27-028 โคนันทิวิสาล



พระไตรปิฎก


๘. นันทิวิสาลชาดก
ว่าด้วยโคนันทิวิสาล

(พระศาสดาทรงติเตียนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้พูดคำหยาบคาย
ตรัสนันทิวิสาลชาดกนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า)
{๒๘} [๒๘] บุคคลควรพูดแต่คำที่น่าพอใจเท่านั้น
ไม่ควรพูดคำที่ไม่น่าพอใจในเวลาไหน ๆ
เมื่อพราหมณ์พูดคำที่น่าพอใจ
โคนันทิวิสาลจึงลากสัมภาระอันหนักไปได้
ทั้งยังทำให้พราหมณ์ได้ทรัพย์อีกด้วย
ส่วนตนเองก็ปลื้มใจ เพราะการช่วยเหลือนั้น
นันทิวิสาลชาดกที่ ๘ จบ

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


๘. อรรถกถานันทิวิสาลชาดก
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการพูด
เสียดแทงให้เจ็บใจ ของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า มนุญฺเมว ภาเสยฺย ดังนี้.
ความพิศดารว่า สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อกระทำการทะเลาะ
ย่อมขู่ ย่อมตะเพิด ย่อมทิ่มแทง ย่อมด่าด้วยเรื่องสำหรับด่า ๑๐ ประการ
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้
เรียกภิกษุฉัพพัคคีย์มาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าพวกเธอ
กระทำการทะเลาะจริงหรือ ? เมื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์กราบทูลว่า จริง พระเจ้า
ข้า จึงทรงติเตียนแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าวาจาหยาบกระทำ
แต่ความฉิบหายให้ ไม่เป็นที่พอใจแม้แห่งสัตว์ดิรัจฉาน แม้ในกาลก่อน
สัตว์ดิรัจฉานตัวหนึ่ง ย่อมยังคนผู้ร้องเรียกตนด้วยคำหยาบให้พ่ายแพ้ด้วย
ทรัพย์พันหนึ่ง แล้วจึงทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.
ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่าคันธาระ ครองราชสมบัติอยู่ใน
เมืองตักกศิลา แคว้นคันธาระ พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดโค. ครั้งในกาล
ที่พระโพธิสัตว์เป็นลูกโคหนุ่มนั่งเอง พราหมณ์คนหนึ่งได้พระโพธิสัตว์นั้น
จากสำนักของทายกผู้ให้ทักษิณา ตั้งชื่อว่านันทิวิสาล แล้วตั้งไว้ในฐานะบุตร
รักใคร่มาก ให้ข้าวยาคูและภัตเป็นต้นบำรุงเลี้ยงแล้ว. พระโพธิสัตว์เจริญวัย
แล้ว คิดว่า พราหมณ์นี้ปรนนิบัติเราได้โดยยาก ชื่อว่าโคอื่นผู้มีธุระเสมอ
เช่นกับเรา ย่อมไม่มีในชมพูทวีปทั้งสิ้น ถ้ากระไร เราพึงแสดงกำลังของตน
แล้วพึงให้ค่าเลี้ยงดูแก่พราหมณ์. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกล่าวกะพราหมณ์
ว่า พราหมณ์ท่านจงไป จงเข้าไปหาโควินทกเศรษฐีนั่น แล้วกล่าวว่า โค
พลิพัทของเรายังเกวียนร้อยเล่มซึ่งผูกติด ๆ กันให้เคลื่อนไปได้ ท่านจง
กระทำการเดิมพันด้วยทรัพย์พันกหาปณะพราหมณ์นั้น จึงไปยังสำนักของเศรษฐี
สั่งสนทนาขึ้นว่า ในนครนี้โคของใครเพียบพร้อมด้วยเรี่ยวแรง. ลำดับนั้น
เศรษฐีจึงกล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า ของตนโน้นและของตนโน้น แล้วกล่าวว่า
ก็ทั่วทั้งนครโคชื่อว่าเช่นกับด้วยโคทั้งหลายของเรา ย่อมไม่มี. พราหมณ์กล่าว
ว่า โคของเราตัวหนึ่งสามารถให้เกวียนร้อยเล่มผูกติด ๆ กันเคลื่อนไปได้ มี
อยู่. เศรษฐีกล่าวว่า คฤหบดี โคเห็นปานนี้จะมีแต่ไหน. พราหมณ์กล่าวว่า
อยู่ในเรือนของเรา. เศรษฐีกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงการทำเดิมพัน.
พราหมณ์กล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจะทำ แล้วได้กระทำเดิมพันด้วยทรัพย์พัน
กหาปณะ พราหมณ์นั้นยังเกวียนร้อยเล่มให้เต็มด้วยทราย กรวด และหินเป็นต้น
แล้วจอดไว้ตามลำดับกัน แล้วผูกเกวียนทุกเล่มเข้าด้วยกันด้วยเชือกสำหรับผูก
เพลาแล้วให้โคนันทิวิสาลอาบน้ำแล้ว เจิมด้วยของหอม ประดับพวงมาลาที่คอ
แล้วเทียมเฉพาะตัวเท่านั้นที่ทูบเกวียนเล่มแรก ตนเองนั่งที่ทูบเกวียน เงื้อปฏัก
ขึ้นแล้วกล่าวว่า เจ้าโคโกง จงลากไป เจ้าโคโกง จงนำไป. พระโพธิสัตว์คิด
ว่า พราหมณ์นี้ร้องเรียกเราผู้ไม่โกง ด้วยวาทะว่าโกง จึงได้ยืนทำเท้าทั้ง ๔
ให้นั่ง เหมือนเสา. ทันใดนั้น เศรษฐีจึงให้พราหมณ์นำทรัพย์พันกหาปณะมา.
พราหมณ์แพ้ (พนัน) ด้วยทรัพย์พันกหาปณะ จึงปลดโคแล้วไปเรือนถูกความ
โศกครองงำ จึงได้นอน. โคนันทิวิสาลเที่ยวไปแล้วกลับมา เห็นพราหมณ์
ถูกความโศกครองงำ จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า พราหมณ์ ท่านนอนหลับหรือ.
พราหมณ์กล่าวว่าเราแพ้พนันด้วยทรัพย์พันกหาปณะ จะมีความหลับมาแต่ไหน.
โคนันทิวิสาลกล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ฉันอยู่ในเรือนของท่านมาตลอดกาลมี
ประมาณเท่านี้ เคยทำภาชนะอะไร ๆ แตก เคยเหยียบใคร ๆ หรือเคยถ่าย
อุจจาระ ปัสสาวะ ในที่อันไม่ควร มีอยู่หรือ. พราหมณ์กล่าวว่า ไม่มีดอกพ่อ.
ลำดับนั้น โคนันทิวิสาลกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงเรียก
ฉันด้วยวาทะว่าโคโกง นั้นเป็นโทษของท่านเท่านั้นโทษของฉันไม่มี ท่านจงไป
จงทำเดิมพันด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะกับเศรษฐีนั้น ขออย่างเดียวท่านอย่า
เรียกฉันผู้ไม่โกง ด้วยวาทะว่าโคโกง พราหมณ์ได้ฟังคำของโคนันทิวิสาลนั้น
แล้ว ปการทำเดิมพันด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะแล้วผูกเกวียนร้อยเล่มติดกัน
โดยนัยอันมีแล้วในก่อน ประดับโคนันทิวิสาลแล้วเทียมเกวียนเล่มแรกเข้าที่
ทูบเกวียน. ถามว่า เทียมอย่างไร ? ตอบว่า พราหมณ์ผูกแอกให้แน่นที่ทูบ
เกวียนแล้ว เทียมโคนันทิวิสาลเข้าที่ปลายแอกข้างหนึ่งแล้วเอาเชือกที่ทูบเกวียน
พันปลายแอกข้างหนึ่งแล้วใส่ไม้ค้ำยันปลายแอก เพลา และเชิงเกวียนเอาเชือก
นั้นผูกให้แน่นแล้วจอดไว้ ก็เมือกระทำอย่างนี้ แอกย่อมไม่เคลื่อนไปทางโน้น
ทางนี้ โคตัวเดียวเท่านั้น อาจลากไปได้ ลำดับนั้น พราหมณ์นั่งบนทูบเกวียน
ลูบหลังโคนันทิวิสาลนั้นพลางกล่าวว่า โคผู้เจริญ พ่อจงไป โคผู้เสริญ พ่อจง
ลากไป. พระโพธิสัตว์ลากเกวียนร้อยเล่มที่ผูกติดกัน ด้วยกำลังแรงครั้งเดียว
เท่านั้น ให้เกวียนเล่มที่ตั้งอยู่ข้างหลังไปตั้งอยู่ในที่ของเกวียนซึ่งตั้งอยู่ข้างหน้า
โควินทกเศรษฐีแพ้แล้วได้ให้ทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะแก่พรหมณ์ มนุษย์แม้
อื่น ๆ ก็ได้ให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่พระโพธิสัตว์ ทรัพย์ทั้งหมดนั้น ได้เป็นของ
พราหมณ์ทั้งนั้น พราหมณ์นั้นอาศัยพระโพธิสัตว์จึงได้ทรัพย์เป็นอันมากด้วย
ประการอย่างนี้.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าคำหยาบไม่เป็นที่ชอบใจ
ของใคร ๆ แล้วทรงติเตียนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท เป็น
พระผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
บุคคลพึงกล่าวแต่คำที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่พึง
กล่าวคำที่ไม่น่าพอใจ ในกาลไหน ๆ เมื่อพราหมณ์
กล่าวคำที่น่าพอใจโคนันทิวิสาลได้ลากเอาภาระหนัก
ไปได้ ทำพราหมณ์ผู้นั้นให้ได้ทรัพย์ด้วย ตนเองก็
เป็นผู้ปลื้มใจเพราะการช่วยเหลือนั้นด้วย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุญฺเมว ภาเสยฺย ความว่า บุคคล
เมื่อจะกล่าวกับคนอื่น พึงกล่าวเฉพาะปิยวาจาอันอ่อนหวานอ่อนโยนเป็นที่
น่าพอใจไพเราะเว้นจากโทษ ๔ ประการ. บทว่า ครุภารํ อุททฺธริ ความว่า
โคนันทิวิสาล เมื่อพราหมณ์กล่าวคำที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่ลากภาระ เมื่อพราหมณ์
กล่าวคำเป็นที่รัก น่าพอใจในภายหลัง จึงลากภาระหนักไปให้ถึง. ก็ ท อักษร
ในบทว่า อุททฺธริ นั้นในคาถานี้ เป็นอักษรทำการเชื่อมบท โดยการเชื่อม
พยัญชนะแล.
พระศาสดาครั้น ทรงนำพระธรรมเทศนานี้ว่า มนุญฺเมว ภาเสยฺย
มาด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในกาลนั้น ได้
เป็นพระอานนท์ ส่วนโคนันทิวิสาล ได้เป็นเราคือพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าแล.
จบนันทิวิสาลชาดกที่ ๘

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.