21-199 ความรักและความชัง



พระไตรปิฎก


๑๐. เปมสูตร
ว่าด้วยความรักและความชัง

{๒๐๐}[๒๐๐] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ย่อมเกิด
ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. ความรักเกิดเพราะความรัก
๒. ความชังเกิดเพราะความรัก
๓. ความรักเกิดเพราะความชัง
๔. ความชังเกิดเพราะความชัง
ความรักเกิดเพราะความรัก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้เป็นผู้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ
ประพฤติต่อบุคคลที่รักนั้นด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ บุคคลนั้นมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘คนอื่น ๆ ประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ของเราด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’ เขาจึงเกิดความรักในคนเหล่านั้น
ความรักเกิดเพราะความรัก เป็นอย่างนี้แล
ความชังเกิดเพราะความรัก เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้เป็นผู้น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่น ๆ
ประพฤติต่อบุคคลที่รักนั้นด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ
บุคคลนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘คนอื่น ๆ ประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจของเราด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ’ เขาจึงเกิด
ความชังในคนเหล่านั้น ความชังเกิดเพราะความรัก เป็นอย่างนี้แล
ความรักเกิดเพราะความชัง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้เป็นผู้ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล
คนอื่นๆ ก็ประพฤติต่อบุคคลที่ชังนั้นด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่
น่าพอใจ บุคคลนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘คนอื่น ๆ ประพฤติต่อบุคคลที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเราด้วยอาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ’
เขาจึงเกิดความรักในคนเหล่านั้น ความรักเกิดเพราะความชัง เป็นอย่างนี้แล
ความชังเกิดเพราะความชัง เป็นอย่างไร
คือ บุคคลในโลกนี้เป็นผู้ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล
คนอื่น ๆ ก็ประพฤติต่อคนที่ชังนั้นด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
บุคคลนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘คนอื่นๆ ประพฤติต่อคนที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
ไม่น่าพอใจของเราด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’ เขาจึงเกิดความชัง
ในบุคคลเหล่านั้น ความชังเกิดเพราะความชัง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิด
สมัยใด ภิกษุสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
อยู่ สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความชังที่
เกิดเพราะความรักย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความชังย่อมไม่มีแก่
ภิกษุนั้น แม้ความชังที่เกิดเพราะความชังย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
สมัยใด เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะ
ปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายบรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
แล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความชังที่เกิดเพราะความรักย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้
ความรักที่เกิดเพราะความชังย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความชังที่เกิดเพราะความชัง
ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น
สมัยใด ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรักเป็นอันภิกษุนั้นละได้เด็ดขาด ตัด
รากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ความชังที่เกิดเพราะความรักเป็นอันภิกษุนั้นละได้เด็ดขาด ตัด
รากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ความรักที่เกิดเพราะความชังเป็นอันภิกษุนั้นละได้เด็ดขาด ตัด
รากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ แม้ความชังที่เกิดเพราะความชังเป็นอันภิกษุนั้นละได้เด็ดขาด
ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี
เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุนี้เราเรียกว่า ไม่ยึดถือ A ไม่โต้ตอบ B ไม่บังหวนควัน C ไม่
ลุกโพลง D ไม่ถูกไฟไหม้ E
ภิกษุชื่อว่ายึดถือ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็น
อัตตาว่ามีรูป พิจารณาเห็นรูปในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในรูป พิจารณา
เห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีเวทนา พิจารณาเห็นเวทนา
ในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในเวทนา พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา
พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีสัญญา พิจารณาเห็นสัญญาในอัตตา หรือพิจารณาเห็น
อัตตาในสัญญา พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็น
อัตตาว่ามีสังขาร พิจารณาเห็นสังขารในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในสังขาร
พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา พิจารณาเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ
พิจารณาเห็นวิญญาณในอัตตา หรือพิจารณาเห็นอัตตาในวิญญาณ ภิกษุชื่อว่ายึดถือ
เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถือ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เห็นรูปโดยความเป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีรูป
ไม่เห็นรูปในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในรูป ไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ไม่
เห็นอัตตาว่ามีเวทนา ไม่เห็นเวทนาในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในเวทนา ไม่เห็น
สัญญาโดยความเป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีสัญญา ไม่เห็นสัญญาในอัตตา หรือ
ไม่เห็นอัตตาในสัญญา ไม่เห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีสังขาร
ไม่เห็นสังขารในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในสังขาร ไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็น
อัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาใน
วิญญาณ ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถือ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าโต้ตอบ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ด่าโต้ตอบคนที่ด่า โกรธตอบคนที่โกรธ เถียงโต้ตอบ
คนที่ถียง ภิกษุชื่อว่าโต้ตอบ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่โต้ตอบ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ด่าโต้ตอบคนที่ด่า ไม่โกรธตอบคนที่โกรธ ไม่
เถียงโต้ตอบคนที่ถียง ภิกษุชื่อว่าไม่โต้ตอบ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าบังหวนควัน เป็นอย่างไร
คือ เมื่อมีตัณหาว่า ‘เราเป็น’ ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราเป็นอย่างนั้น’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นโดยประการอื่น’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็น
ผู้เที่ยง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้ไม่เที่ยง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็น’ จึงมี
ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้น’ จึงมี ตัณหาว่า
“เราพึงเป็นโดยประการอื่น’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นบ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง” จึงมี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง” จึงมี ตัณหาว่า
“เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็น’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราจักเป็นอย่างน’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนั้น’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจัก
เป็นโดยประการอื่น’ จึงมี ภิกษุชื่อว่าบังหวนควัน เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่บังหวนควัน เป็นอย่างไร
คือ เมื่อไม่มีตัณหาว่า ‘เราเป็น’ ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนี้’ จึงไม่มี ตัณหาว่า
‘เราเป็นอย่างนั้น’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราเป็นโดยประกอบอื่น’ จึงไม่มี ตัณหาว่า
‘เราเป็นผู้เที่ยง” จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้ไม่เที่ยง’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึง
เป็น’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้น’
จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการอื่น’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นบ้าง’
จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้บ้าง’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนั้นบ้าง’
จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการอื่นบ้าง’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็น’
จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนี้’ จึงไม่มี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนั้น’ จึงไม่มี
ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นโดยประการอื่น’ จึงไม่มี ภิกษุชื่อว่าไม่บังหวนควัน เป็น
อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าลุกโพลง เป็นอย่างไร
คือ เมื่อมีตัณหาว่า ‘เราเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’ ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนี้ด้วย
ขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้เที่ยงด้วย
ขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้’
จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นโดยประการนั้นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เรา
พึงเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจก
นี้บ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราพึงเป็นอย่างอื่น
ด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า
‘เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นอย่างนั้นด้วย
ขันธปัญจกนี้’ จึงมี ตัณหาว่า ‘เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้’ จึงมี
ภิกษุชื่อว่าลุกโพลง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่ลุกโพลง เป็นอย่างไร
คือ เมื่อไม่มีตัณหาว่า “เราเป็นด้วยขันธปัญจกนี้” ตัณหาว่า “เราเป็น
อย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้”
จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า
“เราเป็นผู้เที่ยงด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราเป็นผู้ไม่เที่ยงด้วย
ขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า
“เราพึงเป็นอย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วย
ขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง”
จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็น
อย่างนี้ด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจก
นี้บ้าง” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราพึงเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้บ้าง” จึงไม่มี
ตัณหาว่า “เราจักเป็นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ตัณหาว่า “เราจักเป็นอย่างนี้
ด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มีตัณหาว่า “เราจักเป็นอย่างนั้นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี
ตัณหาว่า “เราจักเป็นโดยประการอื่นด้วยขันธปัญจกนี้” จึงไม่มี ภิกษุชื่อว่าไม่
ลุกโพลง เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าถูกไฟไหม้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังละอัสมิมานะไม่ได้เด็ดขาด ยังไม่ได้ตัดรากถอนโคน
ให้เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้น
ต่อไปไม่ได้ ภิกษุชื่อว่าถูกไฟไหม้ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าไม่ถูกไฟไหม้ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือน
ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้
ภิกษุชื่อว่าไม่ถูกไฟไหม้ เป็นอย่างนี้แล
เปมสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โสตานุคตสูตร
๒. ฐานสูตร
๓. ภัททิยสูตร
๔. สาปุคิยาสูตร
๕. วัปปสูตร
๖. สาฬหสูตร
๗. มัลลิกาเทวีสูตร
๘. อัตตันตปสูตร
๙. ตัณหาสูตร
๑๐. เปมสูตร
จตุตถปัณณาสก์ จบบริบูรณ์
เชิงอรรถ
A หมายถึงไม่ยกขึ้นด้วยอำนาจทิฏฐิ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๐๐/๔๓๗)
B หมายถึงไม่เป็นผู้ขัดแย้งยกขึ้นด้วยอำนาจความทะเลาะแตกร้าว (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๐๐/๔๓๗)
C หมายถึงไม่บังหวนควันด้วยอำนาจตัณหาวิจริต ๑๘ ประการที่อาศัยขันธปัญจกภายใน ดู ข้อ ๑๙๙ (ตัณหาสูตร) ประกอบ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๐๐/๔๓๗)
D หมายถึงไม่ลุกโพลงด้วยอำนาจตัณหาวิจริต ๑๘ ประการที่อาศัยขันธปัญจกภายนอก ดูข้อ๑๙๙(ตัณหาสูตร) ประกอบ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๐๐/๔๓๗)
E หมายถึงไม่ถูกไฟไหม้ด้วยอำนาจอัสมิมานะ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๐๐/๔๓๗)

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.