21-203 กรรม 10 ประการ



พระไตรปิฎก


๔. ทสกัมมสูตร
ว่าด้วยกรรม ๑๐ ประการ

{๒๐๔}[๒๐๔] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษและอสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
จักแสดงสัตบุรุษและสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ A
อสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ B เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
เป็นผู้มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษ
อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์และชักชวนผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ B
ตนเองเป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้ของเขาและชักชวนผู้อื่นให้เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาทและชักชวนผู้อื่นให้มีจิตพยาบาท
ตนเองเป็นมิจฉาทิฏฐิและ ชักชวนผู้อื่นให้เป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคลนี้เรียกว่า อสัตบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ
สัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ B
เป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลนี้เรียกว่า สัตบุรุษ
สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ตนเองเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ B
ตนเองเป็นผู้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขาและชักชวน ผู้อื่นให้ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา
ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทและชักชวนผู้อื่นให้มี จิตไม่พยาบาท
ตนเองเป็นสัมมาทิฏฐิและชักชวนผู้อื่นให้เป็นสัมมาทิฏฐิ
บุคคลนี้ เรียกว่า สัตบุรุษที่ยิ่งกว่าสัตบุรุษ
ทสกัมมสูตรที่ ๔ จบ
เชิงอรรถ
A ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๒ (อัสสัทธสูตร) หน้า ๓๒๑ ในเล่มนี้
B ดูข้อความเต็มในข้อ ๒๐๓ (สัตตกัมมสูตร) หน้า ๓๒๓ ในเล่มนี้

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.