเป็นต้น ตามความชอบ
ใจของตน ๆ อย่างนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ถึงอาสนะ
เลิศเป็นต้นในศาสนาของเราจะต้องเป็นผู้บวชจากตระกูลกษัตริย์ ห้าเป็นประ-
มาณไม่ ผู้บวชจากตระกูลพราหมณ์ ตระกูลคฤหบดี พระวินัยธร พระนัก
พระสูตร พระนักอภิธรรม ท่านผู้ได้ปฐมฌานเป็นต้น พระโสดาบัน เป็นต้น
หาเป็นประมาณไม่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ในศาสนานี้ ควรกระทำ
การอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามผู้แก่กว่า ควรได้
อาสนะเลิศ น้ำเลิศ ก้อนข้าวเลิศ ตามผู้ที่แก่กว่า นี้เป็นประมาณในศาสนานี้
เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้แก่กว่าเป็นผู้สมควรแก่อาสนะเลิศเป็นต้นเหล่านั้น ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็บัดนี้แล สารีบุตรอัครสาวกของเรา ผู้ประกาศธรรมจักรตามได้
ควรได้เสนาสนะติดกับเรา สารีบุตรนั้นเมื่อไม่ได้เสนาสนะ จึงยับยั้งอยู่ที่โคนไม้
ตลอดราตรีนี้ บัดนี้แหละ เธอทั้งหลายไม่เคารพ ไม่ยำเกรง มีความประพฤติ
ไม่เป็นสภาคกันอย่างนี้ เมื่อเวลาล่วงไป ๆ จักกระทำชื่อว่าอะไรอยู่. ลำดับนั้น
เพื่อต้องการจะประทานโอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้นจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ในกาลก่อน แม้สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย ก็พากันคิดว่า ก็ข้อที่พวกเราไม่เคารพ
ไม่ยำเกรง มีความประพฤติไม่เป็นสภาคกันและกันนั่น ไม่สมควรแก่พวกเรา
บรรดาเราทั้งหลาย พวกเราจักรู้ผู้ที่แก่กว่า แล้วกระทำอภิวาทเป็นต้นแก่ผู้แก่
กว่านั้น จึงพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้วรู้ว่า บรรดาเราทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็น
ผู้แก่กว่า จึงกระทำอภิวาทเป็นต้น แก่ผู้แก่กว่านั่น ยังทางไปเทวโลกให้เต็มอยู่
แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล มีสหายทั้งสาม คือนกกระทา ลิง ช้าง อาศัยต้นไทร
ใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ในหิมวันประเทศ. สหายทั้งสามนั้น ได้เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำ
เกรง มีความประพฤติไม่เป็นสภาคกันและกัน. ลำดับนั้น สหายทั้งสามนั้น
ได้มีความคิดดังนี้ว่า การที่เราทั้งหลายอยู่กันอย่างนี้ไม่สมควร ถ้ากระไร พวก
เราพึงกระทำอภิวาทเป็นต้น แก่บรรดาพวกเราผู้แก่กว่าอยู่. สหายทั้งสามคิดกัน
อยู่ว่า บรรดาพวกเรา ก็ใครเล่าเป็นผู้ที่แก่กว่า วันหนึ่งคิดกันว่า อุบายนี้มี
อยู่ จึงทั้ง ๓ สัตว์ นั่งอยู่ที่โคนต้นไทร นกกระทำและลิงจึงถามช้างว่า ดู
ก่อนช้างผู้สหาย ท่านรู้จักต้นไทรนี้ ตั้งแต่กาลมีประมาณเพียงไร ? ช้างนั้น
กล่าวว่า ดูก่อนสหายทั้งหลาย ในเวลาเป็นลูกช้างรุ่นเราเดินทำพุ่มต้นไทรนี้ไว้
ในระหว่างขาอ่อน ก็แหละในเวลาที่เรายืนคร่อมอยู่ ยอดของมันระท้องเรา
เมื่อเป็นอย่างนี้ เราจึงรู้จักต้นไทรนี้ ตั้งแต่เวลายังเป็นพุ่ม. สหายแม้ทั้งสองจึง
ถามลิงโดยนัยก่อนนั่นแหละอีก. ลิงนั้นกล่าวว่า สหายทั้งหลายเราเป็นลูกลิง
นั่งอยู่ที่ภาคพื้น ไม่ต้องชะเง้อคอเลย เคี้ยวกินหน่อของไทรอ่อนนี้ เมื่อเป็น
อย่างนี้ เราจึงรู้จักต้นไทรนี้ ตั้งแต่เวลายังเป็นต้นเล็ก ๆ ลำดับนั้น สหาย
แม้ทั้งสองนอกนี้จึงถามนกกระทำ โดยนัยก่อนนั่นแหละ. นกกระทานั้นกล่าว
ว่า สหายทั้งหลาย เมื่อก่อน ต้นไทรใหญ่ได้มีอยู่ในที่ชื่อโน้น เรากินผลของ
มันแล้วถ่ายอุจจาระลงในที่นี้ แต่นั้น ต้นนี้จึงเกิดเป็นอย่างนั้น เราจึงรู้จักต้น
ไทรนี้ ตั้งแต่มันยังไม่เกิด เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้แก่กว่าท่านทั้งหลายโดย
กำเนิด. เมื่อนกกระทำกล่าวอย่างนี้ ลิงและช้างจึงกล่าวกะนกกระทำผู้เป็น
บัณฑิตว่า สหาย ท่านเป็นผู้แก่กว่าเราทั้งหลาย จำเดิมแต่นี้ไป พวกเราจัก
กระทำสักการะ การเคารพ การนับถือ การไหว้ การบูชา และการอภิวาท
การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ท่าน และจักตั้งอยู่ในโอวาทของ
ท่าน อนึ่ง ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงให้โอวาทและอนุศาสนีแก่เราทั้งหลาย ตั้งแต่
นั้นมา นกกระทาได้ให้โอวาทแก่ลิงและช้างเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ในศีล แม้ในเอง
ก็สมาทานศีล. สหายแม้ทั้งสามนี้นั่งอยู่ในศีล ๕ มีความเคารพยำเกรงกันและ
กัน มีความประพฤติเป็นสภาคกัน ในเวลาสิ้นชีวิต ได้เป็นผู้มีเทวโลกเป็นที่
ไปในเบื้องหน้า. การสมาทานของสหายทั้งสามนั้น ได้ชื่อว่าติตติรพรหมจรรย์
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชื่อว่าสัตว์ดิรัจฉานเหล่า
นั้น ยังมีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกันอยู่ ฝ่ายเธอทั้งหลายก็บวชใน
พระธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุไร จึงไม่เคารพยำเกรงกัน
และกันอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่นี้ไป เราอนุญาตการอภิวาท การลุกรับ
การอัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามผู้ที่แก่กว่า อาสนะเลิศ น้ำเลิศ ก้อนข้าว
เลิศ ตามผู้ที่แก่กว่า แก่เธอทั้งหลาย ทั้งแต่นี้ไปผู้ใหม่กว่าไม่พึงห้ามเสนาสนะ
ผู้แก่กว่า ภิกษุใดห้าม ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏดังนี้ ครั้นทรงนำพระธรรม
เทศนานี้มาอย่างนี้แล้ว ทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้
ว่า
นรชนเหล่าใด ฉลาดในธรรม นอบน้อมคนผู้
ใหญ่ นรชนเหล่านั้น เป็นผู้ได้รับความสรรเสริญใน
ปัจจุบันนี้ และมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย วุฑฺฒมปจายนฺติ ความว่า ผู้ใหญ่
๓ จำพวก คือ ผู้ใหญ่โดยชาติ ๑ ผู้ใหญ่โดยวัย ๑ ผู้ใหญ่โดยคุณ ๑ บรรดาผู้
ใหญ่ ๓ พวกนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติชื่อว่า ผู้ใหญ่โดยชาติ. ผู้ตั้งอยู่ในวัย
ชื่อว่าผู้ใหญ่โดยวัย ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ ชื่อว่าผู้ใหญ่โดยคุณ. บรรดาผู้ใหญ่ ๓
พวกนั้น ผู้เจริญด้วยวัย สมบูรณ์ด้วยคุณ ท่านประสงค์ว่า ผู้ใหญ่ใน
ที่นี้. บทว่า อปจายนฺติ ความว่า บูชาด้วยกรรมคือการอ่อนน้อมต่อท่านผู้
เจริญ. บทว่า ธมฺมสฺส โกวิทา ได้แก่ ผู้ฉลาดในธรรมคือการประพฤติ
อ่อนน้อมต่อผู้เจริญ. บทว่า ทิฏฺเฐ ธมฺเม ได้แก่ ในอัตภาพนี้เอง. บทว่า
ปาสํสา แปลว่า ควรแก่การสรรเสริญ. บทว่า สมฺปราโย จ สุคฺคติ
ความว่า ชื่อว่า เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะจะต้องไปในเบื้องหน้า คือ จะ
พึงละโลกนี้ไป ด้วยว่าโลกหน้า ย่อมเป็นสุคติของนรชนเหล่านั้นทีเดียว. ก็
ในที่นี้มีความหมายที่ประมวลมาดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จะเป็นกษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิตหรือสัตว์ดิรัจฉานก็ตาม สัตว์
เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้เฉลียวฉลาดในธรรมคือการอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ กระทำ
การนอบน้อมต่อผู้ใหญ่โดยวัยทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ สัตว์เหล่านั้นย่อม
ได้การสรรเสริญ คือพรรณนา ชมเชยในอัตภาพนี้แหล่ะว่า เป็นผู้อ่อนน้อม
ต่อผู้เจริญที่สุด เพราะกายแตกไปแล้ว ย่อมบังเกิดในสวรรค์.
พระศาสดาตรัสคุณของธรรม คือการอ่อนน้อมต่อผู้เจริญอย่างนี้แล้ว
ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า ช้างผู้ประเสริฐในกาลนั้น ได้เป็น
พระโมคคัลลานะ ลิงในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนนก
กระทาผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นเราเองแล.
จบติตติรชาดกที่ ๙

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.