21-253 ธรรมที่รู้ยิ่ง



พระไตรปิฎก


๖. อภิญญาวรรค หมวดว่าด้วยธรรมที่รู้ยิ่ง
๑. อภิญญาสูตร ว่าด้วยธรรมที่รู้ยิ่ง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้ ๔ ประการ เป็นไฉน คือ
ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้เห็นว่าได้เห็น ๑
ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ฟังว่าได้ฟัง ๑
ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้ทราบว่าได้ทราบ ๑
ความเป็นผู้กล่าวสิ่งที่ได้รู้ว่าได้รู้ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการ นี้แล ฯ
{๒๕๔}[๒๕๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ก็มี
๒. ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละก็มี
๓. ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรให้เจริญก็มี
๔. ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้งก็มี
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้ เป็นอย่างไร
คือ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรกำหนดรู้
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ เป็นอย่างไร
คือ อวิชชาและภวตัณหา นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรละ
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรให้เจริญ เป็นอย่างไร
คือ สมถะและวิปัสสนา A นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรให้เจริญ
ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง เป็นอย่างไร
คือ วิชชาและวิมุตติ นี้เรียกว่า ธรรมที่บุคคลรู้ยิ่งแล้วควรทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล
อภิญญาสูตรที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A หมายถึงเอกัคคตาจิตและสังขารปริคคหวิปัสสนาญาณ ปัญญาเห็นแจ้งการกำหนดสังขารว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๕๔/๔๔๗)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.