21-237 โพชฌงค์
พระไตรปิฎก
๗. โพชฌังคสูตร
ว่าด้วยโพชฌงค์
{๒๓๘}[๒๓๘] ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
กรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. กรรมดำมีวิบากดำ
๒. กรรมขาวมีวิบากขาว
๓. กรรมทั้งดำและขาว มีวิบากทั้งดำและขาว
๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม
กรรมดำมีวิบากดำ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียน ฯลฯ A นี้
เรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ
กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ฯลฯ A
นี้เรียกว่ากรรมขาวมีวิบากขาว
กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี
ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ A นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ
สิ้นกรรม เป็นอย่างไร
คือ สติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้) ธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเฟ้นธรรม) วิริยสัมโพชฌงค์ (ธรรม
เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความเพียร) ปีติสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้
คือความอิ่มใจ) ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความสงบกาย
ระงับใจ) สมาธิสัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น) อุเปกขา-
สัมโพชฌงค์ (ธรรมเป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง) นี้เรียกว่า กรรม
ทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
โพชฌังคสูตรที่ ๗ จบ
เชิงอรรถ
A ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๓๔ (โสณกายนสูตร) หน้า ๓๔๙-๓๕๐ ในเล่มนี้
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต