25-002 สิกขาบท 10 ประการ



พระไตรปิฎก


๒. ทสสิกขาบท
ว่าด้วยสิกขาบท A ๑๐ ประการ

{๒} ๑. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือเจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจากการถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของมิได้ให้
๓. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือเจตนางดเว้นจากพฤติกรรมอันมิใช่ พรหมจรรย์B
๔. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือเจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ
๕. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  C  คือเจตนางดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุรา 
และเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท
๖. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือเจตนางดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาลD
๗. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือเจตนางดเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง 
บรรเลงดนตรี และดูการละเล่นอันเป็น ข้าศึกต่อกุศล E
๘. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือเจตนางดเว้นจากการทัดทรงประดับ 
ตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและ เครื่องลูบไล้ F
๙. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือเจตนางดเว้นจากการนอนบนที่นอน 
สูงและที่นอนใหญ่
๑๐. ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท  คือเจตนางดเว้นจากการรับทองและเงิน
ทสสิกขาบท จบ
เชิงอรรถ
A สิกขาบท แยกศัพท์อธิบายดังนี้ สิกขา + บท คำว่า สิกขา หมายถึงสิ่งที่จะต้องศึกษา ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา คำว่า บท หมายถึงอุบายเครื่องบรรลุ (ปชฺชเต อเนนาติ ปทํ) หมายถึงพื้นฐาน(มูละ) หมายถึง ที่อาศัย(นิสสยะ) และหมายถึงที่ตั้ง(ปติฏฐะ) ดุจในคำว่า “สีลํ นิสฺสาย สีเล ปติฏฺฐาย สตฺต โพชฺฌงฺเค ภาเวนฺโต พหุลีกโรนฺโต” เป็นต้น (สํ.ม. ๑๙/๑๘๒/๕๘) ดังนั้น สิกขาบท จึงหมายถึงอุบายเครื่องบรรลุสิ่งที่ จะต้องศึกษา และหมายถึงพื้นฐาน ที่อาศัย หรือที่ตั้งแห่งสิ่งที่จะต้องศึกษา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา คำว่า “สิกขาบท” มีความหมายเท่ากับคำว่า “เวรมณี” ดังบทวิเคราะห์ว่า “เวรมณี เอว สิกฺขาปทํ” จึงมีพระบาลีว่า “เวรมณีสิกฺขาปทํ” แปลว่า สิกขาบทคือเจตนางดเว้น คำว่า “เจตนางดเว้น” หมายถึงการงด (วิรัติ) การไม่ทำ(อกิริยา) การไม่ต้องอาบัติ(อนัชฌาบัติ) การไม่ล่วงละเมิดขอบเขต(เวลาอนติกกมะ) รวมถึงการกำจัดกิเลสด้วยอริยมรรคที่เรียกว่า เสตุ (เสตุฆาตะ) (ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๗๐๔/๔๔๗)
ในที่นี้หมายถึงศีล ๑๐ สำหรับสามเณร เป็นต้น (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๕-๑๗) และดูเทียบ วิ.ม. (แปล) ๔/๑๐๕-๑๐๖/๑๖๘-๑๖๙
B พฤติกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ หมายถึงเจตนาที่จะเสพเมถุนธรรม(พฤติกรรมของคนคู่กัน) หรือเจตนาที่ แสดงออกทางกายโดยมุ่งหมายจะเสพเมถุนธรรม (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๗)
C อรรถกถาอธิบายว่า สุราและเมรัยเป็นของมึนเมา และมีสิ่งอื่นอีกที่เป็นของมึนเมา (ตทุภยเมว (สุราเมรยํ) มทนียฏฺเฐน มชฺชํ, ยํ วา ปนญฺญมฺปิ กิญฺจิ มทนียํ) จึงอาจแปลตามนัยนี้ว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนางดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย และของมึนเมาอันเป็นเหตุแห่งความประมาท (ขุ.ขุ.อ. ๒/๑๘)
D เวลาวิกาล ในที่นี้หมายถึงเวลาที่เลยเที่ยงวันไป (ขุ.ขุ.อ. ๒/๒๗)
E คำว่า “นัจจคีตวาทิตวิสูกทัสสนา” ในสิกขาบทนี้ แปลได้ ๒ นัย คือ นัยที่ ๑ แปลว่า “การดูการละเล่นอัน เป็นข้าศึกต่อกุศลคือการฟ้อนรำ ขับร้อง และบรรเลงดนตรี” (ดู ที.สี. (แปล) ๙/๑๓/๖ ประกอบ) นัยที่ ๒ แปลว่า “การฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี และการดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล” ในที่นี้แปล ตามนัยที่ ๒ คำว่า “ทัสสนา” มิได้จำกัดความหมายเพียงการดู การเห็นเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง การฟัง การได้ยินด้วย คำว่า “ข้าศึกต่อกุศล” แปลจากคำว่า “วิสูกะ” หมายถึงเป็นเหตุทำลายกุศลธรรม ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น และหมายถึงเป็นข้อประพฤติที่ไม่เหมาะสมต่อพระพุทธศาสนา ในสิกขาบทนี้พึงทราบนัยเพิ่มเติมอีก ๒ นัย คือ (๑) จะจัดเป็นการล่วงละเมิดสิกขาบทได้ต่อเมื่อ เข้าไปดูเพราะประสงค์จะเห็นเท่านั้น แต่ถ้าบังเอิญการละเล่นนั้นผ่านมาให้เห็นเองทางที่ตนยืน นั่ง หรือ นอนอยู่ ไม่จัดเป็นการล่วงละเมิด จัดเป็นเพียงความเศร้าหมอง (๒) เพลงขับร้อง(คีตะ)ที่ประกอบด้วยธรรม ถือเป็นความเหมาะสม ไม่ห้าม แต่ธรรมที่ประกอบเป็นเพลงขับร้อง ถือเป็นความไม่เหมาะสม
(ขุ.ขุ.อ. ๒/๒๗-๒๘)
F ดู สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๐๖/๓๐๘

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Got anything to say? Go ahead and leave a comment!