21-231 กรรมและวิบากแห่งกรรม โดยย่อ
พระไตรปิฎก
๔. กัมมวรรค
หมวดว่าด้วยกรรม
๑. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยกรรมและวิบากแห่งกรรมโดยย่อ
{๒๓๒}[๒๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้เราทำ
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
กรรม ๔ ประการ A อะไรบ้าง คือ
๑. กรรมดำ B มีวิบากดำ C
๒. กรรมขาวมีวิบากขาว D
๓. กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว
๔. กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว๕ เป็นไปเพื่อ
ความสิ้นกรรม
ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
สังขิตตสูตรที่ ๑ จบ
เชิงอรรถ
A ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๕
B กรรมดำในที่นี้หมายถึงอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (ที.ปา. ๑๑/๓๕๙/๒๘๔, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๒/๔๔๐)
C วิบากดำ คือ มีผลนำสัตว์ให้เกิดในอบาย (ทางเสื่อม) มี ๔ ประการ คือ
(๑) นิรยะ นรก, ภาวะเร่าร้อนกระวนกระวาย
(๒) ติรัจฉานโยนิ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
(๓) ปิตติวิสัย แดนเปรต
(๔) อสุรกาย พวกอสูร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๒/๔๔๐)
D กรรมขาว ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ (ตรงข้ามกับอกุศลกรรมบถ) มีวิบากขาว หมายถึง
มีสุขเป็นผล นำสัตว์ให้เกิดในสวรรค์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๒/๔๔๐)
E กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว ในที่นี้หมายถึงมรรคญาณ ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะ
อริยบุคคล ๔ ประการ (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค) ซึ่ง
เป็นเหตุทำให้ หมดกรรม มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาวในที่นี้หมายถึงไม่ให้วิบากทั้ง ๒ อย่าง (องฺ.จตุกฺก.อ.
๒/๒๓๒/๔๔๐)
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต