25-003 อาการ 32
พระไตรปิฎก
๓. ทวัตติงสาการ
ว่าด้วยอาการ ๓๒
{๓} ในร่างกายนี้มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต A
หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม B ปอด
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า
ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา
เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร C และมันสมอง
ทวัตติงสาการ จบ
เชิงอรรถ
A ไต แปลจากคำว่า “วกฺก” (โบราณแปลว่า ม้าม) ได้แก่ ก้อนเนื้อ ๒ ก้อนมีขั้วเดียวกัน
รูปร่างคล้ายลูกสะบ้าของเด็กๆ หรือคล้ายผลมะม่วง ๒ ผลที่ติดอยู่ในขั้วเดียวกัน
มีเอ็นใหญ่รึงรัดจากลำคอลงไปถึงหัวใจ แล้วแยกออกห้อยอยู่ทั้ง ๒ ข้าง
(ขุ.ขุ.อ.๓/๔๓), พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕
ให้บท นิยามคำว่า “ไต” ว่า “อวัยวะคู่หนึ่งของคนและสัตว์
อยู่ในช่องท้องใกล้กระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ”,
Buddhadatta Mahathera, A. Concise Pali-English Dictionary, 1985, (224),
และ Rhys Davids, T.W. Pali-English Dictionary, 1921-1925, (591)
ให้ความหมาย ของคำว่า “วกฺก” ตรงกันกับคำว่า “ไต” (Kidney)
B ม้าม แปลจากคำว่า “ปิหก” ตาม (ขุ.ขุ.อ. ๓/๔๕) (โบราณแปลว่า ไต),
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้บทนิยามไว้ว่า
“อวัยวะภายในร่างกาย ริมกระเพาะอาหารข้างซ้ายมีหน้าที่ทำลายเม็ดเลือดแดง
สร้างเม็ดน้ำเหลืองและสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย”
C มูตร หมายถึงน้ำปัสสาวะที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
(ขุ.ขุ.อ. ๓/๕๗, วิสุทฺธิ.๑/๒๑๓/๒๘๘) และดู องฺ.ฉกฺก.(แปล) ๒๒/๒๙/๔๖๙
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต