21-100 ปริพาชกชื่อโปตลิยะ



พระไตรปิฎก


๑๐. โปตลิยสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อโปตลิยะ

{๑๐๐}[๑๐๐] สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่อโปตลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้กับโปตลิยปริพาชกดังนี้ว่า
“โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก A ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
โปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนว่างามกว่า
และประณีตกว่า”
โปตลิยปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้มี
ปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก B ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้าพระองค์ชอบใจบุคคลผู้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควร
ติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตาม
ความเป็นจริง เหมาะแก่กาลนี้ เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะอุเบกขานี้เป็นธรรมที่งดงามยิ่งนัก”
พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า “โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง ฯลฯ บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลนี้
เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมคือความเป็นผู้รู้จัก
กาลนี้งดงามยิ่งนัก”
โปตลิยปริพาชกกราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้มี
ปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล ๔ จำพวก C ไหนบ้าง คือ
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็น
จริง เหมาะแก่กาล
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล แต่ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาลและกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง
เหมาะแก่กาล
ข้าแต่ท่านพระโคดม บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ ข้าพระองค์ชอบใจบุคคล
ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาล และกล่าวสรรเสริญ
ผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริง เหมาะแก่กาลนี้ เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมคือความเป็นผู้รู้จักกาลนี้งดงามยิ่งนัก
ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
ท่านพระโคดม พระภาษิตของท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดม
ทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดโดยตั้งใจว่า ‘คนมี
ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์
เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
โปตลิยสูตรที่ ๑๐ จบ
อสุรวรรคที่ ๕ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. อสุรสูตร
๒. ปฐมสมาธิสูตร
๓. ทุติยสมาธิสูตร
๔. ตติยสมาธิสูตร
๕. ฉวาลาตสูตร
๖. ราควินยสูตร
๗. ขิปปนิสันติสูตร
๘. อัตตหิตสูตร
๙. สิกขาปทสูตร
๑๐. โปตลิยสูตร
ทุติยปัณณาสก์ จบ
เชิงอรรถ
A ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๖๖/๑๙๙-๒๐๐
B ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๖๖/๑๙๙-๒๐๐
C ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๖๖/๑๙๙-๒๐๐

บาลี



รออัพเดต

อรรถกถา


รออัพเดต

สนทนาธรรม

comments

Comments are closed.