25-010 พระจักขุบาลเถระ
พระไตรปิฎก
๑. จักขุปาลเถรวัตถุ
เรื่องพระจักขุบาลเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
{๑๑} [๑] ธรรมทั้งหลาย A มีใจ B เป็นหัวหน้า C
มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
ถ้าคนมีใจชั่ว ก็จะพูดชั่วหรือทำชั่วตามไปด้วย
เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมติดตามเขาไป
เหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น
เชิงอรรถ
A ธรรมทั้งหลาย มีความหมาย ๔ ประการ คือ
(๑) คุณธรรม
(๒) เทศนาธรรม
(๓) ปริยัติธรรม
(๔) นิสสัตตธรรม (สภาวะที่มิใช่สัตว์) หรือนิชชีวธรรม (สภาวะที่มิใช่ชีวะ)
ในที่นี้หมายถึงนิสสัตตธรรม ได้แก่ อรูปขันธ์ ๓
คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์
(ขุ.ธ.อ. ๑/๒๐-๒๑) และดู ขุ.ชา. (แปล)๒๗/๓๘๖/๕๓๗ ประกอบ
B ใจ หมายถึงจิต ๔ ระดับ คือ จิตระดับกามาวจรภูมิ จิตระดับรูปาวจรภูมิ
จิตระดับอรูปาวจรภูมิ และจิตระดับโลกุตตรภูมิ แต่ในที่นี้หมายเอาจิตที่มีโทมนัส
ประกอบด้วยปฏิฆะ เดิมทีเดียว จิตนั้นเป็นภวังคจิต คือเป็นจิตที่ผ่องใส(ปภัสสรจิต)
แต่เมื่อถูกเจตสิกธรรมฝ่ายชั่ว กล่าวคืออุปกิเสสธรรมจรมากระทบเข้า
ก็กลาย เป็นจิตเศร้าหมองที่เรียกว่า ใจชั่ว
ซึ่งพร้อมที่จะแสดงพฤติกรรมออกมาทางกายและวาจา (ขุ.ธ.อ. ๑/๒๐)
C เป็นหัวหน้า หมายถึงเป็นหัวหน้าของเจตสิกธรรม
กล่าวคือเป็นเหตุปัจจัยให้เจตสิกธรรมเกิดขึ้น (ขุ.ธ.อ. ๑/๒๑)
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต