21-188 ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
พระไตรปิฎก
๙. สัจฉิกรณียสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
{๑๘๙}[๑๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๔ ประการนี้
ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๔ ประการ A อะไรบ้าง คือ
๑. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยกาย B
๒. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยสติ C
๓. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ D
๔. ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา E
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยกาย เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์ ๘ ควรทำให้แจ้งด้วยกาย
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยสติ เป็นอย่างไร
คือ ปุพเพนิวาส ควรทำให้แจ้งด้วยสติ
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ เป็นอย่างไร
คือ การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยจักษุ
ธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา เป็นอย่างไร
คือ ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญา F
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๔ ประการนี้แล
สัจฉิกรณียสูตรที่ ๙ จบ
เชิงอรรถ
A ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๕
B หมายถึงนามกาย (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๙/๔๐๙)
C หมายถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๙/๔๐๙)
D หมายถึงทิพพจักขุญาณ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๙/๔๐๙)
E หมายถึงฌานปัญญา วิปัสสนาปัญญา มัคคปัญญา ผลปัญญา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๙/๔๐๙)
F หมายถึงปัจจเวกขณปัญญาที่พิจารณาอรหัตตผล คือ ความสิ้นอาสวะ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๘๙/๔๐๙)
บาลี
รออัพเดต
อรรถกถา
รออัพเดต