25-024 พระนางสามาวดี
พระไตรปิฎก
๑. สามาวตีวัตถุ
เรื่องพระนางสามาวดี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
{๑๒} [๒๑] ความไม่ประมาท A เป็นทางแห่งอมตะ B
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
คนผู้ไม่ประมาทชื่อว่าย่อมไม่ตาย
คนผู้ประมาทจึงเหมือนคนตายแล้ว C
[๒๒] บัณฑิตทราบความต่างกัน
ระหว่างความไม่ประมาทกับความประมาทนั้น
แล้วตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
ย่อมบันเทิงใจในความไม่ประมาท
ยินดีในทางปฏิบัติของพระอริยะทั้งหลาย D
[๒๓] บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์เหล่านั้น เพ่งพินิจ E
มีความเพียรต่อเนื่อง มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
ย่อมบรรลุนิพพานอันเป็นสภาวะยอดเยี่ยม ปลอดจากโยคะ F
เชิงอรรถ
A ความไม่ประมาท นี้เป็นชื่อของสติ (ขุ.ธ.อ. ๒/๖๐)
B ทางแห่งอมตะ หมายถึงอุบายบรรลุอมตะ คำว่า อมตะ (ไม่ตาย)หมายถึงนิพพาน
นิพพานนั้นแล ที่ชื่อว่า ไม่แก่ ไม่ตาย เพราะไม่เกิด (ขุ.ธ.อ. ๒/๖๐)
C ดูเทียบ ขุ.ชา. (แปล) ๒๗/๓๓๒/๕๘๘
D ทางปฏิบัติของพระอริยะ หมายถึงโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น และโลกุตตรธรรม ๙ ประการ (ขุ.ธ.อ. ๒/๖๑)
E เพ่งพินิจ หมายถึงการเพ่งพินิจด้วยจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่มี ๒ อย่าง
คือ อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่งอารมณ์ ได้แก่สมาบัติ ๘)
และลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค และผล)
(ขุ.ธ.อ.๒/๖๑-๖๕)
F โยคะ หมายถึงสภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพมี ๔ ประการ คือ
กาม ภพ ทิฏฐิ และอวิชชา
(ขุ.ธ.อ.๒/๖๒, ขุ.ธ.อ. ๘/๙๓,๑๐๙, ขุ.อุ.อ. ๑๙/๑๖๗)
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต