27-011 เนื้อชื่อลักขณะ



พระไตรปิฎก


๑. ลักขณชาดก
ว่าด้วยเนื้อชื่อลักขณะ

(พญาเนื้อโพธิสัตว์เห็นลูกทั้ง ๒ กำลังมา จึงกล่าวกับหมู่ญาติว่า)
{๑๑} [๑๑] ประโยชน์ A ย่อมมีแก่ผู้มีศีล ผู้กระทำการต้อนรับเป็นปกติ
เธอจงดูลูกเนื้อชื่อลักขณะ ที่หมู่ญาติแวดล้อมกลับมา
และจงดูลูกเนื้อชื่อกาฬะนี้ที่เสื่อมจากหมู่ญาติ
ลักขณชาดกที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงความเจริญ (ขุ.ชา.อ. ๑/๑๑/๒๐๔)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


๑. อรรถกถาลักขณชาดก
พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยพระนครราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระ
เวฬวันมหาวิหาร ทรงปรารภ พระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า โหติ สีลวตํ อตฺโถ ดังนี้ เรื่องพระเทวทัตจนถึงการประกอบ
กรรมคือ การฆ่าอย่างหนัก จักมีแจ้งในกัณฑหาลชาดก เรื่องการปล่อยช้าง
ธนปาลกะ. จักมีแจ้งในจุลลหังสชาดก และการถูกแผ่นดินสูบ จักมีแจ้งใน
สมุททพาณิชชาดก ในทวาทสนิบาต.
สมัยหนึ่ง พระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕ ประการ เมื่อไม่ได้จึงทำลายสงฆ์
พาภิกษุ ๕๐๐ ไปอยู่ที่คยาสีสประเทศ ครั้งนั้นญาณของภิกษุเหล่านั้น ได้ถึง
ความแก่กล้าแล้ว พระศาสดาทรงทราบดังนั้น จึงตรัสเรียกพระอัครสาวกทั้ง
สองมาว่า ดูก่อนสารีบุตรและโมคคัลลานะ ภิกษุ ๕๐๐ ผู้เป็นนิสิตของพวก
เธอ ชอบใจลัทธิของเทวทัตไปกับพระเทวทัตแล้ว ก็บัดนี้ญาณของภิกษุเหล่า
นั้นถึงความแก่กล้าแล้ว พวกเธอจงไปที่นั้นพร้อมกับภิกษุจำนวนมาก แสดง
ธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ให้ภิกษุเหล่านั้นตรัสรู้มรรคผลแล้วจงพามา พระ-
อัครสาวกทั้งสองนั้นจึงไปที่คยาสีสประเทศนั้นนั่นแหละ แสดงธรรมแก่ภิกษุ
เหล่านั้น ให้ตรัสรู้ธรรมด้วยมรรคผลแล้ว วันรุ่งขึ้นเวลาอรุณขึ้น จึงพาภิกษุ
เหล่านั้นมายังพระเวฬุวันวิหารนั้นเทียว ก็แลในเวลาที่พระสารีบุตรเถระมา
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่ ภิกษุทั้งหลายพากันสรรเสริญพระเถระ
แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเสนาบดี
พี่ชายใหญ่ของข้าพระองค์ทั้งหลาย อันภิกษุ ๕๐๐ แวดล้อมมาอยู่ งดงามเหลือ
เกิน ส่วนพระเทวทัตเป็นผู้มีบริวารเสื่อมแล้ว พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สารีบุตรอันหมู่ญาติแวดล้อมมาย่อมงดงาม แต่ในบัดนี้ เท่านั้นก็หามิได้
แม้ในกาลก่อนก็งดงามเหมือนกัน ฝ่ายพระเทวทัตเสื่อมจากหมู่ญาติในบัดนี้
เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เสื่อมมาแล้วเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายทูล
อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อให้ทรงประกาศเรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง พระผู้มี
พระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดไว้ ให้ปรากฏดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล พระเจ้ามคธพระองค์หนึ่ง ครองราชสมบัติในนคร
ราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในกำเนิด
มฤคชาติ พอเติบโต มีเนื้อหนึ่งพันเป็นบริวารอยู่ในป่า พระโพธิสัตว์นั้นมี
ลูก ๒ ตัว คือ ลักขณะ และ กาฬะ. ในเวลาที่ตนแก่ พระโพธิสัตว์นั้น
กล่าวว่า ลูกพ่อทั้งสอง บัดนี้ พ่อแก่แล้ว เจ้าทั้งสองจงปกครองหมู่เนื้อนี้ แล้ว
ให้บุตรและคนรับมอบเนื้อคนละ ๕๐๐ ตั้งแต่นั้น เนื้อแม้ทั่งสองก็ปกครอง
หมู่เนื้อ. ก็ในแคว้นมคธ ในสมัยข้าวกล้าอันเต็มไปด้วยข้าวกล้า อันตราย
ย่อมเกิดแก่เนื้อทั้งหลายในป่า เนื่องจากพวกมนุษย์ต้องการฆ่าพวกเนื้อที่มา
กินข้าวกล้า จึงขุดหลุมพรางปักขวาก ห้อยหินยนต์ [ฟ้าทับเหว] ดักบ่วงมีบ่วง
ลวงเป็นต้น เนื้อเป็นอันมากพากันถึงความพินาศ พระโพธิสัตว์รู้คราวที่เต็ม
ไปด้วยข้าวกล้า จึงให้เรียกลูกทั้งสองมากล่าวว่า พ่อทั้งสอง สมัยนี้เป็นสมัย
ที่เต็มแน่นไปด้วยข้าวกล้า เนื้อเป็นอันมากพากันถึงความพินาศ เราแก่แล้ว
จักยับยั้งอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง พวกเจ้าจงพาหมู่เนื้อของพวก
เจ้า เข้าไปยังเชิงเขาในป่าในเวลาเขาถอนข้าวกล้าแล้วจึงค่อยมา บุตรทั้งสอง
นั้นรับคำของบิดาแล้ว พร้อมด้วยบริวารพากันออกไป ก็พวกมนุษย์ทั้งหลาย
ย่อมรู้หนทางที่พวกเนื้อเหล่านั้นไปและมาว่า ในเวลานี้ พวกเนื้อกำลังลงจาก
ภูเขา ในเวลานี้กำลังขึ้นภูเขา มนุษย์เหล่านั้นพากันนั่งในที่กำลัง ณ ที่นั้น
แทงเนื้อเป็นอันมากให้ตาย ฝ่ายเนื้อกาฬะ เพราะความที่ตัวโง่ จึงไม่รู้ว่า เวลา
ชื่อนี้ควรไป จึงพาหมู่เนื้อไปทางประตูบ้าน ทั้งในเวลาเช้าและเวลาเย็น ทั้ง
เวลาพลบค่ำ และเวลาใกล้รุ่ง พวกมนุษย์ยืนและนั่งตามปรกตินั่นแล อยู่ใน
ที่นั้น ๆ ยังเนื้อเป็นอันมากให้ถึงความพินาศ เนื้อกาฬะนั้นให้เนื้อเป็นอันมาก
ถึงความพินาศ เพราะความที่ตนเป็นผู้โง่เขลาอย่างนี้ จึงเข้าป่าด้วยเนื้อมี
ประมาณน้อยเท่านั้น.
ส่วนเนื้อลักขณะเป็นบัณทิตมีปัญญา ฉลาดในอุบายรู้ว่า เวลานี้ควร
ไป เนื้อลักขณะนั้นไม่ไปทางประตูบ้าน ไม่ไปเวลากลางวันบ้าง ไม่ไปเวลา
พลบค่ำบ้าง เวลาใกล้รุ่งบ้าง พาหมู่เนื้อไปเวลาเที่ยงคืนเท่านั้น เพราะฉะนั้น
เนื้อลักขณะจึงไม่ทำเนื้อแม้ตัวหนึ่งให้พินาศเข้าป่าไปแล้ว เนื้อเหล่านั้นอยู่ใน
ป่านั้น ๕ เดือน เมื่อพวกมนุษย์ถอนข้าวกล้าแล้ว จึงพากันลงจากภูเขา เนื้อ
กาฬะแม้ไปภายหลัง ก็ทำแม้เนื้อทั้งหมดให้ถึงความพินาศ โดยนัยก่อนนั่นแหละ
ผู้เดียวเท่านั้นมาแล้ว ส่วนเนื้อลักขณะแม้เนื้อตัวเดียวก็ไม่ให้พินาศ อันเนื้อ
๕๐๐ ตัวแวดล้อมมายิ่งสำนักของบิดามารดา ฝ่ายพระโพธิสัตว์เห็นบุตรทั้งสอง
มา เมื่อปรึกษาหารือกับนางเนื้อ จึงกล่าวคาถาว่า
ความจริงย่อมมีแก่คนทั้งหลายผู้มีศีล ผู้ประพฤติ
ในการปฏิสันถาร ท่านจงดูเนื้อชื้อลักขณะ ผู้อันใหม่
ญาติแวดล้อมกลับมาอยู่ อนึ่ง ท่านจงดู เนื้อชื่อกาฬะ
นี้ ผู้เสื่อมจากหมู่ญาติ กลับมาแต่ผู้เดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวตํ ความว่า ชื่อว่าผู้มีศีล คือ
สมบูรณ์ด้วยอาจาระ เพราะมีความสุขเป็นปกติ. บทว่า อตฺโถ ได้แก่
ความเจริญ. ปฏิสนฺถารวุตฺตินํ ชื่อว่า ผู้มีปกติประพฤติโนปฏิสันถาร เพราะ
มีปกติประพฤติในธรรมปฏิสันถาร และอามิสปฏิสันถารนั้น แก่ชนเหล่านั้น
ผู้มีปกติประพฤติในปฏิสันถาร ก็ในที่นี้ พึงทราบธรรมปฏิสันถารเช่นห้ามทำ
บาป การโอวาท และอนุศาสน์ เป็นต้น พึงทราบอามิสปฏิสันถารเช่นการให้
ได้ที่หากิน การบำรุงเฝ้าไข้ และการรักษาอันประกอบด้วยธรรม ท่านกล่าว
คำอธิบายนี้ไว้ว่า ชื่อว่าความเจริญย่อมมีแก่ชนผู้เป็นบัณฑิต ผู้เพียบพร้อม
ด้วยอาจาระผู้ตั้งอยู่ในปฏิสันถาร ๒ เหล่านั้น บัดนี้ พระโพธิสัตว์เมื่อจะเรียก
มารดาของเนื้อเพื่อจะแสดงความเจริญนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ท่านจงดูเนื้อ
ชื่อลักขณะ ดังนี้ ในคำที่กล่าวนั้นมีความสังเขปดังนี้.
เธอจงดูบุตรของตนผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระและปฏิสันถาร ไม่ทำแม้เนื้อ
ตัวหนึ่งให้พินาศอันหมู่ญาติกระทำไว้ข้างหน้า คือห้อมล้อมมาอยู่ แต่เออ ก็เธอ
จงดูเนื้อชื่อกาฬะนี้ ผู้มีปัญญาเขลา ผู้ละเว้นจากสัมปทา คือ อาจาระและ
ปฏิสันถาร ผู้เสื่อมจากญาติทั้งหลาย ไม่เหลือญาติแม้สักตัวมาแต่ผู้เดียว.
ก็พระโพธิสัตว์ชื่นชมบุตรอย่างนี้แล้ว ดำรงอยู่ชั่วอายุ ได้ไปตาม
ยถากรรมแล้ว.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรอันหมู่ญาติห้อม
ล้อม ย่อมงดงามในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็งดงามเหมือนกัน
พระเทวทัตเสื่อมจากหมู่คณะในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เสื่อม
แล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสเรื่อง ๒
เรื่อง สืบอนุสนธิต่อกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า เนื้อกาฬะในครั้งนั้น
ได้เป็นเทวทัต แม้บริษัทของเนื้อกาฬะนั้น ในกาลนั้น ได้เป็น
บริษัทของพระเทวทัต เนื้อชื่อลักขณะในกาลนั้น ได้เป็นพระสารี-
บุตร แม้บริษัทของเนื้อลักขณะในกาลนั้น ได้เป็นพุทธบริษัท.
มารดาในครั้งนั้น ได้เป็นพระมารดาของพระราหุล ส่วนบิดาใน
ครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.
จบลักขณชาดกที่ ๑

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.